หลังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) เปิดตัวแคมเปญสุดเจ๋งอย่าง “12 เมืองต้องห้าม...พลาด”
ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2557 และโหมโปรโมตตลอดปี พ.ศ. 2558 ต่อด้วย “12 เมืองต้องห้าม...พลาด Plus” ในปี พ.ศ. 2559 ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางออกไปสำรวจเมืองเล็ก
ๆ ที่มีแง่มุมงดงามซ่อนอยู่ทั้ง12 เมืองได้อย่างมากมายเกินคาด
นายอนันต์
สีแดง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ เปิดเผยเมื่อครั้งมาบรรยายให้กับโครงการฝึกอบรมผู้นำเที่ยวท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า จังหวัดลำปางของเรานั้น
หลังชูจุดขาย “เมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา”
ก็มีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 1 เลยทีเดียวเมื่อเทียบกับเมืองต้องห้าม...พลาดอีก
11 เมือง จาก 5 ภูมิภาค และยังส่งผลให้
ททท. ตัดสินใจที่จะเปิด ททท. สำนักงานลำปางในเดือนตุลาคมนี้
หลังจากจังหวัดลำปางอยู่ในพื้นที่ดูแลของ ททท. สำนักงานเชียงใหม่มาตลอด
นอกจากนี้
ยังระบุพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในจังหวัดลำปาง
โดยแบ่งเป็นพื้นที่อำเภอเมืองฯ ได้แก่ 1. กิจกรรมนั่งรถม้าชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์+บ้านโบราณ 2. ถนนคนเดินกาดกองต้า+ท่ามะโอ 3. พิพิธภัณฑ์เซรามิก โรงงานผลิตเซรามิก 4. วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม วัดปงสนุก วัดเจดีย์ซาว ฯลฯ
ซึ่งทั้งหมดมีจุดเด่นด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว+Leisure
พื้นที่ตอนกลาง
(อำเภอแม่เมาะ อำเภอเกาะคา และอำเภอห้างฉัตร) ได้แก่ 1. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ 2. พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์
ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา+วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา
3. ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร
โดยทั้งหมดมีจุดเด่นด้านแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเยาวชน+การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Soft Adventure)+การทัศนศึกษาดูงานสำหรับกลุ่ม Corporate
พื้นที่ตอนเหนือ
(อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภอเมืองปาน) ได้แก่ 1. ดอยหนอก+บ้านปงถ้ำ อำเภอวังเหนือ 2. วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์+ไร่ทรัพย์หมื่นแสน อำเภอแจ้ห่ม 3. อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน+บ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน
ซึ่งทั้งหมดมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Hard & S0ft
Adventure)+การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ+การท่องเที่ยววิถีชุมชน (CBT)
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ททท. สำนักงานเชียงใหม่
ยังกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จังหวัดลำปางจะเปิดเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวสู่อาเซียน
โดยเส้นทางที่น่าสนใจก็คือ ลำปาง-แม่สอด-เมียวดี-มะละแหม่ง เพราะจะว่าไปแล้ว
ระยะทางจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปยังเมืองมะละแหม่งของเมียนมาร์ แค่เพียง 180
กิโลเมตรเท่านั้น (แม้จะใช้เวลานั่งรถราว 6-7 ชั่วโมงก็ตาม)
แล้วทำไมต้องไปเมืองมะละแหม่ง อาจเพราะที่นี่คือจุดเริ่มต้นเรื่องราวความรักอันลือลั่นระหว่างมะเมียะกับเจ้าน้อยศุขเกษม
ซึ่งชาวล้านนารู้จักกันดี สถานที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏในตำนานรักก็สามารถตามรอยได้
ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์เซนต์แพทริก
ที่ด้านในเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำที่เจ้าน้อยศุขเกษมเรียนอยู่
หรือเจดีย์ไจ๊ตะหลั่น ซึ่งทั้งคู่มาสาบานรักต่อกัน นอกจากนี้
ห่างออกไปจากเมืองมะละแหม่งเพียง 2 ชั่วโมง
นักท่องเที่ยวยังสามารถไปกราบสักการะพระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งนับเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสูงสุดของชาวเมียนมาร์ได้อย่างสะดวก
นึก
ๆ ดูแล้วก็อยากขอบคุณเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ทำให้เมืองลำปางเป็นแบบนี้ บางคนบอกเป็นแค่เมืองผ่าน
บางคนว่าไม่เห็นมีอะไร ความเจริญจะมา ๆ แต่ก็กลับแฉลบไปเมืองอื่นเสียนี่เมืองของเราจึงราวกับว่า
เข็มนาฬิกาถูกหยุดไว้ ซ้ำร้ายยังถูกหาว่าต้องคำสาปที่ไหนได้ นี่ล่ะคือเสน่ห์
และทำให้ยอดนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองลำปางเมื่อปีที่ผ่านมา พุ่งสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
................
*รบกวนทำตารางสถิติตามที่แนบตัวอย่างมาให้ค่ะ*
สถิติการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
ปี
พ.ศ. จำนวนนักท่องเที่ยว ชาวไทย ต่างประเทศ รวม (คน) เปลี่ยนแปลง รายได้ (ล้านบาท)
2555
643,256 76,352 719,608 – 2,129.68
2556
687,412 74,411 761,823 5.87% 2,345.04
2557
727,765 76,396 804,161 5.56% 2,504.90
2558
780,159 78,924 859,083 6.83% 2,805.14
วันพักเฉลี่ย
2.33
2.70 2.36 วัน
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย
1,739.78
2,307.91 1,798.08 บาท / คน / วัน(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1085 วันที่ 1 - 7 กรกฎาคม 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น