วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

กินไก่สะเทือนถึงดวงดาว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

จำนวนผู้เข้าชม website counter

กุลธิดา สืบหล้า...เรื่อง

ปีแล้วปีเล่าที่เราต้องพ่ายแพ้แก่ปัญหาหมอกควันและค่ามลพิษทะลุเกินค่ามาตรฐานไปมากโข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา เมื่อลำปางของเราถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันจนขาวโพลนไปทั้งเมือง
           
หากใครขี่มอเตอร์ไซค์จะรู้สึกทันทีว่าแสบตา แสบจมูกมาก ส่วนลูกเล็กเด็กแดงที่เป็นภูมิแพ้คงต้องหอบหิ้วกันไปหาหมอด้านระบบทางเดินหายใจในช่วงนี้ และหมอเด็กก็จะพูดซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกปี หมอกควันมาแล้วค่ะคุณแม่” พร้อมกับแนะนำให้เราปิดประตู หน้าต่าง เปิดแอร์ งดออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้งหากไม่จำเป็น ซึ่งมันจะเป็นไปได้อย่างไร

ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน การคลอดก่อนกำหนด และภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ นอกจากปัญหาด้านสุขภาพ หมอกควันยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย ล่าสุดเมืองเชียงใหม่ประเมินแล้วว่า แต่ละปีต้องสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวไปกับปัญหานี้กว่า 10,000 ล้านบาท ปีนี้ก็เช่นกัน

ในเมื่อปัญหามันหนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ หลายหน่วยงานจึงเริ่มออกมาเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ที่กรุงเทพฯ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ ได้ร่วมกันเปิดวงเสวนาสาธารณะ CORN>>NECTIONคน เขา เรา ข้าวโพด การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน โดยมีสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัทป่าสาละ และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย การวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานของข้าวโพดอาหารสัตว์ เพื่อส่งเสริมการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนในจังหวัดน่าน ประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานด้านนโยบายและรณรงค์ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย

หลายคนเราต่างเคยฟังข้อมูลจากภาคประชาชน หรือเอ็นจีโอมามากแล้ว คราวนี้จึงพุ่งเป้าไปยังศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมาร่วมวงเสวนาครั้งนี้ด้วย โดยเขาแสดงความเห็นว่า ปัจจัยสำคัญของปัญหานี้ เกิดขึ้นเพราะชาวบ้านไม่มีทางเลือกในการทำมาหากิน ปัญหาสิทธิที่ทำกินไม่ชัดเจน และยังมีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเกษตร อาทิ การขาดระบบชลประทาน ทำให้ข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ กลายเป็นทางเลือกของชาวบ้าน ข้าวโพดถูกมองว่าเป็นตัวการทำลายป่า การแก้ปัญหานี้ จึงมีความท้าทายอย่างมาก และต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาปากท้องชาวบ้าน ในส่วนของเครือเจริญโภคภัณฑ์นั้น มีความตั้งใจจริงและพร้อมที่จะก้าวเข้ามามีส่วนร่วมต่อการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป
นโยบายการรับซื้อของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เปลี่ยนไป เปิดให้มีการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบยั่งยืน ลดผลกระทบได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยบทบาทความรับผิดชอบของบริษัทในการส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืนนั้น จะไม่เพียงแค่หนุนโมเดลที่บริษัทได้ดำเนินการมาแล้ว แต่ยังเปิดกว้างต่อการริเริ่มที่เป็นของชาวบ้านเองด้วย ส่วนในห่วงโซ่การผลิต มีการทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม อาทิ อ็อกแฟม ได้เข้ามาร่วมศึกษา ตรวจสอบ เพื่อติดตามการเปลี่ยนผ่าน โดยคำนึงถึงสวัสดิการของชาวบ้านไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นี่คือถ้อยแถลงจากตัวแทนบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ถูกตั้งคำถามจากสังคมในเรื่องภูเขาหัวโล้นทางภาคเหนือ นำมาซึ่งปัญหาหมอกควันที่คุกรุ่นอยู่ในใจของคนเหนือมากที่สุด

หันมาดูท่าทีของภาครัฐก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ มีนาคมที่ผ่านมา ครม. อนุมัติงบประมาณมหาศาลและเห็นชอบแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือปี 2559 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แต่เชื่อเถอะว่า ปัญหาฝุ่นควันจะเงียบหายไปเมื่อฤดูฝนมาเยือนเหมือนกับทุก ๆ ปีที่ผ่านมา แล้วพอปีต่อไปก็จะมีการเสนอของบประมาณเฉพาะหน้ากันใหม่
           
เราควรมีแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาฝุ่นควันระยะยาวกันได้แล้ว แม้จะล่วงเข้าฤดูฝน แต่กระบวนการแก้ไขปัญหาควรต้องดำเนินการต่อ ต้องมีการศึกษาวิจัยเรื่องฝุ่นควันอย่างจริงจังและรอบด้าน เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น
           
มารอดูท่าทีของนายกรัฐมนตรีต่อปัญหาเรื่องนี้กัน เพราะราว ๆ ต้นเดือนเมษายนนี้ท่านมีแผนเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับฟังแม่แจ่มโมเดล (แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า)

ระหว่างนี้มารับทราบข้อมูลสุดสะพรึงกันก่อนว่า จริง ๆ แล้วเราทุกคนล้วนมีส่วนทำให้เกิดปัญหาหมอกควันทั้งสิ้น โดยข้อมูลบ่งชี้ว่า คนไทยกินไก่กันคนละ 10-15 กิโลกรัม ต่อปี เนื้อไก่ กิโลกรัม ใช้ข้าวโพดเลี้ยวสัตว์ประมาณ กิโลกรัม ใช้พื้นที่ปลูก ตารางเมตร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 52 เปอร์เซ็นต์ ปลูกในพื้นที่ป่า ดังนั้น ในเมื่อเรากินไก่ที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงเท่ากับว่า เรามีส่วนทำลายป่าเฉลี่ยคนละ 20 ตารางเมตร ต่อปี

อาจต้องลดละเลิกไก่ย่าง ข้าวกะเพราไก่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไส้กรอก แฮม หมูแดดเดียว ต้มยำกุ้ง ปลาทับทิมทอดกระเทียม ไม่รับขนมจีบ ซาลาเปา ทานเพิ่มด้วยนะคะ แล้วยังต้องบอยคอตระบบสัญญาณมือถือและอินเตอร์เน็ตบางค่าย ไม่เชียร์ The Voice และ AF อีก เฮ่อ...

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1073 วันที่ 1 - 7 เมษายน 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์