วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

เมื่อไดโนเสาร์ขยับเข้ามาใกล้


กุลธิดา สืบหล้า...เรื่อง

กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส กำลังอ้าปากขยับตัวไปมาเด็กเล็ก ๆ สีหน้าตื่นตระหนก ส่วนเด็กโตกลับหัวเราะร่า แววตาเป็นประกาย สำหรับไดโนเสาร์แล้ว มันคงเป็นขวัญใจของใครหลาย ๆ คน ไม่เฉพาะแค่เด็ก ๆ แม้แต่ผู้ใหญ่ก็หลงใหลทว่าคนพื้นถิ่นเหนืออย่างเรากว่าจะดั้นด้นไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือกรุงเทพฯ อันเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามมากอยู่สักหน่อย

หลังพิธีวางศิลาฤกษ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 กรมทรัพยากรธรณีก็ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ธรณีวิทยาและธรรมชาติวิทยาจังหวัดลำปาง บริเวณพื้นที่ 10 ไร่ ด้านข้างเทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งนับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของภาคเหนือและเป็นแห่งที่ 6 ของประเทศไทย เพื่ออนุรักษ์และรวบรวมซากโบราณ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาจาก 17 จังหวัดภาคเหนือไว้ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของผู้ที่สนใจตลอดจนเป็นแหล่งเก็บซากดึกดำบรรพ์ทางธรณีวิทยาและธรรมชาติวิทยาที่สำคัญของภูมิภาคภาคเหนือ ภายในพิพิธภัณฑ์มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรณีพิบัติภัย ซึ่งมีความสำคัญและนับว่าเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง นอกจากนี้ ยังจัดแสดงซากดึกดำบรรพ์หลากหลาย เช่น ไดโนเสาร์ ช้างโบราณ งา มนุษย์โบราณเกาะคา อุกกาบาต และทรัพยากรธรณีในจังหวัดลำปาง สามารถเข้าชมได้ฟรีในช่วงงาน “เขลางค์นคร ย้อนโลกดึกดำบรรพ์” ตั้งแต่วันที่ 18-25 มกราคมนี้เวลา 10.00-20.00 นาฬิกา

ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีมีพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยาหลายแห่ง ที่เปิดบริการแล้ว ได้แก่ ศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น พิพิธภัณฑ์สิรินธร อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ คลอง อำเภอธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี ศูนย์วิจัยแร่-หิน ตำบลแกลง อำเภอเมืองฯ จังหวัดระยอง และที่พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา พระราม กรุงเทพฯ ส่วนพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

สำหรับประเทศไทยล่าสุดก็ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนต์ในสกุลและชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามของพระองค์เป็นชื่อสกุล คือ “สิรินธรน่า” ส่วนชื่อชนิดใช้ชื่อโคราช ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ คือ “โคราชเอนซิส”

ในบรรดาไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนต์ (อิกัวโนดอนต์เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีกระดูกสะโพกแบบนก ต่างจากไดโนเสาร์กินพืชพวกซอโรพอด หรือพวกคอยาว หางยาว ที่มีกระดูกสะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน) ขณะนี้ถือว่าประเทศไทยมีมากที่สุดในอาเซียน โดยพบแล้วถึง สกุลซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพันธุ์ใหม่ของโลก ทั้งสิรินธรน่า ราชสีมาซอรัส และสยามโมดอนยังไม่รวมไดโนเสาร์กินเนื้อที่ค้นพบที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกำลังจะมีผลงานวิจัยออกมาว่าจะใช่ไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่แผนการจัดสร้าง Dino Park มูลค่า 1,000 กว่าล้านที่เมืองย่าโม ส่วนพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จังหวัดลำปาง มูลค่าการก่อสร้างอยู่ที่หลัก100 ล้าน ส่วนจะคุ้มค่าหรือไม่ คงต้องวัดกันว่าองค์ความรู้ในพิพิธภัณฑ์ของเรานั้น สร้างแรงบันดาลใจมากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่า แรงบันดาลใจย่อมไม่ได้มาจากข้อมูลแห้ง ๆ บนบอร์ดนิทรรศการ แต่เกิดขึ้นจากความมีชีวิตชีวากลับมาบ้าน เด็กบางคนอาจฝันถึงการเป็นนักบรรพชีวินด้วยซ้ำไป

           
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1063 วันที่ 22 - 28 มกราคม 2559)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์