วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หมู่บ้านศีล 5



           
ดเว้นการกล่าวเท็จ ในศีล คือสิ่งที่สะท้อนใจ เมื่อคิดถึงวิธีการได้มาซึ่งหมู่บ้านศีล เป็นการได้มาด้วยการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ด้วยการใช้ชื่อของบุคคลอื่น นี่อาจเรียกว่าเป็นภาวะล้มละลายของความน่าเชื่อถือ ตั้งแต่ก้าวแรกเข้าหมู่บ้านแล้ว
           
ศีล 5 คือศีลพื้นฐานที่สั่งสอนให้ชาวพุทธทุกคนยึดถือปฏิบัติเป็นหลักของชีวิต เป็นพื้นฐานที่ดีที่ทุกคนควรมี สวดให้เราระลึกถึงอยู่ทุกวันว่าอะไรที่ไม่ควรทำ ไม่ใช่ว่าสวดมนต์ทุกวัน แต่ไม่ปฏิบัติตนให้อยู่ภายในศีล ก็จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย
           
ศีล 5 ข้อ ประกอบด้วย ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป  อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้  กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม  มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ  สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
           
วิชาพระพุทธศาสนา บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย มาเนิ่นนาน วัดกับวิถีคนไทยถือเป็นของคู่กันมาแต่โบราณนานมา ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทุกศาสนาไม่ว่าจะพุทธ คริสต์ อิสลาม ซิกซ์ เซน ฮินดู ฯลฯ ล้วนแล้วแต่สอนให้ทุกคนทำดี เป็นคนดีทั้งสิ้น แต่แตกต่างในรายละเอียดและแนวคิดปฏิบัติ
           
โครงการนี้มีศรัทธาญาติโยมยังรู้เรื่องกันน้อยมาก เพราะถามใครต่อใครก็ไม่รู้ แต่ปรากฏชื่อลงทะเบียนไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งที่การกรอกข้อมูลต้องระบุ หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ในการสมัครออนไลน์ด้วย  คำถามคือเอาเลขบัตรประชาชนคนยังไม่รู้เรื่องได้อย่างไร
           
การนำข้อมูลส่วนตัวอย่างเลขที่บัตรประชาชนไปใช้โดยที่บุคคลนั้นไม่ได้รับทราบ ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่?! หลายคนอาจจะบอกว่าไม่เป็นไรเพราะไม่น่าจะเสียหายอะไร แค่เอาเลขบัตรประชาชนไปใช้ แน่นอนว่าหากคิดอย่างผิวเผินและความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นก็จริง แต่ปลายยอดของภูเขาน้ำแข็งสวยงามที่เราเห็นนั้น เบื้องล่างเบื้องลึกเบื้องหลังมันมีอะไรที่ซ้อนเร้นไว้หรือไม่
           
สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม ปรากฏของมูลผู้ลงทะเบียนออนไลน์ของจังหวัดลำปางเป็นอันดับ ที่มียอดใบสมัครย้อนหลัง วัน สูงสุดของประเทศไทย เป็นจำนวน 295,121 คน ซึ่งนั่นหมายความเฉพาะ วันนั้นมีคนแห่ลงทะเบียน คีย์ข้อมูลออนไลน์” กันเกือบกึ่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
           
โครงการรักษาศีล หากประชาสัมพันธ์โครงการกับพุทธศาสนิกชนอย่างจริงจัง ไม่ใช่ทำแค่ผักชีโรยหน้า เชื่อว่าชาวพุทธทั้งหลายยินดีและยินยอมพร้อมใจกันแน่แท้ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องยอมรับความจริงว่าทุกวันนี้ พุทธพาณิชย์” มีจริง
           
ก่อนหน้านี้มีมีกระแสข่าววอนเนตเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามีการเผยแพร่หนังสือประทับตราด่วน ที่ออกจากสำนักงานเจ้าคณะจังหวัด (จจ.) หนึ่งในภาคกลาง วันที่ 22 มิถุนายน 2558 ส่งถึงเจ้าคณะอำเภอในเขตปกครองผ่านสังคมออนไลน์ ข้อความในหนังสือระบุว่า
           
ยังมีอีกหลายวัดที่ไม่มีชื่อวัดปรากฏ และอีกหลายวัดที่มีชื่อวัดปรากฏ แต่สถิติคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน ขอให้เจ้าคณะอำเภอตรวจสอบว่าในอำเภอที่ปกครอง มีวัดไหนบ้างที่มีคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน ถ้าเป็นวัดของเจ้าคณะตำบล ให้เจ้าคณะอำเภอออกคำสั่งตำหนิโทษเป็นเวลา เดือน”
           
หรือนี่จะเป็นที่มาของตัวเลขทางสถิติที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น สวนทางกับข้อมูลที่ศรัทธาญาติโยมพึงรู้อย่างสิ้นเชิง หากเรามองว่าต้องการตัวเลขผู้เข้าร่วมโครงการให้มียอดสูงๆก็คงไม่ต่างอะไรกับการสร้างยอดขายให้ตรงตามเป้า แต่ก็จะมีคำถามว่าถ้าเป็นการขาย คนขายก็ต้องได้ค่าคอมมิชชั่น และถ้าเป็นวงการสงฆ์ สงฆ์จะได้อะไร
           
การรณรงค์ให้ประชาชนตั้งอยู่ในศีล 5 นั้น ทำได้โดยการประพฤติดี ประพฤติชอบ พัฒนาระดับจิตของพุทธศาสนิกชน ไม่ใช่เพียงแค่ออกป้ายไวนิลทั้งไปทั่วหมู่บ้าน หรือหน้าวัด เพราะนั่นเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ไม่สามารถทำให้คนเข้ามารักษาศีล5 ได้จริง และถ้ามีคำสั่งนั้นเป็นจริงก็ไม่ต่างจากการข่มขืนให้ประชาชนทำบุญเช่นนั้นหรือ
           
แร็ค ลานนา เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งที่รักษาศาสนาพุทธด้วยการปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงแค่คำพูด เราไม่รู้หรอกว่ามันมีอะไรในกอไผ่ ถึงได้มีการเร่งเพิ่มยอดอย่างรวดเร็ว นำชื่อนามสกุลและเลขที่บัตรประชาชนจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของลำปางไปกรอกลงทะเบียน
           
คงต้องเป็นคำถามที่ยังค้างคาใจว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลผิดๆแบบนี้ด้วยหรือไม่ ลงทะเบียนได้แม้กระทั่งคนที่ตายไปแล้ว คนต่างศาสนาที่ระบุชื่อเขาไปด้วย
           
ศาสนาจะดีได้ก็ดีเพราะปฏิบัติดี ไม่ใช่เพราะการสร้างข้อมูลสร้างภาพว่าดี หรือถ้าเรื่องชั่วเป็นเรื่องของชี เรื่องดีๆเป็นเรื่องของสงฆ์

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1040 วันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์