
การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการตายจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% ซึ่งมะเร็งปอดนั้นจัดว่าเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญจากโรคมะเร็งทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังก่อให้เกิดมะเร็งมากมาย เช่น มะเร็งกล่องเสียง, มะเร็งช่องปาก, มะเร็งคอหอย, มะเร็งหลอดอาหาร,
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งไต, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Acute myeloid
leukemia)
นอกไปจากการสูบบุหรี่โดยตรงแล้ว
การได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมะเร็งปอด, โรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency;
EPA), และองค์การอนามัยโลกด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง (WHO's
International Agency for research on Cancer; IARC) ได้จัดว่าการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมเป็นการก่อให้เกิดมะเร็ง
U.SEPA ประมาณการว่า การได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการตายจากมะเร็งปอดถึง
3,000 คน ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
และยังทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก 0-18 เดือน 300,000
คนต่อปีในอเมริกา
ควันบุหรี่ประกอบไปด้วยสารเคมีประมาณ 4,000 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงสารก่อมะเร็งถึง 60 ชนิด สารต่าง ๆ
เหล่านี้ เช่น คาร์บอนมอนออกไซด์, ทาร์, สารหนู (Arsenic) และตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์
นิโคตินเป็นสารเสพติดที่อยู่ในยาสูบตามธรรมชาติและทำให้เกิดการเสพติดในผลิตภัณฑ์ยาสูบ
รวมไปถึงบุหรี่
นิโคตินถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและไปยังสมองได้อย่างรวมเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาทีระหว่างการสูบบุหรี่
ซึ่งการก่อให้เกิดการเสพติดของนิโคตินนี้เหมือนกับการเสพติดในเฮโรอีนและโคเคน
การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดอันตรายเกือบทุกอวัยวะของร่างกาย อัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่
เช่น มะเร็งต่าง ๆ, โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก, โรคทางเดินหายใจนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้สูบได้รับควันบุหรี่มากขึ้น
การหยุดสูบบุหรี่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างทันทีและมากมายต่อสุขภาพ
การหยุดสูบนั้นจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดและมะเร็งต่าง ๆ, โรคหัวใจ,โรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก
และโรคปอดเรื้อรัง
ยิ่งผู้สูบหยุดบุหรี่เร็วเท่าไรก็ยิ่งก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น
บทความโดย
โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
ด้วยความปรารถนาดีจาก
โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง “ใส่ใจค้นหา บำบัดรักษาโรคมะเร็งให้คุณ”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
054 335262-8 ต่อ 187 , 160
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น