จากปริมาณขยะที่เพิ่
ส่วนที่ 2 การสร้างความตระหนัก
การให้องค์ความรู้เพื่อสร้ างความเข้าใจ ในเรื่องผลกระทบจากปัญหาขยะ
ที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่แรงจูงใจ
ที่สมาชิกชุมชนต้องการเป็นส่ วนหนึ่งในการจัดการขยะโดยเริ่ มจากในครัวเรือนของตนเอง
โดยมีกิจกรรมรองรับคือ รวบรวมข้อมูลปัญหา คืนข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญเข้ าใจง่าย
เช่น ปริมาณขยะ ข้อมูลโรค ที่เกิดจากการเผาขยะ
การจัดการที่ไม่ถูกวิธี เชื้อโรคต่างๆที่เกิดจากการหมั กหมมของขยะ
เป็นต้น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยมี วิทยากรจากผู้ประกอบการรับซื้ อขยะและวิทยากรจากองค์การบริ หารส่วนตำบลหัวเสือ
มาให้ข้อมูลด้าน การคัดแยกขยะ ที่เป็นสารพิษ ขยะที่สามารถย่อยสลายโดยนำไปต่ อยอดเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ
และ ขยะที่สามารถนำไปขายสร้างรายได้
ส่วนที่ 3 การกระตุ้นการลงมือปฏิบัติในแต่ ละครัวเรือน
การจัดพื้นที่ในการทิ้งขยะเป็ นส่วนกลางของชุมชุมในแต่ละโซน รวม 3 โซน กระจายทั่วชุมชน มีการประสานผู้ประกอบการนัดวั นรับซื้อขยะโดยผู้ประกอบการ เดือนละ 1 ครั้ง และจัดเก็บข้อมูลขยะที่ได้ ขายออกไป จำนวนเงินที่ได้ จากการขายขยะของแต่ละครัวเรือน โดยผู้นำคุ้ม เพื่อนำเป็นข้อมู ลประกอบการมอบรางวัลให้กับสมาชิ กที่มีการขายขยะได้ปริมาณมากที่ สุดในแต่ละเดือน
เพื่อมอบรางวัลครัวเรือนดีเด่ นด้านการจัดการขยะต่อไป
และมีวางแผนติดตามโดยคณะทำงาน
จากการดำเนินงานส่งผลให้ชุมชนบ้ านสามขามีการเปลี่ยนแปลงพฤติ กรรมโดยมากกว่าร้อยละ 70 มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมี การคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์ ส่งผลให้ขยะที่นำไปทิ้งในบ่ อขยะของหมู่บ้านลดลงถึงร้อยละ 71.10 ของปริมาณขยะทั้งหมด
อีกทั้งสมาชิกในชุมชนยังมี รายได้จากการคัดแยกขยะคิดเป็นน้ ำหนักรวมถึง 653 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กั บสมาชิกที่มีการคัดแยกขยะในครั วเรือนว่ามี
ผู้ประกอบการมารับซื้อในชุ มชนแน่นอน