พรสวรรค์ สมาน
หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาลำปาง เปิดเผยว่า
ตามที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯมีโครงการชำระหนี้แทนเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูฯ
และนโยบายรัฐบาล โดยกองทุนฟื้นฟูฯมีแผนเข้ารับชำระหนี้แทนเกษตรกร
ซึ่งเป็นสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเรียบร้อยแล้วเพื่อช่วยเหลือเกษตกรที่เป็นหนี้สถาบันการเงินของรัฐ
รายละไม่เกิน 2.5 ล้านบาท
โดยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะรับชำระหนี้แทนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาดอกเบี้ย
โดยผู้เข้าร่วมโครงการนี้จะต้อง โอนจำนองเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ให้กับ
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อเป็นหลักประกันในการผ่อนชำระหนี้เงินต้น
คืนกองทุนฯเพียง 50% โดยเสียดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี
ในปีงบประมาณ 2557
มีเกษตรกรที่มีรายชื่อเป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่กองทุนฯมีโครงการซื้อหนี้(ชดใช้หนี้แทน)
747 ราย ยอดรวมประมาณ 33 ล้านบาท
โดยขณะนี้มีเกษตรที่ยื่นขอความประสงค์เข้าร่วมโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โดยกองทุนฯเป็นผู้ชำระหนี้แทน นั้นขณะนี้อนุมัติและดำเนินการชำระหนี้แล้ว จำนวน 59
รายเป็นเงินรวมประมาณ 9.5 ล้านบาท
และยังมีเกษตรกรบางส่วนที่ยังไม่ยื่นหนังสือยันยันขอรับความช่วยเหลือชำระหนี้แทน
เนื่องจากบางรายยังไม่แน่ใจหรือรอการตัดสินใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการช่วยเหลือชำระหนี้แทนเกษตรกร
กรณีที่เกษตรกรที่จะรับความช่วยเหลือ จะต้องโอนจำนองเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้คืนกองทุนฯ
หรือเกษตรกรบางรายยังต้องสงวนเอกสารสิทธิ์ที่ดินไว้ค้ำประกันและยังต้องการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรฯต่อเนื่อง
ทั้งนี้จะเร่งดำเนินการชำระหนี้ตามที่มีเกษตกรยื่นความประสงค์เข้ามาร่วมโครงการให้เสร็จสิ้นภายในปี
งบประมาณ 2557 ในเดือนกันยายนนี้ หากเกษตกร
รายใดที่อยู่ในโครงการให้เร่งติดต่อเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จที่
โทร.054-265-054, 054-265-149
รุ่งสุรีย์ ชัยศร
ผู้ดูแลงานฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาลำปาง
เผยว่า นอกเหนือจากการดูแลเรื่องของหนี้เกษตกร
แล้วยังมีโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตกรให้สามารถทำกินและมีรายได้ครัวเรือน
โดยในปีงบประมาณ 2557
ได้จัดสรรงบประมาณงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาแผนและการพัฒนาโครงการ
ฟื้นฟูอาชีพในการทำเกษตรและปศุสัตว์ ไปแล้ว 18 กลุ่ม จากโครงการทั้งหมด 24 กลุ่ม
งบประมาณโดยรวม 5.7 ล้านบาท และมีงบประมาณสนับสนุนแผนและดำเนินโครงการเพื่อให้
กลุ่มต่างๆดำเนินโครงการได้ตามแผนอีก 1
ล้าน อยู่ในระหว่างพิจารณาอนุมัติต่อไป
"งบประมาณฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตกร
มีทั้งรูปแบบของเงินอุดหนุนและเงินกู้ยืม ซึ่งมีส่วนในการช่วยเหลือเกษตกรให้มีรายได้
ก็จะมีความสามารถจัดการหนี้ได้ โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2549
จนถึงขณะนี้กลุ่มต่างๆที่เคยได้รับการสนับสนุนก็สามารถดำเนินโครงการมาได้อย่างยุ่งยืน
บางกลุ่มมีความสามารถในการจัดการหนี้ และชำระหนี้คืนกองฟื้นฟู แล้ว" ผู้ดูแลงบประมาณฟื้นฟูอาชีพ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาลำปางกล่าว
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 987 ประจำวันที่ 18 - 24 กรกฎาคม 2557)