วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ระดมคนเอาถ่านแม่เมาะชี้ทั่วโลกยังใช้ผลิตไฟฟ้า

จำนวนผู้เข้าชม my widget for counting

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 60 ที่ หอประชุม อาคารสมานฉันท์ธัชชวาล ศูนย์ฝึกอบรม กฟผ. แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านการทำเหมืองถ่านหินและการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Coal Mining and Utilization for Sustainable Development International Conference; CM&USD 2017) โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนนักศึกษาจากระดับปริญญาโทสถาบันการศึกษาชั้นนำ ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ของไทยและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมันนี ฯลฯ เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 200 คน

นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ของประเทศไทย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาจากทั่วโลก ได้มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหิน และการพัฒนาเทคโนโลยีการทำเหมืองในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ตลอดจนการใส่ใจดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรอบอย่างยั่งยืน อีกทั้งในขณะนี้ประเทศไทยยังคงต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นและเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้า ถ่านหินถือว่าเป็นพลังงานต้นทุนที่ต่ำมากที่สุด รองจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ทำให้ต้องมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ทั้งด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านอื่นๆให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และในปัจจุบันนี้สามารถทำได้แล้วและเห็นผลได้อย่างชัดเจน

“ทั่วโลกใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศไทยใช้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และราคาถูก  รวมไปถึงประเทศเยอรมัน แม้จะมีการพัฒนาพลังงานทดแทนและมีการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่หลักๆก็ยังต้องเป็นพลังงานถ่านหินอยู่  เยอรมันยังไม่สามารถปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าได้ เพราะเขาเชื่อว่าไม่สามารถทดแทนกันได้ในระยะเวลาอันสั้น ปัจจุบันยังใช้ถ่านหินถึง 40 เปอร์เซ็นต์ในการผลิต  ประเทศที่ใช้ถ่านหินอันดับต้นๆ มี 15 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน อินเดีย คาซักสถาน เป็นต้น ต่างไม่มีการประกาศเลิกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินเลย”

สำหรับกิจกรรมที่สำคัญภายในงาน กฟผ. ได้จัดแสดงผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่น และได้รับรางวัลมาแล้ว เช่น แผงประกอบอุปกรณ์พิเศษหม้อน้ำแรงดันสูง ด้วยระบบสูบน้ำแบบอนุกรมต่างระดับอัตโนมัติ 3 – STAGE ซึ่งสามารถสูบน้ำออกจากบ่อเหมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอุปกรณ์กำจัดถ่านติดสะสม ซึ่งช่วยแก้ปัญหาถ่านติดสะสมที่อาคาร สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน และส่งถ่านหินไปยังโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ทันเวลา นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอผลงานวิชาการ จำนวนกว่า 54 เรื่อง จากนักวิชาการ นักวิจัยชั้นนำของโลก และพนักงาน กฟผ. อีกด้วย

 (หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่1156 วันที่ 24 - 30 พฤศจิกายน 2560)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์