การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ยืนยันโรงไฟฟ้าแม่เมาะสามารถบริหารจัดการเชื้อเพลิงเพื่อเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าต้นทุนต่ำได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงด้านการผลิตไฟฟ้าและต้นทุนราคาพลังงานของประเทศ
นายเทพรัตน์
เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ.เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมาว่า
กฟผ.อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนลงนามสัญญาจ้างเหมาขุด-ขนดินและถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ
สัญญาที่ 8/1
หลังคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีงานจ้างเหมาขุด-ขนดินและถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะของ
กฟผ.ที่แต่งตั้งโดยกระทรวงพลังงานไม่พบการทุจริตและให้
กฟผ.พิจารณาดำเนินการตามความถูกต้องเหมาะสมและตามอำนาจหน้าที่
รวมถึงรับความเห็นและข้อเสนอแนะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับงานจ้างเหมาขุด-ขนดินและถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ
สัญญาที่ 8/1 นี้
ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนแม้สถานการณ์วิกฤตราคาพลังงานจะคลี่คลายลงแล้ว
แต่สถานการณ์สงครามยังมีความไม่แน่นอน
ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินของโรงไฟฟ้าแม่เมาะซึ่งมีต้นทุนต่ำที่สุดยังคงมีความจำเป็นเพื่อช่วยพยุงราคาค่าไฟฟ้าของประเทศ
ที่ผ่านมา
กฟผ.ต้องนำถ่านหินภายใต้สัญญาเดิม (สัญญา 8 และ 9)
มาใช้ก่อนกำหนดจนปริมาณถ่านหินครบก่อนสิ้นสุดสัญญา
รองรับการเลื่อนแผนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 – 11 และการนำโรงไฟฟ้า แม่เมาะเครื่องที่ 4 กลับมาผลิตไฟฟ้าจนถึงปี 2568
เพื่อกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และลดผลกระทบต้นทุนค่าไฟฟ้าของประเทศ
เพราะหากปริมาณถ่านหินสำรองที่เตรียมไว้ใช้ในฤดูฝนหมดลงก็มีความเสี่ยงที่ต้องลดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะลง
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการจ้างขุด-ขนดินและถ่านหินใหม่เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการ กฟผ.
ได้สั่งการให้ กฟผ.เร่งดำเนินการทุกสัญญา เพื่อให้มีถ่านหินเพียงพอในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ได้เต็มที่
ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า ที่ผ่านมา
กฟผ.มีการปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมด้านราคาและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ซึ่ง กฟผ.พยายามใช้เชื้อเพลิงที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุดในการผลิตไฟฟ้า
จึงยังคงจำเป็นต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะโรงที่ 8 ถึง 11
เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าไฟและการนำเข้าเชื้อเพลิง โดยในปี 2567 สามารถลดการนำเข้า LNG
ได้ 18 ลำ มูลค่ากว่า 65,000
ล้านบาทหรือลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 11 – 13
สตางค์ต่อหน่วย
ด้านโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
นายสุทธิพงษ์ เฉลิมเกียรติ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 ได้แจ้งว่า
กฟผ.แม่เมาะได้บริหารจัดการเชื้อเพลิงถ่านหินลิกไนต์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยโรงไฟฟ้าแม่เมาะยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ
ไม่มีการลดกำลังการผลิตเนื่องจากปริมาณเชื้อเพลิงลดลงแต่อย่างใด และเหมืองแม่เมาะสามารถบริหารจัดการส่งเชื้อเพลิงได้อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ขอให้มั่นใจว่า
กฟผ.มีความพร้อมในการบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าและเชื้อเพลิงที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
โดยจะดำเนินการตามแนวทางที่โปร่งใส
ปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด
และพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนากระบวนการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น