วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

คัดเกรดเอตลาดเกษตรกร สร้างแหล่งซื้อขายยั่งยืน

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

เปิดแล้ว ตลาดเกษตรกรคึกคักเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Young Smart Farmer ยิ้มรับพื้นที่ขายสินค้าเกษตรคุณภาพผ่านมาตรฐานผลผลิตเกษตร และเป็นแหล่งเชื่อมโยงเครือข่ายตลาดให้เกษตรกรและผู้
ตามที่ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ จัดตั้งตลาดเกษตรกรถาวรขึ้น ใน 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำปาง พิจิตร ราชบุรี กาญจนบุรี ชัยภูมิ และกระบี่ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพได้เรียนรู้พัฒนาทักษะทางด้านการตลาด โดยจะพัฒนาตลาดเกษตรกรเดิมหรือหาแหล่งจัดสร้างตลาดใหม่ที่อยู่ในเขตชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการ มุ่งเน้นพัฒนาเกษตรกร สถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นตลาดสินค้าเกษตรที่เปิดจำหน่ายอย่างถาวร เพื่อเป็นแหล่งรองรับสินค้าจากการดำเนินการส่งเสริมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น การส่งเสริมการเกษตรรูปแบบแปลงใหญ่ เกษตรทฤษฎีใหม่และรองรับสินค้าจากเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริม ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Young Smart Farmer และ Smart Farmer 


จังหวัดลำปางได้รับงบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตร งบประมาณรายจ่ายประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 งบลงทุน แผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคการเกษตร โครงการตลาดเกษตรกร กิจกรรมตลาดเกษตรกร สำหรับก่อสร้างตลาดเกษตรกร 13,050,000 บาท (สิบสามล้านห้าหมื่นบาทถ้วน) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 บริเวณแยกไฟแดง เฮือนสายคำ ทางไปมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30-31 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา 
นายอนุชา ยาอีด เกษตรจังหวัดลำปาง เผยว่า 'ตลาดเกษตรกร' จะต่างจากตลาดทั่วไปตามสโลแกนตลาดเกษตร เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัยโดยสินค้าที่จะเข้ามาจำหน่าย ต้องได้รับมาตรฐานสินค้าเกษตร ทั้งทางด้านพืช ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ด้านแปรรูป โดยพร้อมเปิดรับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมการผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน จากทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้ามาจำหน่ายและเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาการตลาดของเกษตรกร
ผลิตภัณฑ์ต่างๆจะผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าก่อน อาทิ มาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย มาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ และระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น (Participatory Guarantee System : PGS) เป็นต้น ซึ่งการที่เกษตรกรได้เข้ามาขายสินค้าทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการสร้างแบรนด์สินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ช่องทางการโปรโมทสินค้า การยกระดับสินค้าให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยม และการตลาดนำการผลิต ซึ่งเกษตรกรได้เรียนรู้ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพและการผลิตโดยตรง เป็นแหล่งจําหน่ายผลผลิตทางการเกษตรหลักของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง และถือ เป็นการสร้างเครือข่ายด้านการตลาด ในรูปแบบของ ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร (ตลาดเกษตรกร) จังหวัดลำปาง” 

ทั้งนี้ตลาดเกษตรกรบริหารงานโดยคณะกรรมการที่มาจากเกษตรกร และการรับสมัครเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร จะดำเนินการรับสมัครที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เป็นผู้รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพและมีการผลิตที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และรวบรวมมาให้คณะกรรมการบริหาร ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติต่อไป ซึ่งขณะนี้มีผู้มาสมัครแล้วจำนวน 84 ราย จำนวน 106 โต๊ะ (จำนวนโต๊ะทั้งหมด 120 โต๊ะ) เบื้องต้นตลาดแห่งเปิดบริการเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 06.00-14.00 น. และอาจขยายเวลาเปิดทำการเพิ่มเติมใน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศของการซื้อขายในสัปดาห์แรกของการเปิดตลาดเป็นไปอย่างคึกคัก จากการสอบถามเกษตรกรที่มาขายสินค้าภายในตลาดเกษตรกร ต่างก็ดีใจที่มีพื้นที่สำหรับขายปลีกสินค้าเกษตร จากเกษตรกรโดยตรง โดยไม่ต้องรอขายผ่านพ่อค้าคนกลาง บางส่วนเป็นเกษตรกรรายเล็ก สามารถเก็บผลผลิตออกมาขายที่ตลาดได้ทุกสัปดาห์ และตลาดดังกล่าวเป็นตลาดที่ลูกค้าเป้าหมายตรง คือผู้สนใจรักสุขภาพและมีความต้องการซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพ เกษตรปลอดภัย และการที่เกษตรกรได้พบกับลูกค้าหมายถึงผู้ซื้อผู้บริโภคโดยตรง จะได้รู้ถึงแนวโน้มตลาด นำไปสู่การพัฒนาผลผลิต สินค้า ให้ตรงกับความต้องการตลาดอีกด้วย 

หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1224 วันที่ 5 - 11 เมษายน 2562
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์