วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เสียงแตร บอกอารมณ์







จำนวนผู้เข้าชม install tracking codes


การใช้แตรเป็นเรื่องที่ง่าย แต่จะใช้ยังไงให้ไม่เสียมารยาทนั้นยากกว่า

จำเป็นต้องเอาใจใส่กับเรื่องนี้เช่นกัน เพราะมันสามารถ บอกอารมณ์ของผู้ขับได้ชัดเจน ขึ้นอยู่กับ จังหวะและน้ำหนักการกด  

การกดแตรเต็มแรง และเสียงดังยาว ใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือในระยะกระชั้นชิด ที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูง และสื่ออารมณ์ไม่พอใจ เช่น โดนรถปาดหน้ากะทันหัน   กดแตรเต็มแรง เป็นจังหวะสั้นๆ 1-2 ครั้ง สื่ออารมณ์ถึงการเตือน ที่ไม่ได้อยู่ในระยะกระชั้นชิด พอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน เช่น เตือนรถที่กำลังเบี่ยงเลน   กดแตรเบาๆ เป็นจังหวะ 1-2 ครั้ง แสดงถึงการทักทาย และขอบคุณ  

แตรรถยนต์มี 2 ชนิด แตรรถยนต์มี 2 แบบ คือ แตรลม เมื่อก่อนนิยมติดตั้งในรถบรรทุกและเรือ เพราะมีเสียงดังกังวาน ไปได้ไกล ในชุดแตรลมประกอบไปด้วย มอเตอร์ปั๊มลม ปากแตร รีเลย์ หลักการทำงานเมื่อกดปุ่มแตรจะส่งกระแสไฟไปยังมอเตอร์ปั๊มลม เพื่อปั๊มแรงลมผ่านปากแตร ทำให้มีเสียงดัง ส่วน แตรไฟฟ้า เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และโรงงานผลิตมักติดตั้งแตรชนิดนี้กับรถรุ่นใหม่เกือบทุกรุ่น เพราะมีราคาไม่แพง หลักการทำงานของแตรไฟฟ้าเมื่อกดปุ่มแตรบนพวงมาลัยรถยนต์ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวด และขดลวดจะมีอำนาจเป็นแม่เหล็กคอยดูดระหว่างแผ่นไดอแฟรม ที่เป็นแผ่นเหล็กลักษณะพิเศษทั้ง 2 แผ่น ทำให้สั่นและบิดตัว จนเกิดเสียงดัง  

เสียงแตร ต้องดังไกลกว่า 60 เมตร พรบ. จราจรทางบก กำหนดให้แตรรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ต้องมีเสียงดังไกลเกินระยะ 60 เมตร หากฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท 

ห้ามใช้แตร ที่เป็นเสียงนกหวีด หรือหลายเสียง รวมถึงเสียงไซเรนกับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป จะใช้ได้เฉพาะรถฉุกเฉิน รถในราชการทหาร หรือตำรวจ เท่านั้น และต้องใช้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ห้ามใช้เสียงดังยาว หรือซ้ำหลายครั้งเกินควร ถ้าฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1,000 บาท นะครับ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1115 วันที่  3 - 9 กุมภาพันธ์ 2560 )
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์