ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน
ฉบับที่ 2 (207/2566) มีผลกระทบตั้งแต่วันที่
30 ก.ค. - 3 ส.ค. 2566)
ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน
เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย
ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย
และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
มีดังนี้
วันที่ 30 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ:
จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:
จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร
อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง:
จังหวัดกาญจนบุรี และ ราชบุรี
ภาคตะวันออก:
จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดระนอง
พังงา ภูเก็ต และกระบี่
วันที่ 31 กรกฎาคม
2566
ภาคเหนือ:
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์
และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:
จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร
อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง:
จังหวัดกาญจนบุรี และ ราชบุรี
ภาคตะวันออก:
จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดระนอง
พังงา ภูเก็ต และกระบี่\
วันที่ 1-3 สิงหาคม 2566
ภาคเหนือ:
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์
และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:
จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์
มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
และอุบลราชธานี
ภาคกลาง:
จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม และนครปฐม
ภาคตะวันออก:
จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้:
จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่
ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง
โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า
2 เมตร
ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่
3 ส.ค. 66
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th
หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ
ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.
ขณะที่อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดให้เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในช่วงเวลาดังกล่าว ด้านนายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ออกหนังสือแจ้งเตือนไปยังนายอำเภอทุกอำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง 4 อำเภอ ประกอบด้วย สบปราบ วังเหนือ แจ้ห่ม และ เมืองปาน ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง เพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น