วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563

เรียงร้อยตัวอักษร สื่อสารผ่านหนังสือ

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์
หนังสือ คือ เครื่องหมายขีดเขียนแทนคำพูด ซึ่งหนังสือนั้นจะพูดได้ก็ต่อเมื่อมีคนเข้าไปอ่านหนังสือในข้อความ-ข้อเขียน ที่ผู้เขียนเขียนแทนคำพูดเอา  เขียนครั้งเดียว อ่านได้หลาย ๆ ครั้ง ซึ่งก็ไม่เหมือนคนพูดที่หลายๆคน ข้อความอันเดียวกันยังมีความแตกต่างไม่ค่อยจะเหมือนกันในแต่ละครั้งที่พูด

คำพูดของคนแรกได้พูดเอาไว้ และตัวหนังสือนั้นคงจะได้พูดให้อ่านข้อความนั้นอย่างยืนยาวกว่าชีวิตคนเขียนเอาเสียอีก จากแผ่นศิลาจารึกเรื่องเก่า ๆ ที่คนโบราณได้บันทึกเอาไว้บนศิลา บอกเรื่องราวความเป็นอยู่และเป็นไปของคนยุคนั้นๆได้  บอกรูปแบบสังคมยุคเก่า การปกครอง ประเพณี วัฒนธรรม ที่เคยเป็นมาในอดีต วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้น ซึ่งปัจจุบันนี้อาจจะไม่หลงเหลืออะไรให้ดูชมกันก็ได้

คนยุคปัจจุบันทำได้เพียงแค่อ่านข้อความจากบันทึกเหล่านั้น อาจไม่ได้เห็นภาพเก่าๆ ที่บรรยายเอาไว้ ต้องจินตนาการเอา นอกจากจะมีนักโบราณคดีค้นพบหลักฐานของอดีต และอธิบายชี้แจงความเป็นไปของอดีตเพิ่มเติม

หนังสือ จึงเป็นการผสมร้อยเรียงตัวอักษรเป็นคำผสม พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ (ตามภาษาไทย ส่วนภาษาอื่นคงไม่มีวรรณยุกต์กันหรอก) ตัวหนังสือผสมกันแล้วเป็นคำ ถ้าพูดกันยาวกว่าคำก็เป็นประโยค ที่มีประธานคนกระทำ กริยาการกระทำต่อกรรม ผู้ถูกกระทำ ถ้าแต่งเป็นเรื่องราวก็มีหลายประโยค หลายวลี มารวมคำ ซึ่งข้อความช่วงหนึ่งอาจจะวรรคตอนให้อ่านเป็นตอน เริ่มตอนใหม่ก็คงจะมีวรรคใหม่ตอนใหม่ เพื่อความสะดวกแก่คนเขียนและคนอ่านกันไป หลายวรรคหลายตอนก็กลายเป็นเรื่องราว

หนังสือส่วนมาก ประเทศส่วนมากจึงเป็นการเอาคำอักษร (ตัวหนังสือ มาผสมกัน) ไม่ว่าภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย เป็นต้น ส่วนตัวหนังสือภาษาจีนนั้น คำต่อคำเขียนเลียนภาพสิ่งของแต่ละชนิดเอา ตัวหนังสือจึงประกอบด้วยรอยขีดเขียนคล้ายกับสิ่งของหรือธรรมชาติในสิ่งนั้น ๆ จึงไม่มีการผสมระหว่างพยัญชนะ สระ เพื่อให้เป็นคำอย่างชาติอื่นๆ  ดังนั้นใครเรียนภาษาจีนต้องใช้ความจำเป็นอย่างมาก....มากกว่าภาษาอื่นๆ  เพราะแต่ละคำ เขียนก็ได้เฉพาะคำนั้น ๆ กันนั่นเอง

และดูจะแปลก เท่าที่ทราบมี 2 ภาษา ที่เอากรรมขึ้นหน้ากริยา แทนที่จะอยู่ข้างหลังกริยา ก็คือ ภาษาบาลี กับ ภาษาเกาหลี เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ถ้าภาษาอื่นก็หมายความ มารมีชัยชนะ แต่ภาษาบาลีนั้นกรรมอยู่ข้างหน้า ความหมายจึงเป็นว่า มีชัยชนะต่อมารนั่นเอง)

พูดกันถึงตัวหนังสือกันมามากพอแล้ว ลองมาสัมผัสกับคำว่าภาษา นั้นก็คือ คำพูดสื่อสาร ส่งความหมายในกลุ่มหมู่เดียวกันอย่างเข้าใจ รู้เรื่องได้ดี ด้วยการพูดภาษาเดียวกันนั่นเอง และตัวหนังสือก็เป็นสื่อกลางแทนคำพูด แทนคนเขียนเพื่อเขียนให้คนอ่านได้รับรู้เรื่องราว คำพูดนั้นๆ  กันไป

ในห้องที่มีหนังสือเยอะ ๆ ที่รวบรวมเอาหนังสือหลาย ๆ เล่ม หลาย ๆ ประเภทมารวมที่เดียวกัน ส่วนมากควรจะเรียกห้องหนังสือ แต่โบราณของชาติไทย จะได้เขียนตัวหนังสือที่สมุดกัน จึงได้เรียกห้องหนังสือ เป็นห้องสมุดแทนจนทุกวันนี้

ประโยชน์ของตัวหนังสือ ที่รวบรวมกันไว้ในเล่มแต่ละเล่มนั้น ก็คือ
 1.    ให้ความรู้
2.    ให้ความเพลิดเพลิน
3.    บอกกล่าวความคิด ความรู้สึกของคน เขียนให้คนอื่นได้รับรู้แทนคำพูด
4.    เสริมสร้างสติปัญญาของคนอ่าน
5.    ให้คนอ่านเข้าใจสถานการณ์ เหตุการณ์ สิ่งต่างๆ  ที่คนอ่านสนใจ
6.    รู้ข่าว เรื่องราวต่างๆ  ของสังคม โดยที่ไม่ตกยุค ตกสมัย เอาเรื่องมาคุยมาเม้าท์กับคนอื่น ๆ ได้
7.    เอาตัวหนังสือ มาเขียนสัญญา กติกา กฎข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ  ได้ดี

หนังสือจึงเป็นสื่อกลางให้ความเพลิดเพลิน ความรู้ ความคิด สติปัญญาแก่ผู้คน แล้ววันนี้คุณอ่านหนังสือแล้วหรือยัง

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์