เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.67 ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุด
ได้มีคำพิพากษาคดีหมรยเลขดำที่ อบ.474/2561 ระหว่างระหว่างนายอมร ทองประดิษฐ์ ผู้ฟ้องคดี และ นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นยกฟ้อง
คำพิพากษา
ระบุว่า “การที่ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 (นายกเทศมนตรีเมืองขลางค์นคร) มีคำสั่งเทศบาลเมืองเขลางค์นคร
ลับที่ 1/2558 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดี (นายอมร ทองประดิษฐ์) ออกจากราชการ
จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และการที่ผู้ถูกฟ้องที่ 2
(คณะกรรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง หรือ ก.ท.จ.) มีมติในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2558
ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องที่ 1 ที่ให้ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และมิตของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่มีมติยกอุทธรณ์ โดยให้มีผลย้อมหลังไปนับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ออกคำสั่ง และให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเดิมนับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย”
ความเป็นมา สืบเนื่องจาก เมื่อปี 2561 นายอมร ทองประดิษฐ์ อดีตปลัดเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ได้ยื่นฟ้องนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร และคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง โดยขอให้ศาลพิจารณา 4 ข้อด้วยกัน คือ 1.เพิกถอนคำสั่งเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ลับ ที่ 1/2558 เรื่อง ลงโทษไล่ออกจากราชการ ลงวันที่ 29 พ.ค.58 และให้ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และผู้ถูกฟ้องที่ 2 รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการในสังกัดเทศบาลเมืองเขลางค์นครตามตำแหน่งเดิม 2.เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 58 ที่มีมติให้ลงโทษผู้ฟ้องคดี โดยให้ไล่ออกจากราชการ 3.เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องที่ 2 ตามรายงานการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 28 ก.ค.58 (ที่ถูกต้องคือ เมื่อวันที่ 27 ก.ค.58) แจ้งตามหนังสือจังหวัดลำปาง บัล ที่ ลป0023.2/19550 ลงวันที่ 18 ส.ค.58 และ 4.ให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเดิมนับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการจนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องคดี มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ
ต่อมา
เมื่อวันที่ 17 ส.ค.61
ศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีการอ่านคำพิพากษาคดีที่นายอมร ทองประดิษฐ์
ได้ยื่นฟ้องดังกล่าว โดยศาลมีคำพิพากษา
ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องที่ 1 ตามคำสั่งเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ลับ ที่
1/2558 เรื่อง ลงโทษไล่ออกจากราชการ ลงวันที่ 29 พ.ค.58 ที่ลงโทษให้ออกจากราชการ
และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 27
ก.ค.58 ที่มีมติยกอุทธรณ์
โดยให้มีผลย้อนหลังไปนับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกคำสั่ง
และให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเดิม นับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการจนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ซึ่งคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้มีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กระทั่งมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง กลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.67 ที่ผ่านมา ทำให้คดีนี้ปิดลง โดยใช้เวลายาวนานถึง 7 ปีด้วยกัน
สำหรับเรื่องเดิมของการยื่นฟ้องร้องกันนั้น เนื่องจากทางเทศบาลเมืองเขลางค์นครได้มีคำสั่งที่
763/2556 ลงวันที่ 14 พ.ย.56 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย นายอมร ทองประดิษฐ์ ปลัดเทศบาลเมืองเขลางค์นคร กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยเรื่องการเบิกจ่ายน้ำมันเกินที่ต้องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่จริง
ส่อไปในทางทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ได้นำรถยนต์ของทางราชการอกใช้งานในระหว่างมีคำสั่งพักราการเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
และแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลใบสั่งจ่ายน้ำมันที่ไม่สุจริต และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากมีการแต่งตั้งตำแหน่งรองปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล 9)
มีตำแหน่งต่ำกว่าปลัดเทศบาล มาเป็นประธานกรรมการสอบสวนวินัย และแต่งตั้งพนักงานจ้างให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไงในการสอบสวน
การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 3 ม.ค.45
ต่อมาทาง
ก.ท.จ.ได้มีมติให้นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร
แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย เฉพาะประธานกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
แต่ปรากฏว่านายกเทศมนตรีได้เร่งรัดให้สอบสวนวินัยโดยเร็ว
ไม่แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยตามมิต ก.ท.จ.แต่อย่างใด และได้ยื่นให้ทาง ก.ท.จ.ทบทวนมติให้แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยใหม่
เนื่องจากได้มีการสอบสวนวินัยผู้ฟ้องคดีเสร็จสิ้นแล้ว
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงทำให้การสอบสวนเสียไป
ส่งผลให้มติ ก.ท.จ. ที่เห็นชอบให้ไล่ออกจากทางราชการ
และคำสั่งของนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์ที่ลงโทษให้ปลัดเทศบาลออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น