วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ขอความร่วมมือในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

จำนวนผู้เข้าชม url and counting visits

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคที่เกิดจากการที่โดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด โดย อาการที่พบได้บ่อย คือ มีไข้
ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแทบไม่พบการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ สถานการณ์โรคไวรัสซิกาประเทศไทย ในปี 2561 ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 พบผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 87 ราย ใน 14 จังหวัด 44 อำเภอ สำหรับจังหวัดลำปาง ในอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยพบผู้ป่วยโรคนี้ ปัจจุบันพบ ผู้ติดเชื้อ จำนวน 24 ราย ในพื้นที่อำเภอวังเหนือ

เนื่องจากพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา อาจทำให้ทารกมีศีรษะเล็กแต่กำเนิด และสมองฝ่อได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จึงขอความร่วมมือให้ทุกสถานบริการที่ดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ให้ข้อมูล/คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกาการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ซิกาเป็นโรคติดเชื้อที่ยุงลายเป็นพาหะนำโรค ประชาชนจึงควรป้องกันและควบคุมโรค ด้วยวิธีการดังนี้
 
ป้องกันการโดนยุงกัดด้วยการทายากันยุง สวมผ้าสีอ่อนหรือเนื้อหนา ปิดประตู กางมุ้ง หรือใช้ม่านกันยุง

กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณที่อยู่อาศัยและบริเวณรอบบ้าน เช่น ใช้ฝาปิดหรือครอบภาชนะ
คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ ในภาชนะที่มีน้ำต่าง ๆ

หญิงมีครรภ์ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสอาจคงอยู่ในน้ำอสุจิได้ถึง 6 เดือน หากมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การดำเนินงานตามมาตรการ 3 เก็บ คือ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย เก็บน้ำปิดให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่ การดำเนิน 3 มาตรการนี้ สามารถป้องกันได้

3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายค้าแนะนำสำหรับหญิงครรภ์ที่พำนักอยู่ในพื้นที่ที่มีการยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา เนื่องจากพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา อาจทำให้ทารกมีศีรษะเล็กแต่กำเนิด และสมองฝ่อได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงกำหนดให้มีการเก็บตัวอย่างเลือด และปัสสาวะของสตรีมีครรภ์ในพื้นที่ทุกรายเพื่อตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

กรณีผลการตรวจยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อ ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันในข้างต้น

กรณีผลการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อซิกา ไม่ได้แปลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติทุกราย (มีโอกา 1- 30%) จึงต้องทำอัลตราซาวน์ติดตามต่อเนื่องว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่ นอกจากการฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ จะต้องพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำอัลตราซาวน์ทันที

1) หากพบความผิดปกติจะมีการส่งผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อ

กรณีอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ หากจะพิจารณายุติการตั้งครรภ์ จะต้องนำเข้าคณะกรรมการยุติการตั้งครรภ์พิจารณาตามเกณฑ์ และต้องปรึกษาหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวก่อน

กรณีอายุครรภ์เกิน 24 สัปดาห์จะต้องส่งต่อผู้เชี่ยวชาญดูแลเฉพาะ

2) หากไม่พบความผิดปกติ ต้องติดตามทำอัลตราซาวน์เพื่อสังเกตความผิดปกติทุกเดือน


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์