การแพร่กระจายของจอกหูหนูเต็มพื้นที่เขื่อนกิ่วลม ไม่เพียงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม
การท่องเที่ยว และภูมิทัศน์ของเขื่อนเท่านั้น หากยังสะท้อนถึงวิธีจัดการบริหารวิกฤตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
หลายเดือนผ่านมาและอีกไม่รู้จะยาวนานเพียงใด
จอกหูหนูเต็มผืนน้ำกว้างใหญ่ในเขื่อนที่ปกติไม่เคยมีปรากฎการณ์เช่นนี้ไม่ว่าแห่งไหน
ก็อาจจะยังอยู่เป็นหลักฐานแห่งความไร้ประสิทธิภาพของหน่วยงานนับจากท้องถิ่นจนถึงระดับจังหวัด
เขื่อนกิ่วลม เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของลำปาง
ที่เชิดหน้าชูตามานานหลายสิบปี แต่กลายเป็นว่ากุ้ยหลินลำปางแห่งนี้
ดูจะไร้การเหลียวแล พัฒนา แต่บุญเก่ายังมีจากชื่อเสียงที่สะสมมาช้านาน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างถิ่นต่างรู้กันว่า
หากอยากล่องแพ กินข้าว ชมวิวทิวทัศน์ ลงเล่นน้ำใสไหลเย็น
มาที่กิ่วลมแล้วจะไม่ผิดหวังแน่นอน แต่ปีนี้อาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะจอกหูหนูเขียวขจีเหมือนสนามหญ้าลอยอวดโชว์รอต้อนรับนักท่องเที่ยว
สมกับเป็นปี แอ่วลำปาง...ม่วนแต๊หนา จริงๆ
การ
แบ่งตัวอย่างเบิกบานของจอกหูหนูแล้วไหลตามกระแสน้ำมาเยือนยังเขื่อนกิ่วลม
นั่นเป็นเพียงปลายทางของการฟ้องร้องและเรียกร้องความสนใจจากธรรมชาติ
ว่าขณะนี้ธรรมชาติกำลังถูกทำร้ายจากอะไรบางอย่างที่จู่ๆก็ทำให้ในแหล่งน้ำมี
สารอาหารมากพอที่จอกหูหนูจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
แต่จนแล้วจนรอด
ปัญหากองทัพจอกหูหนูบุกเขื่อนกิ่วลมที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานเกือบ
1 ปี โดยที่การเยียวยารักษาแหล่งน้ำแห่งนี้ ยังทำได้เพียง ตักและโกยโดยเครื่องจักรเพียง
1 ลำ ที่ทำหน้าที่ตักและโกยไปกองบนฝั่งมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่าน
กับจอกหูหนูจำนวนมหาศาลที่มีปริมาณมากถึง 200 ตันต่อวัน
อุต๊ะ....!! (อุทานแบบวัยรุ่น)
จอก
จำนวนมากมายมหาศาลขนาดนี้
ตักจนตายคงจะฝันได้ว่าจะหมดสักวันหนึ่ง เพราะจอกมันลอยมาตามกระแสน้ำ
ไม่ได้มาเพิ่มจำนวนแถวสันเขื่อน
หรือกลางเขื่อน
หรือแม้แต่การจำกัดบริเวณแล้วตักออกก็ยังตอบไม่ได้ว่าจะแก้ปัญหาได้อย่าง
ยั่งยืนในระยะยาวหรือไม่
เพราะลานนาโพสต์เกาะติดสถานการณ์จอกหูหนูวัชพืชน้ำเล็กๆที่ก่อให้เกิดปัญหา
มาตั้งแต่ต้นปี
จนปีนี้จะผ่านไปในเวลาอีกไม่นาน
ที่ดูแนวโน้มแล้วสถานการณ์จะยากเกินเพียงแค่หน่วยงานเดียวจะดูแล
หรือจะต้องรอให้ปัญหาบานปลาย
ประจานตัวเองให้นักท่องเที่ยวเห็นให้พูดต่อๆกันไปให้โด่งดังทั่วประเทศถึงจะ
ได้เวลาของบูรณาการแต่ละหน่วยงาน
ร่วมแรงร่วมใจเพื่อแก้ปัญหาหรืออย่างไร
ปัญหานี้จะใหญ่เกินไปที่ชลประทานจะดูแลไหวหรือไม่ หรือชลประทานจะสามารถเอาจอกหูหนูอยู่หรือควรจะส่งสัญญาณให้ทุกฝ่ายยืนมือมาช่วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการแพ ชาวบ้านที่จับปลาเลี้ยงชีพ
ที่ใช้ผืนน้ำแห่งนั้นเป็นแหล่งทำมาหากิน หน่วยงานราชการที่ดูแลต้นน้ำ
หรือแม้แต่เกษตรกรที่ทำการเพราะ รวมไปถึงอุตสาหกรรม และที่ไม่ควรจะปล่อยให้
จอกหูหนู สร้างปัญหา ต่อไปอีกนั่นคือ จังหวัดต้องให้ความสนใจมากกว่าการปล่อยให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดูแล
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่แต่ละฝ่ายควรจะยื่นมือเข้ามาช่วยกันกำจัดจอกหูหนู
ที่มาบุกรุกกิ่วลมของคนลำปาง ให้กลับมาสวยเหมือนที่เคยเป็น ถึงเวลาหรือยังที่แต่ละควรจะร่วมกันพูดคุยหาทางแก้ไขที่
“ต้นเหตุ” ไม่ใช่ “ปลายเหตุ” ด้วยการตักทิ้ง เพราะการเบ่งบานของวัชพืชน้ำเหล่านี้มีทฤษฎีรองรับอยู่ไม่กี่อย่าง
เพราะพืชน้ำก็ไม่ต่างจากคน คนเติบโตได้เพราะกินอาหาร พืชน้ำก็เจริญพันธ์เพิ่มจำนวนได้เพราะมีสารอาหารให้กินอย่างอิ่มหนำ
แล้ว “อะไร” เป็นต้นกำเนิดเหตุ
ดูจะเป็นคำถามที่ยังไม่ได้คำตอบ
หากผู้รู้ กูรู
มาช่วยตอบทีเถิด ก่อนที่คุณภาพน้ำและระบบนิเวศจะเสียหายไปมากกว่านี้ จำ
ได้ว่าเคยล่องแพช่วงหน้าหนาว
อากาศเย็นๆ ชมวิวเพลินๆ มีอาหารอร่อย เคล้าเสียงเพลงเบาๆ การล่องแพ ณ
ที่แห่งนี้ก็สร้างความสุขให้คนลำปางและคนต่างถิ่นมาเยือนได้ง่ายๆในราคาไม่
แพง
แต่มาวันนี้เพียงแค่เห็นผิวน้ำที่เขียวขจีเหมือนผืนพรมที่หนานุ่มก็คิดหนัก
ไม่กล้าแนะนำมิตรสหายให้มา
จอกที่กิ่วลม
ทำให้ลมหายใจของแร็ค ลานนา ติดๆขัดๆ
ความรื่นรมย์แห่งชีวิตดำดิ่งลงสู่ใต้ผืนจอกหนาแน่นอย่างฉับพลัน
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 996 ประจำวันที่ 19 - 25 กันยายน 2557)