วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.30 น. ณ มูลนิธิเพื่อนช้าง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้มอบหมายให้ นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ร่วมกับนายศร ธีปฏิมากร ปศุสัตว์จังหวัดลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการทำขาเทียมพังฟ้าแจ่ม โดย รศ.นพ.เทอดชัย ชีวะเกตุ ที่ปรึกษาทีมงานขาเทียมช้าง พร้อมด้วย นางสาวโซไรดา ชาลวาลา เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง ร่วมให้ข้อมูล
มูลนิธิเพื่อนช้างร่วมกับทีมงานขาเทียมช้าง
ได้จัดทำขาเทียมใหม่ให้กับพังฟ้าแจ่ม เนื่องจากขาเทียมเดิมมีการชำรุดและไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของพังฟ้าแจ่ม
โดยได้มีการลงพื้นที่ตรวจเช็คขาเทียมเดิมของพังฟ้าแจ่ม และวัดขนาดความสูงของตอขา
ดำเนินการทำขาเทียมใหม่ โดยใช้หุ่นต่อขาเดิมตกแต่งเพิ่มขนาดความสูงตามแนวที่วัดไว้
จากนั้นนำหุ่นตอขาที่หุ้มด้วยเบ้าอ่อนมาหุ้มด้วยแผ่นพลาสติก
HDPE
พี่อบด้วยความร้อนเพื่อขึ้นรูปทำเป็นเบาพลาสติก
และแกะเบ้านำมาตกแต่งและติดสายเข็มขัดรัดขาเทียม
จากนั้นจะนำขาเทียมใหม่ใส่ให้พังฟ้าแจ่มเพื่อทดลองใส่เดินและปรับแต่งให้ได้ตามแนวที่ถูกต้องต่อไป
สำหรับ
“พังฟ้าแจ่ม” ช้างในพระอุปถัมภ์ฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี
นารีรัตนราชกัญญาฯ เป็นลูกช้างป่าเพศเมียที่เคราะห์ร้ายขาหน้าซ้ายถูกบ่วงกับดักพรานป่าจนได้รับบาดเจ็บสาหัส
ในวัยเพียง 3 เดือน ภายในป่ากรมอุทยาน
กิ่งอำเภอหางแมว จ.จันทบุรี เมื่อวันที่
23 ตุลาคม 2559 ซึ่งขณะนั้นทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ได้ติดต่อประสานให้สวนนงนุช พัทยา นำลูกช้างป่าดังกล่าวมาความดูแลและรับการรักษาอาการบาดเจ็บที่ขาหน้าซ้าย
รวมระยเวลา 2 ปี 10 เดือน จนลูกช้าป่าพังฟ้าแจ่มมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ก่อนจะส่งมอบให้
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ เพื่อมาดูแลรักษาต่อที่ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 12 ก.ย.
2562
ลูกช้างพังฟ้าเเจ่มได้รับการดูแลรักษาโดยการทำรองเท้าเทียมให้ใส่เดินออกกำลังกายและพักผ่อนในคอกพัก
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอาการกระดูกสันหลังคด
เนื่องจากการเดินที่ผิดธรรมชาติที่ใช้ขาข้างเดียว และป้องกันกระดูกขาขวาง
เนื่องจากรับน้ำหนักมากเกินไป
ต่อมาพังฟ้าแจ่มได้รับการรักษาด้วยวิธีการใส่ขาเทียมที่ทำจากยาง
เพื่อทดแทนกล้ามเนื้อที่หายไป และช่วยให้ช้างพังฟ้าแจ่มกลับมาเดินได้ปกติอีกครั้ง แต่จะทำการเปลี่ยนขาเทียมทุกๆ
3 เดือน ตามขนาดเท้าที่ใหญ่ขึ้น พร้อมกันนี้จะมีการตรวจเช็คพฤติกรรมและการเดิน
เพื่อดูโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ประกอบการรักษาดังกล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น