วันที่ 11 มี.ค. 68 ดร.น.สพ.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ส.คช พร้อมด้วย รศ.ดร.สพ.ญ.อารีย์ ทยานานุภัทร์ ประธานบริษัท พรีซีชั่น เวท ผศ.ดร.สพ.ญ.สุภาเพ็ญ ศรีพิบูลย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สพ.ญ.ลาดทองแท้ มีพันธุ์ เพนียดคล้องช้างอยุธยา และสพ.ญ.วรางคณา ลังการ์พินธุ์ หัวหน้างานโรงพยาบาลช้างลำปาง ส.คช. ร่วมแถลงข่าวความสำเร็จในการใช้สเต็มเซลล์ช้างรักษาดวงตาช้างประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก และประเทศไทย
โดยเกิดจากความร่วมมือของ
พรีซีชั่นเวทเซ็นเตอร์ ร่วมกับ สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เพนียดคล้องช้างหลวง อยุธยา
และหน่วยสัตว์ป่าคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ช้างจากรกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ
ศูนย์สเต็มเซลล์พรีซีชั่นเวท
ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของวงการสัตวแพทย์ในการอนุรักษ์และดูแลสุขภาพช้างไทย
นอกจากการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์แล้ว
ทีมสัตวแพทย์ยังประสบความสำเร็จในการใช้สเต็มเซลล์ช้างเพื่อรักษาโรคสำคัญในช้างเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ได้แก่ การรักษาแผลที่กระจกตาติดเชื้อในช้าง ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นั่นคือ พังมรกต
อายุ 14 ปี ได้รับสเต็มเซล์เมื่อวันที่ 2 ก.ย.67 จากนั้นอาการดีขึ้นจนรักษาหายในเวลา 45 วัน ซึ่งนับเป็นเชือกแรกของไทยที่ใช้สเต็มเซลล์ช้างในการฟื้นฟูอาการทางตา
อีกเชือกคือ พังกำไลเพชร อายุ 30 ปี ได้รับสเต็มเซลล์ในวันที่ 2 ก.ย.67 เช่นกัน และรักษาดวงตาหายในเวลา 50 วัน
เนื่องจากพังกำไลเพชรมีอายุมาก จึงทำให้การรักษาช้ากว่าพังมรกต
![]() |
ฉีดสเต็มเซลล์ พังมรกต |
นอกจากนั้น
โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ยังมีการให้สเต็มเซลล์ช้างผ่านทางเส้นเลือดเพื่อรักษามดลูกอักเสบเรื้อรังในช้างเป็นครั้งแรก
นั่นคือ พังวันดี อายุ 59 ปี
ได้รับสเต็มเซล์เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 67 ซึ่งช่วยให้อาการของช้างดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนถึงขณะนี้มีการใช้สเต็มเซลล์ช้างเพื่อการรักษาแล้วทั้งหมด
11 เชือกในไทย โดยสถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
เป็นหน่วยงานที่ใช้ สเต็มเซลล์ในการรักษาช้างมากที่สุดในประเทศ
![]() |
ฉีดสเต็มเซลล์ผ่านเส้นเลือดให้พังวันดี |
ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการสัตวแพทย์ไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการดูแลสุขภาพช้าง
ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการรักษาและการอนุรักษ์ช้างไทยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นในอนาคต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น