เกิดเหตุน้ำป่าทะลักในหลายพื้นที่ของจังหวัดลำปาง
หลังฝนตกหนักหลายชั่วโมง ปภ.ลำปางสรุปได้รับผลกระทบ 6
อำเภอ 21 ตำบล
เตือนประชาชนเฝ้าระวังใกล้ชิดเพราะยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง
ด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมกำลังพร้อมรับมือ
และให้การช่วยเหลือเร่งด่วนหากเกิดเหตุ
เมื่อวันที่
2 ก.ย. 57 ได้เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนราษฎรในหลายอำเภอ
ของ จ.ลำปาง
หลังจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่
โดยที่ บ้านสบก๋ง หมู่ 12 ต.บ้านเป้า อ.เมือง จ.ลำปาง
หลังจากเกิดฝนตกหนักตั้งแต่ช่วงเวลา 02.00 น.ที่ผ่านมา
ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำห้วยสบก๋งเพิ่มปริมาณสูงขึ้นจนล้นลำห้วยและทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรอย่างรวดเร็ว
ระดับน้ำมีความสูงกว่า 1 เมตร ชาวบ้านที่มีบ้านปลูกติดกับลำห้วยสบก๋ง
ต้องเร่งขนย้ายทรัพย์สินไปในที่ปลอดภัยและบางส่วนที่ขนย้ายไม่ทันก็ต้องปล่อยให้จมน้ำ
ทั้งนี้ ระดับน้ำดังกล่าวยังท่วมถนนเข้าออกหมู่บ้านสูงมากกว่า 1 เมตร ทำให้การสัญจรใช้การไม่ได้ทันที
เบื้องต้นทางผู้ใหญ่บ้านได้แจ้งประสานขอกำลังส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ
ขณะที่สถานการณ์น้ำเริ่มเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากมีลำห้วยอีกหลายสาขาไหลมาสมทบ
ต่อมาเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พร้อมด้วยกำลังทหารจากค่ายสุรศักดิ์มนตรี มณฑลทหารบกที่ 32
ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้าน โดยการนำเชือกช่วยดึงชาวบ้าน คนชรา ที่ติดอยู่ในบ้านที่มีน้ำท่วมสูงออกมาในที่ปลอดภัย
และช่วยขนย้ายทรัพย์สินบางส่วนออกมา ซึ่งต้องรอให้น้ำลดระดับลงจึงจะสามารถเข้าตรวจสอบความเสียหายได้
นอกจากนี้ยังได้เกิดน้ำป่าไหลหลากที่
อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ในหลายตำบล โดยเฉพาะ
ต.วังทอง ได้รับผลกระทบ บ้านตึงใต้ หมู่ 1, บ้านปงถ้ำ หมู่ 3 , บ้านสารภี หมู่ 6 และหมู่ 7 บ้าน
ปงทอง โดยกำลังเจ้าหน้าที่ทหารค่ายสุรศักดิ์มนตรีลำปาง
พร้อมเจ้าหน้าที่พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยวังเหนือ
ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุแล้ว ซึ่งทางอำเภอวังเหนือ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าตรวจสอบเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนต่อไป
ส่วนที่
อ.งาว นายประสิทธิ์ เมืองยาว นายก
อบต.บ้านแหง พร้อมด้วย สมาชิกสภา อบต.บ้านแหง และผู้ใหญ่บ้าน
ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายของพื้นที่ที่ถูกน้ำป่าทะลัก ในเขต ต.บ้านแหง อ.งาว
จ.ลำปาง โดยเฉพาะบริเวณหน้าฝายทุ่งแหง หมู่ 7 ต.บ้านแหง
พบว่าน้ำป่าได้กัดเซาะจนถนนขาดและพื้นที่นาข้าวพังเสียหายเป็นบริเวณกว้าง
นอกจากนี้น้ำป่าได้สร้างความเสียหายทั้งสิ่งสาธารณูปโภค
พื้นสวนทางการเกษตรเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ไม่ว่าจะเป็นลำเหมือง ฝาย คันกั้นน้ำ
และถนน ซึ่งถูกกระแสน้ำกัดเซาะตัดขาดหายหลายจุด
บางแห่งถนนที่ใช้ขนถ่ายพืชผลทางการเกษตรถูกกัดเซาะจนขาดเสียหายไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้
ขณะที่หลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง อ.งาว ตำรวจ สภ.งาว เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
กำนันผู้ใหญ่บ้าน ต.บ้านแหง ทหารจากหน่วยฝึกรบพิเศษที่ 3
ประตูผา ได้ลงพื้นที่สำรวจและเร่งให้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัย
นายประสิทธิ์
เมืองยาว นายก อบต.บ้านแหง เปิดเผยว่า ได้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่เวลา 03.00
น.เป็นต้นมา เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ จนกระทั่งเวลา 07.00
น.น้ำป่าที่มีลำห้วยหลายสายได้ไหลทะลักเข้าลงน้ำห้วยแม่แหง
ได้ทะลักสร้างความเสียหายไปทั่วแต่หลังจากนั้นในช่วงเวลา 09.00 น.สถานการณ์ก็กลับเข้าสู่สภาวะปกติระดับน้ำลดลง
ที่ อ.ห้างฉัตร ระดับน้ำในลำน้ำแม่ตานได้เพิ่มปริมาณสูงขึ้นจนล้นตลิ่ง
ได้ส่งผลกระทบในพื้นที่ท้ายน้ำลงไปเช่น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพืชสวนไร่นาเป็นบริเวณกว้าง
นาย
เดชา
วีเกษ ผู้ใหญ่บ้าน บ้าน จำ หมู่ 6 ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
ได้พาไปดูจุดที่
ลำน้ำแม่ตาลทะลักกัดเซาะ ตลิ่งคันดินหน้าทำนบกั้นน้ำแม่ตาน
จนเสียหายพังยาวกว่า 2
เมตร
ทำให้น้ำได้ทะลักลงสู่ท้องนาก่อนที่จะไหลเข้าบ้านเรือนราษฎรและพืชสวนไร่นา
ได้รับผลกระทบ
ขณะเดียวกันปริมาณน้ำดังกล่าวยังไดไหลทะลักเข้าท่วมอีกหลายหมู่บ้าน
ที่อยู่ติดกัน
ประมาณ 3-4 หมู่บ้าน แต่อยู่ ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้เร่งขนย้ายทรัพย์สินขึ้นไว้ที่สูงและบางส่วนได้นำกระสอบ
ทรายมาวางกั้นกระแสน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้านเรือนส่วนที่ไม่ทันก็ต้องปล่อยให้
ท่วมไป
ซึ่งผู้นำท้องถิ่นได้ประกาศเตือนให้ชาวบ้านเตรียมพร้อมรับมือตลอด 24
ชั่วโมงแล้ว
ทั้งนี้
สำนักงาน ปภ.ลำปาง ได้สรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.ลำปาง
พบว่ามีพื้นที่ได้รับผละกระทบ 6 อำเภอ 21 ตำบล 65 หมู่บ้าน ประกอบด้วย อ.งาว 6 ตำบล คือ ต.บ้านอ้อน
ต.บ้านร้อง ต.หลวงเหนือ ต.แม่ตีบ ต.นาแก
และ ต.บ้านโป่ง , อ.เมืองลำปาง 4 ตำบล คือ ต.บ้านเอื้อม
ต.บ้านเป้า ต.บ้านเสด็จ และ ต.ต้นธงชัย , อ.วังเหนือ 8 ตำบล
ประกอบด้วย ต.วังแก้ว ต.วังใต้ ต.วังซ้าย ต.ร่องเคาะ ต.วังทอง ต.วังเหนือ ต.ทุ่งฮั้ว ต.วังทรายคำ และ
ต.บ้านใหม่ , อ.เมืองปาน 1 ตำบล คือ ต.ทุ่งกว๋าว , อ.สบปราบ 1 ตำบล คือ
ต.นายาง , อ.ห้างฉัตร 1 ตำบล คือ ต.หนองหล่ม
ด้านการให้ความช่วยเหลือ
หน่วยงานทหาร นายอำเภอ สำนักงาน ปภ.ลำปาง
อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและช่วยขนย้ายสิ่งของในเบื้องต้น และในวันที่ 7 ก.ย.57 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
จะอัญเชิญถุงยังชีพพระราชทานมามอบให้ประชาชนผู้เดือดร้อนในพื้นที่ อ.วังเหนือ และ
อ.เมืองปาน ซึ่งขณะนี้ขอให้ประชาชนเตรียมพร้อม
โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสียงให้อพยพทันทีที่มีสถานการณ์
เนื่องจากมีการแจ้งเตือนว่าจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทาง
ปภ.จังหวัดได้ประชุมติดตามสถานการณ์และซักซ้อมทุกหน่วยงานไว้แล้ว
ขณะเดียวกันหลายหน่วยงานระดมความคิดเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยที่จะเกิดขึ้น
พร้อมทั้งเตรียมกำลังพล อุปกรณ์ต่างๆในการกู้ชีพกู้ภัย พร้อมรับมือตลอด 24ชั่วโมงแล้วหลังพบว่าสถานการณ์ลำห้วยสาขาของแม่น้ำวังหลายสายเริ่มเพิ่มปริมาณสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2557 ที่ห้องประชุม สโมสรทหารมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี อ.เมือง จ.ลำปาง พลตรี อุกฤษณ์ อากาศวิภาต
ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยมณฑลทหารบกที่ 32 เป็นประธานในการประชุมชี้แจงสถานการณ์และแนวทางการปฏิบัติ การเตรียมความพร้อมในการับมือสถานการณ์อุทกภัย
น้ำท่วมและน้ำล้นตลิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย
นายสุรพล สัตยารักษ์ ปลัดจังหวัดลำปาง นางนางธวัลรัตน์ ไชยอินปัน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง ผู้แทนจาก
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขต 10 ลำปาง
โคลงการชลประทานลำปาง หน่วยงานกระทรวงเกษตร และส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ได้ระดมความคิดและแนวทางแผนป้องกันเตรียมพร้อมรับมือ
สถานการณ์น้ำที่อาจจะล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ท่วมซ้ำซาก
ได้
ซึ่งล่าสุดพบว่าหลังจากที่จังหวัดลำปางประสบปัญหาอุทกภัยน้ำป่าถล่มติดต่อ
กันมาหลายวันทำให้ปริมาณน้ำลำห้วยสาขาของแม่น้ำวังเพิ่มปริมาณและไหลลงสู่
แม่น้ำวังอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นและไหลแรง แต่ก็ยังไม่ถึงจุดวิกฤต
แต่ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
จึงระดมกำลังเสนอความคิดและนำแผนดังกล่าวมาปรับใช้เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น โดยทาง
ปภ.ลำปาง ปภ.เขต 10 ลำปาง ได้เตรียมกำลังพล
อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือในการกู้ชีพกู้ภัย เครื่องจักรกลต่างพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง
ทางด้านโครงการชลประทานลำปาง
เผยเขื่อนใหญ่สองแห่งที่กักเก็บแม่น้ำวังยังสามารถที่จะรองรับน้ำและบริหาร
จัดการน้ำไม่ให้เกิดน้ำล้นตลิ่งได้ แต่
อาจจะมีน้ำเอ่อล้นได้บางจุด
เนื่องจากมีลำห้วยสาขาแม่น้ำวังหลายสายที่ทางเขื่อนไม่สามารถจัดการได้
แต่ทั้งนี้ระดับน้ำวังที่ไหลผ่านเขตเมืองแม้จะสูงขึ้นบาง
แต่ก็ยังไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด
ขณะที่ส่วนอื่นๆก็พร้อมสนับสนุนทั้ง กำลังพล อุปกรณ์ต่างๆรวมทั้งครัวสนาม
อาหารเครื่องดื่ม ไปสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันที
ด้านท้องถิ่นเองก็ได้จัดเจ้าหน้าที่
มิสเตอร์เตือนภัยเข้าไปประจำจุดเสียงเพื่อตรวจวัดปริมาณน้ำฝนหากเกิดฝนตก
หนักจะได้แจ้งอพยพได้อย่างทันท่วงที
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 994 ประจำวันที่5 - 11 กันยายน 2557)