
แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปแต่ประเพณีวิถีชีวิตบางอย่างยังไม่เคลื่อนติดตามไม่ขาดหาย เช่นเดียวกันความเชื่อเรื่องของพิธีกรรมหลังความตาย
อาชีพหนึ่งของช่างหรือสล่า ‘ปราสาทศพ’ ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ยังคงเป็นสกุลช่างหนึ่งที่เหลือไม่มากนักปัจจุบัน
ปราสาทศพ เป็นเครื่องประกอบพิธีงานศพในภาคเหนือชาวบ้านเรียกกันว่าปราสาทเพราะมีโครงสร้าง รูปทรงเป็นปราสาทสำหรับรองรับหีบศพในพิธีประชุมเพลิง (เผาศพ) ที่ป่าช้า แต่ดั้งเติมในสมัยโบราณในพิธีศพของพระสงฆ์ จะมีความพิเศษวิจิตรงดงามกว่าพิธีศพของคนทั่วไป ซึ่งเรียกว่า ‘ปราสาทศพนกหัสดีลิงค์’ ของพระเถระและชนชั้นปกครอง แหล่งผลิต ที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และลำปาง


ลุงอนันต์ บอกว่าในการสร้างปราสาทศพมีการแบ่งหน้าที่ระหว่าง ผู้ชายและผู้หญิง โดยช่างที่ทำโครงสร้างจากไม้ ช่างผู้ประกอบโครงสร้างส่วนใหญ่จะเป็นช่างผู้ชาย ส่วนช่างปิดกระดาษโครงสร้างและงานตกแต่งเป็นงานของผู้หญิงในส่วนของงานที่บ้านนั้น เรื่องของงานต้องลาย(แกะลาย) จะช่วยกันทำ มีบางส่วนประยุกต์เข้ากับยุคสมัยในเรื่องของการติดตั้งที่รวดเร็วและเรียบง่าย โดยใช้เครื่องมือบางอย่าง เช่น ตัดลายใส่ลงในกระดาษ ที่จะติดตกแต่งโครงสร้างเอาไว้ ก่อน แล้วนำไปติดตั้ง ภายหลังการติดตั้งโครงสร้างที่หน้างานศพ ซึ่งรวดเร็วกว่า นั่งติดตกแต่งที่บ้านจนเสร็จแล้วขนส่งไปยังหน้างาน อาจชำรุดเสียหาย
ในเรื่องเชิงพาณิชย์นั้น ลุงอนันต์บอกว่า เป็นทุกยุคทุกสมัยมาแต่โบราณที่ต้องจ้างช่างทำปราสาทเพราะถือเป็นอาชีพพิเศษที่คนทั่วไปทำไม่ได้ยิ่งในสังคมปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องปราสาทยังไม่หายไปไหน แต่ช่างที่จะสืบทอดงานฝีมือก็หายากลงทุกที อาจเป็นเพราะมันไม่ใช่งานที่ได้ค่าตอบแทนมาอย่างง่ายดาย แต่ลุงอนันต์และป้าวรรณ ก็รักและภาคภูมิใจที่จะทำงานนี้ไปจนกว่าจะไม่มีแรงทำไหว ส่วนหนึ่งก็ยังอยากถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่แต่ก็หาคนที่มีความสนใจน้อยเต็มที
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1075 วันที่ 22 - 28 เมษายน 2559)
คือความมหัศจรรย์ของช่างฝีมือ คืองานฝีมือที่งดงามค่ะ
ตอบลบ