วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โชคดีที่มีเขื่อน ลำปางพ้นวิกฤติ !

จำนวนผู้เข้าชม website counter

ม้ในพื้นที่วังเหนือน้ำป่าจะไหลหลากลงมาท่วมบ้านประชาชน จากดอยสูงในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งเป็นเขตรอยต่อพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และลำปาง แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด ก็ยังมั่นใจได้ว่า จะไม่มีน้ำไหลล้นทะลักออกมา ด้วยเขื่อนอย่างน้อย 2 เขื่อน ที่ยังคงมีศักยภาพในการเก็บกักน้ำไว้ได้

ทั้งเขื่อนกิ่วลมห่างจากตัวเมืองขึ้นไปทางเหนือราว 38   กิโลเมตร เขื่อนกิ่วคอหมาในอำเภอแจ้ห่ม ยังรับน้ำได้อีกจำนวนมาก ในขณะที่ห่างไปไม่ไกลนัก จังหวัดน่าน น้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านชาวบ้านถึง 8 อำเภอ เข้ามาถึงตัวเมือง ประชาชนกว่า 2.5 หมื่นครอบครัวเดือดร้อน  ไร่นาเสียหายนับพันไร่ เพราะน่านไม่มีเขื่อน เป็นปราการสำคัญ เช่นเดียวกับจังหวัดลำปาง

หลายปีก่อน น้ำก็เคยท่วมตัวเมืองลำปาง  หลังจากฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน และน้ำป่าที่ไหลมาจากดอยพระบาท ซึ่งห่างตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร สถานีรถไฟนครลำปางต้องหยุดเดินรถชั่วคราว เพราะอยู่ในพื้นที่ต่ำ แต่ครั้งนั้นน้ำก็ลดไปอย่างรวดเร็ว

แต่น้ำท่วมจากน้ำฝน หากมีการจัดการบริหารที่ดี มีระบบระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ น้ำก็จะเหือดแห้งหายไปในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเดียวกับที่เสียงบ่นคนกรุงเทพน้อยลง เมื่อฝนตกหนัก เพราะการจัดการระบายน้ำ การขุดลอก คูคลอง ในโครงการ จิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ช่วยให้การระบายน้ำทำได้รวดเร็วมากขึ้น

ว่ากันโดยภัยธรรมชาติ เราอาจจะไม่เคยศึกษาดู ย้อนหลังว่า ภัยธรรมชาตินั้น ไม่ได้แปลว่า เป็นภัยที่ป้องกันไม่ได้ และกลายเป็นการยอมรับโดยปริยายว่า เมื่อถึงช่วงปลายปี ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยจะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ พร้อมกับมีศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้น เช่นคำว่า เอลนีโญ และลานีญา ซึ่งมาจากภาษาสเปน

เอลนีโญ เป็นสภาพอากาศ ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิค เกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 5 ปี ลักษณะคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก

ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ปรากฏการณ์ลานีญา มีผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพอากาศทั้งชายฝั่งชิลี เปรู และออสเตรเลีย รวมทั้งอีกหลายประเทศ การเกิดเอลนีโญ และลานีญานี้ เป็นผลจากน้ำมือมนุษย์ที่ทำร้ายธรรมชาติ ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล

ไม่ต่างอะไรกับ บทเรียน คำสอนของเราในวัยเด็ก ในยุคที่ป่ายังสมบูรณ์ มีสินค้าไม้สัก เป็นสินค้าส่งออก อันดับต้นๆ บทเรียนฝังหัวเรามาตั้งแต่เด็กว่า การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้นเหตุให้เกิดภัยธรรมชาติร้ายแรง โดยเฉพาะปัญหาน้ำป่าไหลหลาก เพราะรากต้นไม้ที่จะอุ้มน้ำเอาไว้ ยิ่งมีการตัดไม้ทำลายป่ามาก ธรรมชาติก็จะเสียสมดุล และก็จะเกิดปัญหาน้ำท่วมที่ไม่มีทางป้องกันได้

ลำปางมีสถิติการจับกุม ผู้บุกรุก ตัดไม้ ทำลายป่ามากในแต่ละปี  บางครั้งก็มีผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมที่วังเหนือ ที่น่าน หรือพื้นที่ใดก็ตาม คำตอบที่ว่า เป็นภัยธรรมชาติที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เราหวลคิดได้ว่า การให้ช่วยกันรักษาป่า เพื่อมิให้ธรรมชาติเสียสมดุล และย้อนกลับมาลงโทษมนุษย์ผู้ทำลายนั้น กลายเป็นเรื่องลมๆแล้งๆ ที่ไม่มีใครใส่ใจอีก


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1193 วันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2561)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์