ช้างพังมะลิวัย 4 ขวบ พักรักษาอาการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง หรือ EEHV ภายในหน่วยรักษาช้าง โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง โดยต้องให้สารน้ำเลือกตลอดเวลา มีควาญช้าง เฝ้าตลอด 24 ชั่วโมงและมีทีมสัตว์แพทย์พลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาตรวจสอบอาการอย่างต่อเนื่อง
หลังจากเมื่อ
4 วันก่อน ทางเจ้าของช้างสังเหตุเห็นว่าช้างพังมะลิ
มีอาการง่วงนอนและนอนกลางวันมากกว่าปกติ จึงเป็นห่วงติดต่อมายังโรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯ
เพื่อนำตัวช้างมาเข้าการตรวจรักษาทันที
ในเบื้องต้นทาวสัตว์แพทย์ไปด้ตรวจร่างกายและเจาะเลือดเพื่อไปตรวจสอบทันที
และพบว่าผลเป็นบวกเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง หรือ EEHV ทางสัตว์แพทย์ได้ให้การักษาตามขั้นตอนทันที
จนล่าสุดพบว่าช้างทานอาหารได้ ขับถ่ายได้ แต่ภาพรวมอาการยังน่าเป็นห่วงเพราะตรวจพบว่าช้างมีเลือดออกภายใน
สพ.ญ.วรางคณา
ลังการ์พินธุ์ หัวหน้างานโรงพยาบาลช้างลำปางฯ กล่าวว่า อาการช้างค่อนข้างน่าเป็นห่วง
แต่โชคดีที่เจ้าของช้างเชือกนี้สังเหตุเห็นพฤติกรรมช้างเปลี่ยนไปรีบแจ้งสัตว์แพทย์ฯและนำตัวช้างมาตรวจรักษาได้ทันท่วงที
ก่อนที่อาการจะลุกลามไปมากกว่านี้ เบื้องต้นได้รักษาอาการป่วยมาอย่างต่อเนื่อง
และผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังพบว่าช้างมีอาการเลือดออกภายในร่างกาย
จึงจำเป็นต้องถ่ายเลือดช้าง โดยขณะนี้เริ่มกระบวนการถ่ายเลือดช้างแล้วเพื่อรักษาช้างให้หายเป็นปกติโดยเร็ว
ด้าน
น.สพ. ดร.ทวีโภค อังควานิช
หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯเปิดเผยว่า ในปี 2567 พบว่า
พื้นที่ทางภาคเหนือมีช้างเล็กหรือช้างเด็ก ติอไวรัสเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง หรือ EEHV นับแล้วกส่า 10 เชือก
ถูกส่งมาพักรักษาตัวที่ โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย รวมแล้ว 5 เชือก
รักษาหายขาดไป 2 เชือก ล้มไป 2 เชือก และขณะนี้พักรักษาอีก 1 เชือกคือพังมะลิ
ทั้งนี้เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ฯ ถือว่าเป็นไวรสัที่อันตรายต่อช้างเล็กเป็นอย่างมกา
ดังนั้นผู้ประกอบการให้บริการช้างท่องเที่ยว ควาญช้าง เจ้าของช้างให้สักเกตุช้างของตนเองตอลดเวลา
โดยเฉพาะพฤติกรรมช้างที่เปลี่ยนไป
ซึ่งหากตรวจพบรีบแจ้งสัตวแพทย์ในพื้นที่และรับนำช้างเข้าตรวจรักษาอาการทันทีเพราะ
เนื่องจากพบว่าช้างเล็กเหล่านี้เสี่ยงอาจจะเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัส
เฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง หรือ EEHV เป็นโรคไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งก่อโรคเฉพาะในช้าง
โดยจะทำให้เกิดโรครุนแรงในช้างเด็ก มีอัตราการตายสูงถึง 70-80%
หากรักษาไม่ทันท่วงที
พลายถ่าง พลายถ่าง
เครดิตภาพ : โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น