วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สสส.หนุน 9 โรงเรียนภาคเหนือ จัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน


นายสมศักดิ์ ขำอ่อน และนายมนัส ขำอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิติดตามโครงการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อ สุขภาวะเด็กและเยาวชน ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดบทเรียนชุดโครงการจัดการศึกษาแบบมี ส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนในระดับภาคเหนือ โดยมี ผศ.ดร.พิณสุดา  สิริธรังศรี  หัวหน้าโครงการติดตามฯชุดโครงการฯ เป็นประธานการสัมมนา พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จากสาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา  โรงเรียนเรียน และบุคลากรทางการศึกษา จาก 9 โรงเรียน ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำพูน  เชียงใหม่ น่าน สุโขทัย และ นครสวรรค์   เข้าร่วมเวทีการถอดบทเรียน ณ แหล่งเรียนรู้บ้านดินวังไทร อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย เมื่อวันที่ 24-25  ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา
ผศ.ดร.พิณสุดา  สิริธรังศรี  หัวหน้าโครงการติดตามฯ กล่าวว่า   ชุดโครงการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน ได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ดำเนินโครงการจำนวน 64 โครงการหลัก ในกว่า 300 โรงเรียน ทั่วทุกภูมิภาค ทั้งเหนือ กลาง อีสานและใต้ โดยในภาคเหนือ มีโรงเรียน 9 แห่งใน 5 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่เน้นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษาและชุมชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน โดยมีประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาวะของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยปัจจัยเสี่ยง 4 ด้าน คือ เหล้า บุหรี่  อาหารที่ปลอดภัย และสุขภาวะทางเพศ ซึ่งแต่ละโรงเรียน แต่ละชุมชน แต่ละพื้นที่มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันและมีทุนทางสังคมรวมทั้งบริบทปัญหาที่ไม่เหมือนกัน การสร้างองค์ความรู้และความร่วมมือจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาของแต่ละชุมชนได้  ซึ่งผลการดำเนินโครงการฯ พบว่า กว่าร้อยละ 90 เด็กและเยาวชนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีศักยภาพทางความคิดและเป็นแกนนำสร้างสรรค์ให้กับเพื่อนเยาวชนด้วยกัน รวมทั้งยังก่อเกิดความร่วมมือขององค์กรชุมชน ที่เข้ามาร่วมจัดการเรียนการสอน และ กระบวนการเรียนรู้ วิถีชีวิต ให้กับเด็กๆในชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเหมาะสม


จากการถอดบทเรียนในระดับภาคเหนือ ซึ่งให้ความสนใจในสองประเด็นหลักคือ ปัญหาการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ประเด็นเรื่องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการในโรงเรียน โดยโรงเรียนจอมทอง  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่ ทำโครงการลูกจอมทองร่วมใจ ขับไล่สิ่งมอมเมาชีวิต” ,โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์  อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ทำโครงการพัฒนาศักยภาพในการป้องกัน การสูบบุหรี่ของนักเรียนโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์”  ,โรงเรียนนาทรายวิทยาคม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ทำโครงการส่งเสริมปลูกฝังทักษะชีวิตในวัย  Teen  Age” และโรงเรียนบ้านดง  อำเภอทุ่งหัวช้าง   จังหวัดลำพูน จัดทำโครงการลดปัญหาการสูบบุหรี่แบบมีส่วนร่วม ขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน โรงเรียนบ้านดง” ส่วนโรงเรียนที่ทำเกี่ยวกับประเด็นสุขภาวะส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมและค่านิยม การ บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการในโรงเรียน  คือ โรงเรียนบ้านป่าหัด  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน ทำโครงการการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนบ้านป่าหัด  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน ,  โรงเรียนบ้านโป่งแดง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน  จัดทำโครงการการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสร้างสรรค์เด็กและเยาวชน  ,โรงเรียนบ้านโป่งแดง อำเภอทุ่งหัวช้าง , โรงเรียนบ้านศรีเตี้ย  อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ทำโครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ โรงเรียนบ้านศรีเตี้ยเหล่าดู่และหนองยวง , โรงเรียนบ้านหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง   จังหวัดลำพูน ทำโครงการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมและค่านิยมในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการในโรงเรียนบ้านหนองปลาสะวาย” และ โรงเรียนบ้านวังไทร อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย จัดทำโครงการการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะคนไทยในเครือข่ายชุมชน โรงเรียนบ้านวังไทร” 


โดยโครงการทั้งหมด  เน้นใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้ง โรงเรียน ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครอง  ส่วนใดส่วนหนึ่งทำไม่สำเร็จแน่นอน ถ้าโรงเรียนทำ แต่ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ทำก็จะไม่สำเร็จ ดังนั้น จำเป็นต้องทำไปด้วยกัน เรียนรู้ไปพร้อมกัน  อย่างการทำเรื่องอาหารปลอดภัย  ที่เน้นเรื่องผักปลอดสารพิษ และเกษตรแบบพอเพียง เมื่อโรงเรียนทำ  นักเรียนก็นำกลับไปทำต่อที่บ้าน ในชุมชน  หรือเรื่องการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ที่เด็กติดพฤติกรรมมาจากในครอบครัวในชุมชน ก็ต้องกลับไปช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ในห้องเรียน ในโรงเรียน  ในบ้าน ซึ่งหมายถึงทุกส่วนที่อยู่รอบตัวเด็กก็จะต้องมีส่วนร่วมด้วยกันทั้งหมด จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า เด็กนักเรียนสามารถที่จะเรียนรู้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง คิดที่จะแก้ไขปัญหาโดยการสร้างการมีส่วนร่วมและใช้กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  นอกจากนี้ยังพบว่ามีการขยายหลักแนวคิดและเครือข่ายไปในโรงเรียนใกล้เคียง และกลุ่มเยาวชนเพิ่มมากขึ้น  โดยหวังว่าหากมีโรงเรียนใดต้องการขยายเครือข่ายหรือเข้าร่วมโครงการ สามารถศึกษาดูงานได้จากโรงเรียนทั้ง 9 แห่งนี้

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 1003 ประจำวันที่ 7 - 13พฤศจิกายน  2557)

Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์