ก่อนที่จะวิสัชนาเรื่องวงเวียน
ลองเปิดดูกฎหมายจราจรว่าด้วยการใช้วงเวียนกันก่อน
เขาบอกว่าเมื่อผู้ขับขี่รถมาถึงทางร่วมทางแยก
ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก
ผู้ขับขี่ต้องให้รถทางร่วมทางแยก นั้นผ่านไปก่อน ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน
และไม่รออยู่ในทางร่วมทางแยก
ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนไปผ่านไปก่อน
เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่าน
ทางเดิน รถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับขี่รถในทางเอกมีสิทธิขับผ่านไปก่อน
ทางเดินรถทางเอก ได้แก่
ทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศ และติดตั้งเครื่อง หมายจราจร
แสดงว่าเป็นทางเดินรถทางออกหรือป้าย "หยุด"
อยู่ที่ริมทางร่วมทางแยกนั้นให้ถือว่าเป็นทางเดิน
รถทางโททางเดินรถอื่นนอกจากทางเดินรถทางเอก ตามวรรคหนึ่งถือว่าเป็นทาง เดินรถ ทางโท
ในกรณีที่วงเวียนใดได้ติดตั้งสัญญาณจราจร
ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม สัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรนั้น
ถ้าไม่มีสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรตามวรรคหนึ่ง
เมื่อผู้ขับขี่รถมาถึงวงเวียนต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียน
ทางด้านขวาของคนขับผ่านไปก่อน ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรเห็นสมควร
เพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรจะต้องใช้สัญญาณ
จราจรเป็นอย่างอื่นแล้วนอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงาน เจ้าหน้าที่กำหนดให้
แปลความสั้นๆทั้งหมดนี้ได้ว่า
ใครมาถึงวงเวียนก่อนไปก่อน
มีงานวิจัยด้านการจราจรกล่าวไว้ว่า วงเวียนเป็นระบบการจราจรที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนเส้นทาง
ทั้งปลอดภัยกว่า และง่ายต่อการดูแลรักษา ไปจนถึงยังช่วยลดมลภาวะจากการจราจรให้รถไม่ติดขัดและสามารถคล่องตัวได้ดี
เป็นระบบจราจรสากลที่ไม่ใช้ไฟแดง ที่ใช้หลักการไหลเป็นวงกลม
“ให้รถในวงเวียนไปก่อน” ทั่วโลกก็ใช้หลักการเดียวกัน
แต่ดูเหมือนว่าที่เมืองลำปาง
จะกลายเป็น “ให้รถในวงเวียน...รอ...ไปก่อน เสียมากกว่า”
เพราะเท่าที่สังเกตดู จะเห็นได้ว่าวงเวียนหอนาฬิกา
ที่ข่วงเมืองนครลำปาง วงเวียนยอดฮิตที่ผ่านเส้นนั้นทีไร ดูจะเป็นวงเวียนวัดใจเข้าไปทุกวัน
ปัญหาที่เจอกันเป็นประจำที่วงเวียนหอนาฬิกานี้คือ
เวลาที่รถมาจ๊ะเอ๋ พร้อมๆกัน ซึ่งตามหลักการแล้วเราก็ควรปล่อยให้รถทางขวามือเราไปก่อน
แต่นั่นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่ในอุดมคติ เพราะในความเป็นจริงแล้วรถยนต์ มอเตอร์ไซด์หลายคันไม่ได้สนใจที่จะดูป้ายคำสั่งเลย
สิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเราคือรถทางโท
(นอกวงเวียน) พุ่งตรงมาด้วยความเร็วแบบไม่มีทีท่าว่าจะชะลอความเร็วเพื่อให้รถในวงเวียนเคลื่อนตัวออกไป
ทำให้หลายครั้งที่รถทางเอก(ในวงเวียน)ต้องหยุดเพื่อให้รถที่พุ่งตัวมานั้นไปก่อน ทำให้รถที่อยู่ในวงเวียนก็ติดเป็นหางว่าว
(ไม่อยากนึกถึงสภาพตอนเวลาเลิกเรียน)
และด้วยความที่ไม่ยอมให้รถในวงเวียนไปก่อนตามหลักสากลที่ทุกคนเข้าใจ
จึงไม่แปลกที่จะเกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง เพราะรถในวงเวียงต่างเข้าใจว่าควรขับออกไปได้
ดังนั้นจะเกิดรถชนกันตูมตามที่วงเวียนก็ไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายได้
การรณรงค์เรื่องการรักษากฎจราจรจึงเป็นสิ่งที่จะทำให้วงเวียนไม่ใช่เรื่องน่าวิงเวียนหรืองุนงงสงสัยอีกต่อไป
หากทุกคนร่วมใจกันปฏิบัติตามกฎจราจร เพิ่มน้ำใจบนท้องถนนกันให้มากๆ ปัญญาวงเวียนที่วนเวียนจนรถชนกันโครมครามคงหายไป
หลายคนเรียกร้องให้นำสัญญาณไฟจราจรมาใช้เหมือนเมื่อสมัยสิบกว่าปีที่ผ่านมา
เราลองมาคิดถูกว่าหากบริเวณหอนาฬิกา กลับมาใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรเหมือนเมื่อก่อน
หากจราจรจะติดขัดเพียงใด ยิ่งโดยเฉพาะช่วงเวลาโรงเรียนเลิก เพราะเส้นถนนนั้นเชื่อมต่อ
หลายโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนเทศบาล 4 ประชาวิทย์ อัสสัมชัญ อรุโณทัย
มัธยมวิทยา และยังไม่นับโรงเรียนอื่นๆที่รถรับส่ง
รถผู้ปกครองที่มารับลูกๆหลังเลิกเรียน
แล้วถ้าฝนตกอีก รถจะติดหนักขนาดไหน
บางทีเราอาจต้องมาพิจารณากันบ้างว่าสิ่งที่หายไป
คือ “สัญญาณไฟจราจร” หรือ “น้ำใจและวินัย”
การใช้รถ ใช้ถนน ที่สาบสูญไปจากการใช้รถใช้ถนนเมืองลำปางกันแน่
นี่ยังไม่นับการขับขี่ยวดยานพาหนะกันแบบตามใจฉัน
ใครใคร่จอดตรงไหนเมื่อไหร่ ก็จอดกันตามสบาย บริเวณที่มีป้ายห้ามจอด
ก็จอดกันหน้าตาเฉย ฟุตบาทที่ทาสีขาวแดงที่แปลว่าห้ามจอดก็จอดกันกระจาย
ถนนทางโค้งที่ไม่ควรจอดก็ยังเห็นรถจอดกันแบบไม่เกรงกลัวอันตรายใดๆ
เพราะทำตามใจฉัน คือลำปางแท้ๆ
คนมาถึงวงเวียนก่อน จึงต้องรอให้คนมาทีหลังไปก่อน
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1092 วันที่ 19 - 25 สิงหาคม 2559)
หลังจากเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง หาก จนท. จารลงคะแนนในใบขับขี่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ชาติ คิดว่าอีกหน่อยไม่เกินชาตินี้ มันจะดีขึ้นเองครับ
ตอบลบ