วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565

รองเลขาธิการ สทนช. ปลื้ม ลงพื้นที่สำรวจขุมเหมืองเก่าเป็นแหล่งสะสมน้ำ เตรียมนำไปเป็นแบบอย่างแก้ไขปัญหาในหลายพื้นที่ทั่วทั้งประเทศต่อไป ในรูปแบบ “โครงการสิริราชโมเดล”



วันที่ 20 เมษายน 2565 ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลสิริราช ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง นายชยันต์  เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะได้เข้ารับฟังบรรยายสรุป การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ของชาวบ้านในพื้นที่ ตำบลสันดอนแก้วแห่งนี้ โดยมีผู้แทนผู้บริหารจากเทศบาลตำบลสิริราช ผู้แทนจาก บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด กำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ต่างมาให้ข้อมูลเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการนำรูปแบบ โครงการสิริราชโมเดล ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ จังหวัดต่างๆต่อไป 



โดยพบว่าพื้นที่แห่งนี้ ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่นประชาชนในพื้นที่ ได้หารือกัน นำเหมืองถ่านหินลิกไนต์แม่ทาน(เหมืองร้าง) อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ได้นำโมเดลการนำน้ำจากขุมเหมืองเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง นำไปช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ ตำบลสันดอนแห้ว จำนวน 9 หมู่บ้าน 900 กว่าครัวเรือน ใช้ในพื้นที่เพาะปลูกได้อีกประมาณ 700 ไร่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ



ซึ่งหลังจากที่ นายชยันต์  เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ได้ลงพื้นที่ เหมืองถ่านหินลิกไนต์แม่ทาน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด (SCG) ซึ่งใช้เป็นโมเดลแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำได้สำเร็จ  เปิดเผยว่า ในห้วงระยะเวลา 3 ปี ของการริเริ่มโครงการนี้ สามารถแกไขปัญหาขาดแคลน้ำในพื้นที่ได้สำเร็จเพราะ เหมืองร้างแห่งนี้ มีระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำได้น้ำวันละ 1,000 คิว เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ปละคุณภาพน้ำที่ได้นั้นอยู่ในเกรดมาตรฐานที่ใช้  โดยเริ่มโครงการ สิริราชโมเดล เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ขณะนั้นปริมาณน้ำในเหมืองแห่งนี้มี อยู่ ที่ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร  ปีนี้ 2564 มีปริมาณน้ำสะสมมีมากถึง 4 ล้านลูกบาศก์เมตร และปี 2565 มีปริมาณน้ำ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร  ทำให้สามารถช่วยเหลือได้ครอบคลุ่มในพื้นที่ ตำบลสันดอนแก้วทั้ง 9 หมู่บ้านและ ตำบลใกล้เคียงได้อีกจำนวนหนึ่ง 




ทั้งนี้ เหมืองร้างแห่งนี้ สามารถกักเก็บน้ำได้มากถึง 51 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้เป็นอย่างดี  โดย สิริราชโมเดลถือว่าประสบผลสำเร็จและจะเป็นแบบอย่างในพื้นที่ ที่ขาดแคลนน้ำได้ไปปรับใช้ต่อไป

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์