วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

"นวดเอาม่าน" ภูมิปัญญาการแพทย์ พื้นบ้าน ล้านนา

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

การแพทย์พื้นบ้านไทยเป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านใช้ในการดูแลสุขภาพและรักษาโรค ซึ่งสืบสานต่อเนื่องกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตที่แตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยในแต่ละพื้นที่

ขณะที่ความนิยมของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) และการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism)กำลังเติบโตไปทั่วโลก ภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านไทยจึงไม่เพียงเข้ามามีบทบาทในด้านการดูแลสุขภาพ แต่ยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทยอย่างมีศักยภาพ

“การนวดลั่นม่านหรือเอาม่าน”เป็นศาสตร์การนวดแบบล้านนาที่ได้รับการสืบทอดมาจากพม่า มุ่งเน้นให้เส้นเอ็นคลายตัว ช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือดลมภายในร่างกาย ซึ่งใช้ได้ดีกับกลุ่มผู้ปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก และบางท่ายังสามารถนำมาใช้ทำกายบำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตได้มีทั้งหมด 18 ท่า อาทิท่ายกคันไถ,พญาครุฑยกภูเขา,งูเกี้ยวกอด,หงส์ปีกหัก,ช้างลงโขลงและนกแอ่นแลเป็นต้นหลักการนวดเอาม่านเป็นการรักษาที่มุ่งเน้นให้เส้นเอ็นคลายตัว ช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือดลมภายในร่างกาย ซึ่งใช้ได้ดีกับกลุ่มผู้ปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก และบางท่ายังสามารถนำมาใช้ทำกายบำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตได้

“พ่อหมอบุญ อุปนันท์” หมอนวดลั่นม่านหรือเอาม่าน แห่งตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่อายุ 62 ปี  สมาชิกเครือข่ายหมอพื้นบ้านภาคเหนือที่มีประสบการณ์ทำงานในชุมชนและการดูแลผู้ป่วย HIV เป็นหมอยาที่สืบทอดองค์ความรู้จากบิดามาตั้งแต่อายุ 12 ปีและเป็นผู้สืบสานรักษามรดกทางภูมิปัญญาแขนงนี้ไว้รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจเพื่อไม่ให้ศูนย์หายไปจากแผ่นดินล้านนา

หมอบุญ กล่าวถึงความน่าสนใจของการนวดแขนงนี้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ของกลุ่มคนวัยทำงานและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้หมอนวดเอาม่านต้องยึดถือจรรยาบรรณขั้นพื้นฐาน อาทิ ไม่นวดหญิงมีครรภ์ ,ไม่นวดผู้มีโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานรุนแรงและโรคเกี่ยวกับกระดูก ,ไม่กินอาหารบ้านคนไข้ในระหว่างทำการรักษา ,ไม่เป็นคนปากเบาเอาความลับของคนไข้ไปเปิดเผย ,มีความรับผิดชอบไม่ทิ้งคนไข้ในระหว่างทำการรักษา และเพียรปฏิบัติกับคนไข้เสมือนญาติพี่น้องของตนเอง

ขณะที่ในจังหวัดเชียงใหม่และเมืองท่องเที่ยวทางภาคเหนือ ยังปรากฏว่ามีปราชญ์ทางการแพทย์พื้นบ้านอีกมากที่สร้างคุณประโยชน์และโดดเด่นในแนวทางการบำบัดรักษา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาโครงการผลิตชุดความรู้สำหรับการสอนแพทย์ทางเลือก “วิถีมะเก่า ชาวล้านนาซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย ดร.รชพรรณ ฆารพันธ์ นักวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รวบรวมองค์ความรู้ด้านการแพทย์ทางเลือกของชาวล้านนา มาเผยแพร่ผ่านการผลิตเป็นชุดความรู้สื่อการสอนแพทย์ทางเลือก “วิถีมะเก่า ชาวล้านนา” ในรูปแบบบทเรียนออนไลน์ (E-Learning) และสื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 12 บทเรียน โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่นายอเนก ศิริโหราชัย,นายวิโรจน์ กันทาสุข,นางสาวปารณัฐ สุขสุทธิ์,นางสาวพรรณเพ็ญ เครือไทย และ ดร.สุวิภา จำปาวัลย์ เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการเพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเรื่องการแพทย์ทางเลือกและแพทย์พื้นบ้านล้านนาให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ โดยการยกระดับคุณค่าและมูลค่าให้กับการแพทย์พื้นบ้าน ควบคู่กับการส่งเสริมแนวทางอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาของชาวล้านนาให้สืบสานและมีความยั่งยืนตลอดไป

ภาพ ดร.ปณต สุสุวรรณ
เรื่อง : รชพรรณ ฆารพันธุ์

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1237 วันที่ 12 - 18 กรกฎาคม 2562)

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์