วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ป.ป.ช.สุ่มตรวจอาหารกลางวัน พบโรงเรียน 1 แห่ง อาหารไม่ได้คุณภาพ ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน สั่งแก้ไขด่วน

 

          เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 67 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดลำปาง โดยนางวรรณภา ปัญญาผูก เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ   พร้อมด้วยตัวแทนชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริต  ได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจโครงการอาหารกลางวันนักเรียนอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันการทุจริต พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำ ให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความถูกต้องตามระเบียบ และให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีปริมาณสารอาหารและคุณภาพที่เหมาะสม



          จากการลงพื้นที่โรงเรียนไหลหินราษฎร์บำรุง ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา พบว่า โรงเรียนดำเนินโครงการอาหารกลางวันไม่เรียบร้อย และปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน  ซึ่งทางโรงเรียนมีเด็กนักเรียนจำนวน 179 คน  จะได้รับงบประมาณจัดการอาหารกลางวันให้เด็กประมาณ 3,938 บาทต่อวัน หรือเท่ากับคนละ 22 บาท  แต่เมื่อเทียบกับโรงเรียนอื่นๆที่ได้รับงบประมาณเท่ากัน  การตรวจสอบพบว่า จัดการอาหารให้เด็กได้ดีกว่า มีปริมาณที่เพียงพอสามารถเติมอาหารได้

เด็กชั้นอนุบาล- ป.3 ได้ไข่ครึ่งฟอง 

เด็กชั้น ป.4-6 ได้ไข่ 1 ฟอง

          ขณะที่โรงเรียนแห่งนี้ แม้ว่าเด็กจะได้ทานอาหารทุกคน แต่เติมอาหารเพิ่มไม่ได้   โดยเมนูอาหารที่ได้เข้าตรวจสอบคือ ไข่พะโล้ ราดข้าว พบว่าเด็กชั้นอนุบาล – ป.3 ได้ไข่ครึ่งฟอง ส่วนชั้น ป.4 – ป.6  จะได้ไข่หนึ่งฟอง และหมูที่ใช้ในการทำอาหารมีหนังหมูปะปนจำนวนมาก

          เบื้องต้น ทางเจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ได้แนะนำทางโรงเรียนให้มีการปรับปรุงแก้ไขโดยด่วน  จากนั้นทาง ป.ป.ช.จะทำหนังสือแจ้งไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ให้เข้าติดตามเพื่อให้โรงเรียนมีการแก้ไข  พร้อมกับจะมีการสุ่มตรวจครั้งที่ 2 เพื่อตรวจสอบว่ามีการแก้ไขหรือไม่ หากไม่แก้ไขลำดับต่อไปก้อจะส่งเรื่องให้กลุ่มปราบปรามเข้าดำเนินการ  ซึ่งเป็นภารกิจเชิงป้องกัน แนะนำ ให้โรงเรียนดำเนินการให้ถูกต้อง


เด็กชั้นอนุบาล ได้ไข่ครึ่งฟอง

          ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช.ลำปาง ได้มีการออกสุ่มตรวจอาหารกลางวันเด็กในช่วงตั้งแต่เดือน ธ.ค. 66 ถึงเดือน ก.พ.67  รวมแล้ว 19 โรงเรียน  โดยในเบื้องต้นจะตรวจสอบ 3 รายการคือ  1.ปริมาณอาหาร  คือ ข้าว และกับข้าวให้เยอะไหม เติมอาหารได้ไหม  เด็กอิ่มไหม เป็นต้น    2.คุณภาพอาหาร คือ ปริมาณเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เพียงพอไหม ตรงตามเมนูที่กำหนดหรือไม่ และตรวจสอบด้านเอกสารว่ามีความถูกต้องหรือไม่   หลังตรวจสอบแล้วจะมีการรายงานให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ ในที่ประชุมคณะกรรมการผลักดันฯ ครั้งที่ 2 ในเดือนมี.ค.นี้

 

อาหารที่ต้องเติมให้เด็กไม่เพียงพอ 

อาหารที่ต้องเติมให้เด็กไม่เพียงพอ 



Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์