
จำนวนผู้เข้าชม
นานมาแล้วมีเพลงภาษาญี่ปุ่นที่ร้องกันมีชื่อเพลงว่า
'ซูบารุ'
ผมคิดทันทีว่า ทำไมชื่อเหมือนรถญี่ปุ่นเลย
แต่ก็คงจะมีแต่คนอยากรู้อยากเห็นเท่านั้นที่ไปค้นหาว่า ซูบารุ แปลว่าอะไร
ซูบารุ คือ ดาวลูกไก่
ในภาษาญี่ปุ่นครับ ซึ่งฝรั่งบอกว่าเป็นกลุ่มดาว 7 ดวง
ซึ่งผู้ก่อตั้งได้แรงบันดาลใจในการก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ซูบารุ
บริษัทนี้มีชื่อว่า FHI ซึ่งย่อมาจากชื่อเต็มว่า FUJI
HEAVY INDUSTRIES ซึ่งเป็นหนึ่งยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นแบบเดียวกับบริษัท
ซูมิโตโม มารูเบนี บริษัทนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อธุรกิจการขนส่ง และในปี 2556 ได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้ผลิตพาหนะเพื่อการขนส่งอันดับ 2 ของโลก เดิมทีผลิตเครื่องบินแล้วมาผลิตรถยนต์ทีหลัง
เราจะสังเกตว่า ซูบารุ
ห่างหายไปจากประเทศไทยหลายปี แต่ช่วงหลังนี้เริ่มสังเกตเห็น ซูบารุ
ป้ายแดงวิ่งตามถนนกันหนาตาอีกครั้ง จำได้ว่า ซูบารุ นั้นเขามีขาประจำของเขาอยู่
เป็นรถกะป๊อขนาดเล็กกะทัดรัดไว้วิ่งเป้นสองแถว ก็รถชาเหรดเล็กๆ
ที่พวกนักศึกษามหาวิทยาลัยชอบซื้อหามาขับขี่กัน ไม่ก็แม่บ้านซื้อไว้ใช้
แต่ไม่ได้รู้ลึกลงไปว่าแบรนด์นี้เขามีอะไรดีที่ตรงไหน อันที่จริงแฟนๆ ผู้ใช้รถ ซูบารุ
ต่างรู้ดีว่ารถยี่ห้อนี้มีชื่อเสียงตรงการใช้เครื่องยนต์แบบบอกเซอร์ (สูบนอน) ซึ่ง
ซูบารุ ใช้ลักษณะนี้ในรถเครื่องยนต์ขนาดความจุมากกว่า 1.5 ลิตร และยังใช้ระบบขับเคลื่อน 4
ล้อ มาตั้งแต่ปี 2515 และยังนำมาใช้ในรถขนาดกลาง
และเล็ก จนกระทั่งปี 2539 ซูบารุ ใช้การวางเครื่องยนต์ลักษณะนี้เป็นมาตรฐานรถในตลาดสหรัฐอเมริกา
และในปัจจุบัน ซูบารุ ยังผลิตรถเก๋งรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบ เช่น รุ่น
ดับเบิลยูอาร์เอกซ์
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิต
ซูบารุ คือ FUJI HEAVY INDUSTRIES จับมือร่วมทุนกับ TOYOTA MOTOR CORPORATION ซึ่งถือหุ้น
16.5 % ใน FHI บริษัท FHI เมื่อก่อตั้งขึ้นในปี 2458 ได้เริ่มด้วยการตั้งแผนกวิจัยอากาศยานก่อน
โดยวิศวกรที่ชื่อ ชิกุเฮอิ นากาจิมะ ในปี 2475 ได้มีการปรับโครงสร้างใหม่
ได้เกิด NAKAJIMA AIRCRAFT COMPANY ขึ้นมา
ผลิตเครื่องบินให้ญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามก็ปรับเปลี่ยนเป็น
FUJI SANGYO CO., LTD. ปี 2489 เริ่มผลิตรถจักรยานยนต์สกูเตอร์
โดยใช้ชิ้นส่วนเหลือๆ จากเครื่องบิน แล้วอีก 4 ปีต่อมาได้แตกออกเป็น
12 บริษัทย่อยๆ ตามข้อบังคับของกฎหมายญี่ปุ่น
ซึ่งมุ่งควบคุมอิทธิพลของบริษัทขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่ากฎหมาย ZAIBATSU แต่แล้ว 4 ใน 12 บริษัท
รวมทั้งบริษัทที่ผลิตสกูเตอร์ก็ควบรวมกิจการแชสซีส์บ้าง หรือไม่ก็เป็นบริษัท
ทเรดิง พอรวมกันแล้วก็กลายเป็น FHI หรือ FUJI HEAVY
INDUSTRIES ในปัจจุบัน ซีอีโอของ FHI เคนจิ
คิตะ มีวิสัยทัศน์ว่าบริษัทควรจะผลิตรถยนต์ ดังนั้น รถยนต์ของ FHI ภายใต้โคดเนม P-1 จึงถูกผลิตขึ้น
จากนั้นก็หาชื่อจริง ตั้งกันมาเป็นร้อยๆ ชื่อก็ไม่ถูกใจ
จนในที่สุดท่านประธานก็เลยเสนอเองว่าให้ใช้ชื่อ ซูบารุ ซึ่งหมายถึงกลุ่มดาวลูกไก่
ซึ่งอยู่ในหัวใจของคนญี่ปุ่น รถยนต์คันแรก คือ ซูบารุ 1500 ผลิตครั้งแรก
20 คัน เพราะหาชิ้นส่วนยาก จากนั้นก็พัฒนาเรื่อยมา
และมีการนำเข้ามาจำหน่ายในไทยด้วย นิสสัน เข้าซื้อหุ้น 20 % ในบริษัทในสมัยนายกรัฐมนตรี
ซาโตะ หลังจากนั้นก็สลับสับเปลี่ยนโรงงานผลิต และชิ้นส่วนกันสนุกสนาน ปี 2548
TOYOTA MOTOR CORPORATION เข้าซื้อหุ้น FHI 8.7 % จาก เจเนอรัล มอเตอร์ส หลังจากนั้น โตโยต้า ก็ทำสัญญากับ ซูบารุ
เพื่อใช้โรงงานประกอบของ ซูบารุ ใน ลาฟาเยทท์ มลรัฐอินเดียนา เพื่อผลิต โตโยต้า
แคมรี ซึ่ง ซูบารุ ก็ได้เงินจากการขายหุ้นมาผลิตรถให้เราได้ใช้กันต่อครับ
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1083 วันที่ 17 - 23 มิถุนายน 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น