วันที่ 17 เมษายน 2568 ชาวบ้านในพื้นที่ ต.ไหล่หิน 6 หมู่บ้าน และ ชาวบ้านบ้านปงใต้ ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง จัดรูปขบวนแห่ครัวตานมหาสงกรานต์ของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชนตำบลไหล่หิน เพื่อที่จะแห่ขบวนไปยังวัดไหล่หิน เข้าร่วมงาน สืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองวัดไหล่หิน ซึ่งเป็นการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านทุกเพศทุกวัยในพื้นที่ทุกคนที่ออกมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กันอย่างพร้อมเพรียง โดยมีนางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เป็นประทานปล่อยขบวนในครั้งนี้
ภายในรูปขบวนมี
ขบวนฟ้อนรำ ขบวนครัวตาน แห่ไม้ค้ำศรี แห่ปีนักษัตร ขบวนสลุง ตุง ขันดอก กลองยาว
จำนวน 7 ขบวน ซึ่งเป็นประเพณีล้านนาของคนท้องถิ่นภาคเหนือ แสดงออกถึงความร่วมมือ
ความสามัคคีของคนในชุมชน
ซึ่งแต่ละขบวนการการจัดเตรียมรูปขบวนต่างๆที่ประกอบไปด้วยศิลปะวัฒนรรมของชาวบ้านในพื้นที่
ซึ่งแต่ละหมู่บ้านแต่ละขบวนได้สื่อความหมายและมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป
และยังมีขบวนร่วมสมัยที่แสดงออกถึงการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่สืบสานประเพณีเก่าแก่
ให้ยั่งยืนสืบไป
โดยบรรยากาศทั่วไปเป็นไปอย่างคึกคักทั้งรูปขบวนแห่ครัวตาน
และพุทธศาสนิกชนนักท่องเที่ยว ที่เข้าไปทำบุญไหว้พระ
สรงน้ำพระและเที่ยวชมโบราญสถานภายในวัดไหล่หินหลวง ที่มีอายุมากว่า 1,300 ปีกันอย่างคึกคัก
ทั้งนี้ความหมายของ
“ครัวตาน” หมายถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมล้านนา คำว่า “ครัว” ในภาษาถิ่นล้านนา หมายถึง วัตถุ สิ่งของ
หรือเครื่องใช้ ส่วนคำว่า “ตาน” (ทาน)
หมายถึง การถวายหรือการให้ เมื่อรวมกันแล้ว “ครัวตาน”
จึงหมายถึง เครื่องไทยทาน
หรือสิ่งของที่จัดเตรียมเพื่อนำไปถวายเป็นทานในงานบุญต่างๆ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น