วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ระเบิดกฟผ. หวั่นถล่ม ภาพเขียนสี พบใหม่ที่ผาตูบ ชูมรดกท้องถิ่น

จำนวนผู้เข้าชม Hit Web Stats

พบภาพเขียนสีเพิ่มอีกที่ดอยผาตูบ กรมศิลป์และ กฟผ.ร่วมสำรวจเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ยันการทำระเบิดเหมืองไม่กระทบ เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งมรดกท้องถิ่น ขณะที่ชาวบ้านยื่นอุทธรณ์คดีระเบิดเหมือง ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

เมื่อวันที่ 17 .. 59  นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง นายอำเภอแม่เมาะ เป็นประธานการแถลงข่าวชี้แจงกรณีภาพเขียนสีโบราณดอยผาตูบ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเขตประทานบัตรการทำเหมืองของ กฟผ.แม่เมาะ ประมาณ 500 เมตร หลังจากมีข้อกังวลว่าการดำเนินงานของเหมืองแม่เมาะจะมีผลกระทบต่อภาพเขียนสีโบราณดังกล่าว   โดยมีนายบรรพต ธีระวาส  ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ  พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน  และชาวบ้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมรับฟัง
           
นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง นายอำเภอแม่เมาะ กล่าวว่า เนื่องจากการสับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำเหมืองของ กฟผ.แม่เมาะ ที่เกรงว่าจะไปกระทบกับภาพเขียนสีดอยผาตูบ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทราบว่า กฟผ.ได้มีการระมัดระวัง มีการตรวจสอบผลกระทบในหลายด้าน จึงได้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กฟผ.แม่เมาะ  ผู้แทนกรมศิลปากร  ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ที่อยู่ในพื้นที่  เข้ามาร่วมรับฟังข้อเท็จจริง
           
นายบรรพต ธีระวาส ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ  กล่าวว่า กรณีที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย เรื่องแรงสั่นสะเทือนของการระเบิด อาจส่งผลกระทบกับภาพเขียนสีดอยผาตูบและอาจถล่มลงมาได้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมาก จึงขอเรียนให้ทราบว่า การทำงานของ กฟผ.นั้นขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลของรัฐ ทุกขั้นตอนในการดำเนินงานต้องขออนุญาตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม กรมป่าไม้  ฯลฯ   ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องดอยผาตูบ ได้ดำเนินการตรวจสอบและอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่อง  มีหน่วยงานที่ยืนยันชัดเจนว่าการระเบิดหินเหมือง ไม่กระทบกับภาพเขียนสีดังกล่าว
           
นางเกษศิรินทร์ แปงแสน นักวิทยาศาสตร์ 10 กองสิ่งแวดล้อมเหมืองแม่เมาะ ได้กล่าวถึงการดำเนินการหลังจากสำรวจพิสูจน์ภาพเขียนสีดอยผาตูบ เมื่อวันที่ 4 มี.. 56   โดยกรมศิลปากร มีหนังสือแจ้งมายัง กฟผเห็นควรให้มีการกำหนดจุดตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่ภาพเขียนสี และเพิ่มความถี่ในการตรวจวัด 3 เดือนต่อครั้ง พร้อมทั้งให้รายงานผลให้สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน และให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านโบราณคดีที่กำหนดในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และมาตรการเพิ่มเติมภายหลังอย่างเคร่งครัด
           
กรมศิลปากร ยังมีหนังสือแจ้งไปยัง กพรให้ชะลอการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับคำขอประทานบัตรที่ 9/2551 ออกไปก่อนจนกว่าจะมีการชี้แจงว่ามีเทคนิควิธีป้องกันผลกระทบต่อแหล่งภาพเขียนสี และขอสอบถามมาตรการและเทคนิคในการทำเหมืองที่มีอยู่เดิมสามารถป้องกันผลกระทบต่อแหล่งภาพเขียนสี หรือไม่  ทาง กพร.จึงได้เข้ามาตรวจสอบและแจ้งผลว่าได้กำหนดปริมาณการใช้วัตถุระเบิดไม่เกิน 100 kg./จังหวะถ่วง เพื่อควบคุมผลกระทบแรงสั่นสะเทือนต่อโบราณคดีถ้ำช้างเผือกที่อยู่ห่างจากขอบประทานบัตรประมาณ 250 เมตร   อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันผลกระทบต่อภาพเขียนสีดอยผาตูบ กพรได้กำหนดให้มีระยะความปลอดภัยจากการใช้วัตถุระเบิดเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิม โดยกำหนดมาตรการเพิ่มเติมไว้ในเงื่อนไขการอนุญาตประทานบัตรไว้ว่า ในการทำเหมือง กำหนดปริมาณการใช้วัตถุระเบิดที่จุดระเบิดพร้อมกันไม่เกิน 50 kg/ จังหวะถ่วง   และให้ติดตั้งสถานีตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนและแรงอัดอากาศเพิ่มเติม จานวน 1 สถานี โดยมีระยะห่างจากขอบเขตการทาเหมืองไปยังภาพเขียนสีดอยผาตูบประมาณ 300 .
           
นอกจากนี้สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน เข้ามาตรวจสอบเสถียรภาพของแหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีดอยผาตูบ และแหล่งโบราณคดีถ้ำช้างเผือก ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งผลการตรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ..59 พบว่า แหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งยังคงสภาพดีดังเดิม และไม่ปรากฏร่องรอยเสื่อมอันเป็นผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมของเหมือง
           
ทั้งนี้ กฟผ.ยังได้ร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน ดำเนินการโครงการศึกษาแหล่งโบราณคดีในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประจำปี 2557 – 2559  โดยได้ว่าจ้าง หจก.บูรณาวิพัฒน์ ทำการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดี   ล่าสุดได้พบภาพเขียนสีเพิ่มบริเวณใกล้กับภาพเขียนสีดอยผาตูบ 1 เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งได้แจ้งสำนักศิลปากรน่านเข้ามาตรวจสอบ โดยเป็นภาพขีดเขียนเป็นรูปสัตว์ลักษณะเป็นลายเส้น แต่ไม่ชัดเจนเท่าภาพแรก   จากลักษณะของภาพเขียนสีที่พบคาดว่าเป็นการใช้ชีวิตของประจำวันของคนในอดีต เมื่อไปพบเห็นอะไรมาก็จะนำมาวาดไว้ แต่ยังไม่พบภาพที่เขียนเป็นเรื่องราวชัดเจน  หรือพบวัตถุโบราณอื่นๆร่วม จึงไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าภาพมีอายุกี่ปี แต่คาดว่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี
           
ส่วนมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโบราณคดี ตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงาน EIA คำขอประทานบัตรที่ 9/2551 - กฟผสนับสนุนงบประมาณให้แก่กรมศิลปากรเพื่อทาการขุดค้น-ศึกษาเพิ่มเติมแหล่งโบราณคดีถ้ำช้างเผือก หรือการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีอื่นที่มีคุณค่าในเขตอำเภอแม่เมาะ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดพิมพ์รายงานเผยแพร่อันเป็นประโยชน์ต่อทางวิชาการและแก่สาธารณชน   สนับสนุนการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจหรือการอนุรักษ์ พัฒนาแหล่งโบราณสถาน แหล่งศิลปกรรมที่มีคุณค่าบริเวณพื้นที่โครงการ และในเขตพื้นที่อำเภอแม่เมาะภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร  รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง และจัดทาป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายข้อมูลแหล่งโบราณคดีถ้ำช้างเผือก และแหล่งโบราณคดี/โบราณสถานใกล้เคียง โดยประสานงานกับสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน และกรมป่าไม้
           
ขณะที่นายประเสริฐ ตาสืบ ประธานเครือข่ายผู้เสียโอกาสจากการทำเหมืองและโรงไฟฟ้า มีข้อสงสัยว่า กรมศิลปากรมีหน้าที่อย่างไร เมื่อพบภาพเขียนสีทำไมจึงไม่หยุดดำเนินการระเบิดหิน ชาวบ้านต้องการเก็บรักษาไว้ให้เป็นธรรมชาติ เกรงว่าเมื่อมีการระเบิดสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ก็จะหายไปหมด
           
ซึ่งทางตัวแทนกรมศิลปากรกล่าวว่า  กฟผ.ได้มีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่าในพื้นที่การดำเนินงานของ กฟผ.มีโบราณสถานที่สำคัญคืออะไรบ้าง โดยมีภาพเขียนสีดอยผาตูบห่างออกไปประมาณ 500 เมตร จึงขอความมั่นใจจาก กฟผ.ว่ามีมาตรการอย่างไรไม่ให้กระเทือนถึงภาพเขียนสีดังกล่าว กฟผ.จึงได้ว่าจ้างหน่วยงานเข้าว่าวัดแรงสั่นสะเทือน จึงไม่ถึงจุดที่ตั้งของภาพเขียนสี ประกอบกับกรมศิลปากรได้เข้าตรวจสอบประจำทุก 3 เดือน ไม่พบความเสียหายแต่อย่างใด

ด้านนางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ ประธานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ กล่าวว่า  เรื่องที่ชาวบ้านได้ยื่นฟ้อง กฟผ.แม่เมาะ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ระงับการระเบิดและทำลายบริเวณดอยผาช้าง โดยด่วนที่สุด และยุติการกระทำใดๆ อันเป็นการทำลายดอยผาตูบโดยรอบ แต่เมื่อวันที่ 7 ..57 ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว และชาวบ้านได้มีการยื่นอุทธรณ์คดีไปแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างรอคำสั่งศาลว่าจะพิพากษาอย่างไร

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1079 วันที่ 20 - 26 พฤษภาคม 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์