วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตำรวจมึนตื๊บ ลิขสิทธิ์ออนไลน์


ม้กฎหมายใหม่ จะเพิ่มความเข้มในการจัดการผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เรื่องน่าเศร้าสำหรับผู้ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ คือระดับความรู้ของตำรวจไทยเรื่องกฎหมายนี้อ่อนด้อยอย่างยิ่ง ไม่ว่าตำรวจลำปาง หรือที่ไหนๆ
             
แร็ค ลานนา  มีประสบการณ์ตรง พูดได้คำเดียวว่า สิ้นหวัง !
           
ถ้าความรู้ของตำรวจแข็งแรงกว่านี้ กฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่คงมีเขี้ยวเล็บ
           
นับจากวันที่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558 ได้ถูกประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ สิงหาคมที่ผ่านมา  หลักใหญ่ใจความก็ไม่ต่างจากเดิมแต่เพิ่มโทษทางอาญาหนักขึ้น โดยเฉพาะการไปละเมิดสิ่งที่เรียกว่า 'ข้อมูลการบริหารสิทธิซึ่งมีที่มาจากนโยบาย เศรษฐกิจดิจิทัล ของรัฐบาล
           
เพราะทุกวันนี้การแชร์ข้อมูลข่าวสารผ่านสารพัดโซเชียลมีเดียที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค(Facebook) ไลน์(Line) ทวิตเตอร์(Twitter) อินสตาแกรม(Instagram)  ยูทูป(Youtube) วอทแอฟ(Whatapp) พินเทอเรส(Pinterest) กูเกิลพลัส(Google+) และมีมากมายที่ฮิตกันทั่วโลก
           
คนไทยเองก็ตื่นตัวกับกระแสนี้ไม่น้อย เพราะคนไทยสายพันธุ์ก้มหน้าสิงสถิตอยู่สังคมออนไลน์ไม่น้อย คล้ายจะเสพติดโลกเสมือนก็ไม่ปาน
           
หลายคนทุกอิริยาบถต้องแชร์ให้โลกรู้ หลายข้อมูล ข้อความที่เรียบเรียงเขียนเหมือนข่าวจากสารพัดแหล่งก็ถูกแชร์โดยที่ไม่ใช่เรื่องจริง แต่แชร์ต่อๆกันไปเพียง เขาแชร์ต่อๆกันมา” หลายคนอยากเป็นเนตไอดอล อยากมียอดไลค์สูงๆ อยากมีตัวตนในสังคมก็ทำแม้กระทั่งซื้อยอดไลค์ ไปก๊อปข้อความเด็ดๆ รู้สวยๆของคนศิลปิน ช่างภาพมาใส่ชื่อของตัวเองแล้วอัพขึ้นพื้นที่ส่วนตัวที่เรียกว่าโซเชียลมีเดีย แต่พอเกิดเรื่องฟ้องร้องขึ้นมาก็มาอ้างมาเป็นเฟสบุ๊คส่วนตัว ทวิตเตอร์ส่วนตัว อินสตาแกรมส่วนตัว
           
รู้หรือไม่ว่าทันทีที่มีการส่งข้อความไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น โพสต์สถานะ อัพรูปภาพ หรืออะไรก็ตามเข้าสู่โซเชียลมีเดียแล้ว คำว่าพื้นที่ส่วนตัวไม่ควรจะมีอีกต่อไปแล้ว
           
อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและที่ปรึกษาด้านกฏหมาย ตอบคำถามกับปัญหาคาใจเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ว่า….หากรูปในโซเชียลมีเดียถูกนำไปใช้ในทางเชิงพาณิชย์ ในทางกฎหมาย ถ้าเราถ่ายเองหรือจ้างคนอื่นถ่าย ถือว่าภาพถ่ายนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของเรา
           
ทั้งนี้รูปที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินดารา ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และหากทำการลบลายน้ำในรูป หรือทำการตัดครอปรูปโดย รูปนั้นไม่นำชื่อเจ้าของภาพ แล้วนำไปใช้ในเว็บตัวเอง หรือแชร์ทาง Social Network โดยไม่อ้างอิงเจ้าของตัวจริง มีโทษจำคุก เดือน และปรับ แสนบาท ดังนั้น การ Copy รูปภาพบนโซเชียลมีเดียหรือจากเว็บอื่น ต้องให้ Credit ใส่ชื่อเจ้าของรูปอ้างอิงไว้ด้วย 
           
ถ้าเป็นรายบุคคล เป็น facebook ใช้ส่วนตัว แต่ทั้งนี้ต้อง อ้างอิงแหล่งที่มา ใช้ส่วนตัว และ ไม่มีแสวงหาผลกำไร ถึงจะไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าในกรณีนิติบุคคล ถือว่าไม่ได้  ถ้าเว็บไซต์คุณมีแบนเนอร์ หรือ facebook มีกิจกรรมชิงโชค ถือว่า ผิดลิขสิทธิ์
           
ถ้าเป็นเนื้อหาข่าว ไม่ผิดลิขสิทธิ์
           
แต่ถ้าเป็นบทความอาจผิดลิขสิทธิ์ได้ ถ้าใช้ในเรื่องแสวงหาผลกำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ การนำเนื้อหามาเรียบเรียงใหม่ ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้า copy paste แปลรายคำ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเนื้อหาข่าวที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์ เช่น เนื้อหาข่าวว่าเกิดอะไรขึ้น ข้อมูลทั่วไป ราคาหุ้น พยากรณ์อากาศ หนังฉายวันนี้ ราคาน้ำมัน ผลการแข่งขันฟุตบอล อันนี้ไม่เป็นลิขสิทธิ์ สามารถแชร์ หรือใช้ได้
           
แต่ถ้าเป็น พวกภาพข่าว รูป บทสัมภาษณ์ข่าว คอลัมน์ข่าว ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ หากนำไปใช้โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของภาพ หรือเจ้าของคอลัมน์ อาจเสี่ยงถูกฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
           
ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับเดิมหรือฉบับไหนเจตนาก็เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ เจ้าของไอเดีย  เพราะแต่ละผลงาน แต่ละบทความ ไม่ใช่แค่ดีดนิ้วมาก็สำเร็จรูปพร้อมเสิร์ฟ
           
เห็นดังนี้แล้วการปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้มีความเข้มมากขึ้น จึงถือเป็นเรื่องที่ดี
           
แล้ว...ผู้บังคับใช้กฎหมายละพร้อมไหม ในขณะที่ทุกวันนี้จำนวนผู้ละเมิดมีมากมายเหลือเกินและหลายคนก็หาได้ยี่หระกับกฎหมายนี้เสียเมื่อไหร่
           
ทุกวันนี้ก็ยังเห็นเว็บไซด์เอาข่าวของสื่อนั่นสื่อนี่ไปใช้ในเว็บของตัวเอง แถมยังสร้างกระแส หายอดแชร์ เพื่อผลทางธุรกิจเหมือนเดิม ถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์เดือดร้อนก็ให้ไปแจ้งความเอาเอง  และจะยิ่งซวยเข้าไปอีกเมื่อไปแจ้งความแล้วเจอเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายนี้ หรือจะให้ไปฟ้องร้องเองที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาเอง หาทนายเอง ก็ดูจะเป็นเรื่องยุ่งยากทั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่สามารถจัดการเรื่องที่ผิดกฎหมายเช่นนี้ได้มีอยู่ทั่วประเทศ
           
ฉะนั้นหากกฎหมายมีการปรับปรุงให้พัฒนาตามโลก แต่ไม่อัพเดทบุคคลกร เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ตื่นรู้ สุดท้ายปัญหาก็แก้ไม่ได้
           
อีกทั้งจะยังมีเรื่องขำๆเพียงเพราะไม่รู้กฎหมาย เพราะมีสาวนางหนึ่งไปเช็คอินที่ร้านกาแฟเล็กๆแห่งหนึ่งที่กรุงเทพ เมื่อเพื่อนนางเห็นจึงถามว่า อร่อยไหม นางก็ตอบเพื่อนว่า ไม่อร่อย ไม่แนะนำ” ซึ่งเป็นสิทธิ์ของบริโภคที่จะวิจารณ์อย่างบริสุทธิ์ใจ
           
แต่เรื่องกลับไม่เป็นเช่นนั้นเมื่อเจ้าของร้านมาเห็นข้อความจึงแจ้งไปว่าจะดำเนินการฟ้องร้องเอาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จนต้องมาเจรจาขอโทษขอโพย อีกทั้งต้องอัพข้อความว่ากาแฟร้านนี้ “อร่อย”  .... นักกฎหมายถึงกับต้องออกมาชี้แจงว่า เรื่องหากเป็นการวิจารณ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้มีเจตนาทำให้ร้านเสียหาย ไม่ถือว่าเป็นความผิด
           
จากกรณีข้างบนจะเห็นได้ว่า มนุษย์ก้มหน้าที่อาศัยอยู่ในโลกออนไลน์ไม่เข้าใจกฎหมาย มุ่งแต่จะเอาซะใจ ประจานกันไปมา เพียงเพราะอ้างว่ามีสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจคงจะได้ปวดหัวแน่
           
และยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ก้าวทันโลก กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คงไม่ต่างอะไรกับเสือกระดาษ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1041 วันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์