นายพิษณุ
พิจิตร ผอ.ท่าอากาศยานลำปาง
เปิดเผยความคืบหน้าการขยายรันเวย์เฟส1 ว่า เฟส1 เป็นการก่อสร้างขยายความกว้างทางวิ่ง
จาก 30 เมตร เป็น 45 เมตร ส่วนความยาวทางวิ่งยังเท่าเดิมคือ 1,975 เมตร และจัดการระบบไฟฟ้า ขณะนี้โครงการดำเนินการได้กว่า
98% คาดว่าเดือนกันยายนนี้จะแล้วเสร็จ
การขยายความกว้างรันเวย์ของเฟส
1 ตอนนี้เครื่องโบอิ้ง 737 สามารถลงจอดได้
แต่จะไม่สามารถโหลดเครื่องได้เต็มพิกัด เพราะต้องจำกัดน้ำหนักในการลง แต่ถ้าขยายความยาวรันเวย์เสร็จในเฟส 2 ก็จะสามารถรับอากาศยานขนาดใหญ่ โบอิ้ง 737
ได้เต็มรูปแบบ ซึ่งทางสายการบินสามารถนำเครื่องลงเต็มพิกัดได้เลย
ผอ.ท่าอากาศยาน
กล่าวต่อไปว่า ส่วนงานเฟสที่ 2 คือการขยายทางวิ่งให้เป็นระยะทาง 2,100 เมตร จากเดิมยาว
1,975 เมตร ทางกรมท่าอากาศยานอยู่ขั้นตอนของการทำ
EIA และทำแผนการเวนคืน ในเฟส 2
ตามแผนคาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2568 ตอนนี้รออนุมัติ EIA รวมทั้งอยู่ระหว่างการแก้ไขแบบแปลน
เอกสารต่างๆบางส่วน ถ้าตัวนี้ผ่านจะต้องยื่นเรื่องของบประมาณอีกครั้ง
ส่วนเฟสที่
3
คือการขยายทางวิ่งให้เป็น 2,500 เมตร และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่
รวมมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้ได้ตามมาตรฐานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
สำหรับท่าอากาศยานลำปางมีทางวิ่งกว้าง
30 เมตร ยาว 1,975 เมตร
ซึ่งตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จัดเป็นทางวิ่งที่ไม่สามารถรองรับอากาศยานขนาด 180 ที่นั่ง ที่สายการบินส่วนใหญ่นิยมใช้ได้
จึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่ทำให้ไม่ สามารถพัฒนาท่าอากาศยานลำปางได้ นอกจากนี้
พื้นที่ปลอดภัยรอบ ทางวิ่ง และพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่งยังมีขนาดไม่เป็นไปตามที่ ICAO
แนะนำ ดังนั้น กรมท่าอากาศยานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องขยายทางวิ่ง
พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งและพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน
พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินและส่วนประกอบอื่น ๆ
รวมทั้งก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ เพื่อให้สามารถ
รองรับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ เช่น อากาศยานขนาด B737 และ
รองรับกิจกรรมด้านการขนส่งทางอากาศที่จะเพิ่มมากขึ้นได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
เป้าหมายที่จะพัฒนาต่อไป
คือ การขยายทางวิ่ง (Run
way) ให้ยาว 2,500 เมตร ทางหยุด (Stop way) ขนาด
60 x 60 บนปลายทางวิ่ง
ทางขับ (Taxi way) ขนาด 23 x 73.50
เมตร จำนวน 2 เส้น ลานจอดเครื่องบิน (Apron) ลานจอดใหม่ ขนาด
85 x 318 เมตร รองรับเครื่องบินขนาด B777
จำนวน 3 ลำ และ ATR-72 จำนวน 2 ลำ ในเวลาเดียวกัน
พร้อมหลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ 1 หลุม
ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบ
2 ชั้น และชั้นใต้ดิน 1 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 12,000 ตารางเมตร ลานจอดรถยนต์
จอดรถยนต์เดิม 75 คัน เพิ่มพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร
จอดรถยนต์ได้ ประมาณ 250 คัน ก่อสร้างทาง
เข้า - ออก ใหม่ จำนวน 1 อาคาร
ด้านทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับลานจอดรถยนต์ใหม่ หอบังคับการบิน 1 อาคาร อยู่บริเวณด้านทางทิศใต้ของอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ อาคารซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล และอาคารที่ทำการดับเพลิงและกู้ภัย โดยใช้งบประมาณ 1,700
ล้านบาท
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น