อุบัติเหตุรถตู้
โรงเรียนคุ้มเกล้า สกอลา ย่านมีนบุรี เบรกแตก ทำให้รถพุ่งชนที่กั้นทาง ไฟลุก 11 ชีวิต
ไหม้เกรียมอยู่ในกองเพลิง ริมถนนสายมอเตอร์เวย์ จังหวัดชลบุรี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทำให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง คนที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถตู้เป็นยานพาหนะหลัก
อกสั่นขวัญแขวน
โดยเฉพาะรถโรงเรียน
เหตุรถตู้แปรสภาพเป็นกองเพลิงที่ชลบุรี สะท้านมาถึงรถตู้รับส่งนักเรียนที่ลำปาง
นอกจากมอเตอร์ไซด์
หนังหุ้มเหล็กที่ขึ้นชื่อว่าเป็นยานพาหนะ ที่มีอัตราเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูงแล้ว
การโดยสารรถตู้ที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก หากเกิดอุบัติเหตุก็จะมีโอกาสสูญเสียคนจำนวนมาก
เกิดโศกนาฏกรรมหมู่ ที่หลายกรณียังเป็นภาพหลอนของสังคมไทย เช่น กรณีแพรวา 9 ศพ
รถตู้ดัดแปลงวางตั้งเก้าอี้ไว้เกิน
12 ที่นั่ง ที่มีถึง 90 % กลายเป็นข้อถกเถียงของพ่อแม่
ผู้ปกครองเด็กนักเรียนลำปาง ในวันที่ทุกอย่างยังเรียบร้อยดี ที่นั่งจะเกินไปบ้าง
ผิดแบบไปบ้าง ก็คงไม่คิดไกลเกินเงาตัวเอง จนวันที่ความสูญเสียมาเยือน เหตุผล
ความเศร้าสะเทือนใจ และถ้อยคำประเภท “รู้งี้”ก็จะตามมา
คนขับรถตู้นั้น
ก็จัดเข้ากลุ่มได้กับประเภทคนขับรถบรรทุก คือถ้าขับรถจนเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่ตาย
ก็จะต้องหนีความผิดกันไปตามระเบียบ ซึ่งความจริงไม่เคยมีระเบียบว่าชนแล้วต้องหนี
แต่คนที่เป็นพ่อ
เป็นแม่ ถ้าวันใดต้องสูญเสียลูกเล็กๆไป ด้วยความคะนองมือ คะนองteen ของคนขับ
ย่อมเศร้าโศกเสียใจ และแม้ยังไม่เกิดเหตุก็ต้องให้ปลอดภัยไว้ก่อน
โดยเฉพาะรถตู้สาธารณะ รถตู้รับส่งนักเรียนที่มีสถิติอุบัติเหตุมากขึ้นทุกปี
ผลสำรวจจากโครงการวิจัย
“การประเมินคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยของระบบรถโดยสารสาธารณะ”
ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า
ในช่วงเดือนมกราคม 2557- มิถุนายน 2558 สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถตู้โดยสารสาธารณะสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 41
อีกทั้งยังสร้างความสูญเสียในชีวิตและร่างกายสูงสุดเมื่อเทียบกับรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น
เฉลี่ยมีผู้บาดเจ็บประมาณ 27 รายต่อเดือน และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 9 รายต่อเดือน
เนื่องจากความต้องการของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นมาก
ทำให้จำนวนรถตู้โดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นและเส้นทางการเดินรถก็ขยายทั่วประเทศ
ส่งผลให้จำนวนอุบัติเหตุเพิ่ม
อีกทั้งนโยบายผ่อนปรนของรัฐที่ผ่านมา เช่น
เดิมอนุญาตให้รถตู้ที่จดทะเบียนเป็นรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด 1 คัน เปลี่ยนเป็นรถตู้โดยสารระหว่างจังหวัดได้ 3 คัน
หรือกำหนดให้รถตู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมายด้วยการเดินรถร่วมกับองค์การขนส่งมวลชน
(ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
แต่มาตรการกำกับดูแลรถตู้โดยสารสาธารณะที่มากขึ้นนั้นยังหละหลวม
ขาดกลไกในการประเมินผลมาตรการ และติดตามการบังคับใช้กฎหมาย
ตอกย้ำให้เห็นว่ารัฐทำให้ไม่สามารถควบคุมการเพิ่มปริมาณรถและจัดระเบียบด้านความปลอดภัยได้
จากสถิติพบว่า
รถตู้โดยสารสาธารณะที่จดทะเบียนใหม่เพิ่มจาก 512 คัน ในปี 2549
เป็น 4,560 คัน ในปี 2553 เฉลี่ยขยายตัวร้อยละ 72.8 ต่อปี
เช่นเดียวกับจำนวนรถตู้ทะเบียนสะสมก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงมากเช่นกัน อีกทั้ง
จำนวนรถโดยสารที่จดทะเบียนสะสมในช่วงปี 2550-2557 คิดเป็นร้อยละ
0.98 ต่อปี สูงกว่าจำนวนใบอนุญาตประกอบการที่ร้อยละ 0.3
ต่อปี และยังไม่รวมถึงรถตู้ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นรถตู้สาธารณะ
(ป้ายดำ) ที่ยังให้บริการผู้โดยสารอยู่บนท้องถนน
ถึงวันนี้
รถตู้สาธารณะรูปทรงกล่องยาวๆ ที่ไม่น่าจะเกาะถนนมากนัก หากใช้ความเร็วสูง
ก็ยังเป็นพาหนะขนส่งคนจำนวนมากเป็นหลักมากกว่ารถประเภทอื่น โดยเฉพาะรถนักเรียนซึ่งเกือบ
100 % ใช้รถตู้
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1083 วันที่ 17 - 23 มิถุนายน 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น