เด็กลำปางน่าห่วง
อยู่ก่อนแต่งกว่าร้อยละ 70
โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาและอาชีวะ
มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกันร้อยละ 30 ขณะที่เด็ก ม.ปลายส่อติดโทรศัพท์มือถือ
ใช้เวลาเล่นอินเตอร์เน็ตถึงวันละ 10-12 ชั่วโมง
ด้านชีวิตกับสื่อ
ได้นำเสนอการใช้เวลาอยู่กับสื่อใน 1 วัน เช่น การดูโทรทัศน์ การคุยโทรศัพท์ การเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านมือถือ
การเล่นอินเตอร์เน็ต จ.ลำปาง เฉลี่ย 12 ชั่วโมงต่อวัน โดยในกลุ่มเด็ก
ม.ปลาย จะมีโทรศัพท์เป็นของตัวเองสูงที่สุด ร้อยละ 98
ใช้เวลาคุยโทรศัพท์เฉลี่ยวันละ 102 นาที
ใช้เวลาเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านมือถือเฉลี่ยวันละ 247.95 นาที ใช้เวลาเล่นอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 254.12 นาที ใช้เวลาดูโทรทัศน์
เฉลี่ยวันละ 182.24 นาที ส่วนเด็กระดับอาชีวะจะมุ่งเน้นด้านการเล่นอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์มากกว่าเฉลี่ยวันละ
286.03 นาที
เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ 233.37 นาที
และดูโทรทัศน์ 182.17 นาที สำหรับระดับอุดมศึกษา
จะใช้อินเตอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์สูงที่สุดเฉลี่ยวันละ 286.03 นาที เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ
211.78 นาที
และดูโทรทัศน์ 164.28 นาที
ผศ.จำลอง กล่าวต่อไปว่า ส่วนใหญ่เด็กที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่
เช่น ร้อยละของเด็กที่เคยมีเพศสัมพันธ์
พบว่าเด็กที่ไม่ได้อยู่อาศัยกับพ่อแม่เคยมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 33.60 ต่างจากเด็กที่อยู่อาศัยกับพ่อแม่ที่เคยมีเพศสัมพันธ์
ร้อยละ 26.21 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่ใช้ความรุนแรง
เช่นเคยชกต่อย ตบ ตี หรือทะเลาะวิวาทกับเพื่อน
ผลสำรวจพบว่าในจำนวนเด็กที่เคยใช้ความรุนแรงดังกล่าวเป็นเด็กที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับครอบครัว
ถึงร้อยละ 34.44 มากกว่าเด็กที่อยู่อาศัยกับพ่อแม่ที่มีร้อยละ 29.29
ครอบครัวนับว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนที่เป็นทั้งปัจจัยสร้างและปัจจัยเสี่ยงของเด็กภาคเหนือ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าครอบครัวจะเป็นหัวใจหลักของชีวิตเด็กเพียงอย่างเดียว
ภาวะแวดล้อมอื่นๆก็มีส่วนสำคัญต่อการบ่มเพาะและเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางร่างกาย
สติปัญญาและจิตใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อกับแม่แล้วจะต้องเสี่ยงทั้งหมด ในบางกรณีที่อยู่กันพร้อมหน้าพ่อแม่ เขาก็อาจตกอยู่ภาวะเสี่ยงได้ หากไม่ได้รับความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ผศ.จำลอง คำบุญชูกล่าว