วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อบจ.ลำปาง ส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืช ปลอดสารเคมีเพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

จากปัญหาการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ส่งผลให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พฤศจิกายน 2560 ระบุจากการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ ปี พ..2558 ของกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 513 คนในพื้นที่จังหวัดลำปางนำมาประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสารกำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในร่างกายพบว่าประชาชนในจังหวัดลำปางมีระดับความเสี่ยงและระดับความไม่ปลอดภัยที่จะได้รับสารเคมีสูงถึง 58.83 %

ดังนั้น การทำการเกษตร Good Agriculture Practices หรือGAPคือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเทศไทยจึงนำหลักเกณฑ์ของ GAP มาประยุกต์ใช้เพื่อมุ่งให้เกิดกระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชและมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค แต่ผลิตผลการเกษตรจากเกษตรกรจังหวัดลำปางส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการรับรองมาตรฐาน GAP

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อบจ.ลำปางในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ การเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน จึงจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพการเกษตรแบบปลอดภัยจากสารเคมี ในระหว่างวันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยมีเกษตรกรในอำเภอแม่ทะจำนวน 10 ตำบล รวมจำนวนทั้งสิ้น 50 ราย เข้ารับการอบรมความรู้เรื่องมาตรฐานของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) วิทยากรโดย นายวรวรรณ คำลือชัย เจ้าพนักงานเกษตรชำนาญงาน จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง และฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตสารชีวภัณฑ์ การทำฮอร์โมนบำรุงพืช การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ การเพาะกล้าและวิธีการขยายพันธุ์พืชไม้ผลอย่างถูกวิธีและสมัยใหม่ วิทยากรโดย นายวรรธนะ จันทร์อินทร์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาที่ดินที่ 3 สถานีพัฒนาที่ดินลำปาง พร้อมทีมงาน

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและเกษตรกรในจังหวัดลำปางมีความรู้ เพิ่มทักษะและลงมือฝึกปฏิบัติการปลูกพืชและทำการเกษตรปลอดภัยได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดสารเคมี พืชผักและสินค้าทางการเกษตรของจังหวัดลำปางมีความปลอดภัยและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งผลต่อการสร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1237 วันที่ 12 - 18 กรกฎาคม 2562)

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์