วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ติดหล่มต้องทำอย่างไร?

จำนวนผู้เข้าชม free hits

ถนนบ้านเราไม่ใช่ถนนดำที่เป็นแอสฟัลท์ และคอนกรีตเสมอไป เริ่มหน้าฝนแบบนี้ บางครั้งมักจะเจออุปสรรคหลากหลาย หนึ่งในนั้นที่อาจพบบ่อย คือ ทางโคลน หรือหล่มโคลน แม้ว่ารถยนต์ของคุณจะเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ แต่ถ้าบ่อโคลนมีความลึกหรือลื่นเกินไป ก็จะไม่สามารถ ปั่นให้ล้อหลุดออกจากโคลนได้ง่ายๆ สัปดาห์นี้ผมเลยขอนำเสนอ ทริคง่ายๆ ในการแก้ไขปัญหาเมื่อเจออุปสรรคแบบนี้

1. ตรวจสอบเส้นทางก่อนลงลุยจริง   
 เมื่อผู้ขับขี่ต้องผ่านเส้นทางที่มีลักษณะเป็นหล่มโคลน บ่อโคลน หรือแอ่งน้ำที่มีเนื้อดินประกอบอยู่ เมื่อมองด้วยสายตาอาจดูว่าไม่ลึก แต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น ทางที่ดีผู้ขับควรลงจากรถแล้วหาอุปกรณ์ข้างทางที่พอหาได้อย่าง กิ่งไม้ เพื่อใช้เป็นตัววัดระดับความลึกของบ่อ ถ้าพิจารณาดูแล้วลึกมากอย่าเสี่ยง ถ้าสามารถซิกแซกอ้อมไปด้านข้างได้ก็หมดปัญหา    

2. สติมา ปัญญาเกิด    
ทุกครั้งที่เกิดปัญหา อันดับแรกที่จะต้องมี คือ สติ อย่าร้อนรนเมื่อเกิดปัญหา เพราะจะยิ่งทำให้ไม่สามารถคิดแก้ไขอะไรได้เลย ทั้งนี้ทั้งนั้นการเข้าพื้นที่ป่าในแต่ละครั้ง ควรหาเพื่อนไปด้วยสักคัน เพราะเมื่อเจอปัญหา การแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ จะไม่สามารถผ่านไปได้ อย่างที่เขาบอกกันว่า คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” (เรารอด)   

 3. ติดอกเมื่อไหร่ วินช์อย่างเดียว    
อาการ ติดอกคือ อาการที่ติดหล่มแล้วพยายามใส่เกียร์ เพิ่มรอบให้กำลังสูง จนด้านหน้าของตัวรถดันโคลนไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถไปต่อได้ ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ วิธีการเดียวที่สามารถทำได้ คือ วินช์ หรือลาก   

 4. ไปไม่ได้ หยุด ! อย่าฝืน    
ถ้าผู้ขับขี่พิจารณาแล้วว่า ยังไงก็ไม่สามารถผ่านบ่อโคลน ไม่ควรดึงดันที่จะผ่านไปให้ได้ด้วยการเร่งเหยียบคันเร่งใส่กำลังเต็มที่ เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปกว่าเดิม ลองหยุดพักแล้วตั้งสติสักนิด เมื่อจะเดินหน้าต่อ กรณีเกียร์อัตโนมัติ ให้เหยียบเบรก และดึงเบรกมือขึ้น ดันเกียร์ไปตำแหน่ง P แล้วค่อยสตาร์ทรถโดยที่เท้ายังอยู่ที่เบรก จากนั้นเข้าเกียร์ถอย ปลดเบรกมือ แล้วค่อยปล่อยเท้าจากเบรกมากดคันเร่งเบาๆ จนรถเริ่มเคลื่อนตัว ส่วนเกียร์ธรรมดา อาจใช้วิธีเข้าเกียร์ แล้วสตาร์ท เพื่อให้เครื่องยนต์เกิดอาการกระตุกจนเกิดแรงเหวี่ยง นั่นอาจทำให้หลุดออกจากบ่อโคลนได้ แต่จะผ่านได้หรือไม่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะบ่อโคลนที่ตกลงไปด้วย   

 5. รักษารอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ    

ถ้าตัดสินใจแล้วว่า จะไปความเร็วที่ใช้กับรอบเครื่องยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก กรณีที่บ่อไม่ลึก เลือกใช้ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ 4 ล้อ ในตำแหน่ง 4H แล้วใช้ความเร็วให้เหมาะ และรอบเครื่องยนต์ต้องสม่ำเสมอ ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไปเช่นกัน เทคนิคที่สามารถใช้ได้ดี คือ การหมุนพวงมาลัยซ้าย/ขวา สลับกันไป/มาอย่างรวดเร็ว เพื่อให้หน้ายางสามารถหลุดจากโคลนได้ดีขึ้น ในกรณีที่บ่อโคลนมีขนาดลึก ควรเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ไปที่ 4L เพื่อเพิ่มพละกำลังให้มากพอที่จะดึงรถขึ้นออกจากบ่อได้ง่ายๆ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1128 วันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2560)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์