
เพราะประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี จะลดลงวันละเกือบ 1 % และในบางจุดอาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้ ถ้าต้องการรักษาแบตเตอรีที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน (หมายถึงจอดเกิน 1 เดือนขึ้นไป) ให้ยังมีประจุไฟเหลืออยู่ ต้องปลดสายไฟออกจากขั้วทั้งสอง ทั้งบวกและลบ แล้วเช็ดส่วนบนของแบตเตอรี และโคนขั้วให้สะอาด เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วผ่านความชื้นของเปลือกแบตเตอรี
ใครที่มีรถหลายคันแล้วไม่ค่อยได้ใช้
คงเข้าใจดีนะครับว่า ถ้าจอดรถเป็นเวลานาน แล้วต้องการสตาร์ทเครื่องยนต์
จะรู้สึกเหมือนว่าแรงสตาร์ทจากแบตเตอรีไม่พอ ทั้งๆ ที่เพิ่งเปลี่ยนมาไม่ถึงปี
ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก ระบบไฟฟ้าในรถของเรา
มีโอกาสที่กระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้ในบางตำแหน่ง และถึงแม้ไม่มีตำแหน่งไหนรั่ว
แต่ถ้าไม่ได้รับการประจุไฟฟ้าจากอัลเตอร์เนเตอร์เข้าแบตเตอรี
ประจุไฟฟ้าก็ต้องลดลงวันละเกือบ 1
% อยู่แล้วครับ (อุณหภูมิภายนอกไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส)
แต่ไม่ได้หมายความว่า หมดเกลี้ยงภายใน 100 วันนะครับ หมายถึง
ความจุในวันรุ่งขึ้นจะเหลือราว 99 % ของวันนี้
ดังนั้น
ถ้าต้องการรักษาแบเตตอรีที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน (เกิน 1 เดือนขึ้นไป)
ให้ยังมีประจุแบตเตอรีเหลืออยู่ อย่าปล่อยแบตเตอรีทิ้งไว้ โดยขั้วทั้ง 2 (บวกและลบ) ต่ออยู่กับสายไฟของรถ ต้องปลดสายไฟออกจากขั้วทั้ง 2 แล้วเช็ดส่วนบนของแบตเตอรี รวมทั้งโคนขั้วให้สะอาด
เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วผ่านความชื้นของเปลือกแบตเตอรี ถ้าต้องจอดรถตากแดด
หรือมีอุณหภูมิรอบข้างสูง ให้ยกแบตเตอรีออกมาเก็บไว้ในที่เย็นที่สุดเท่าที่จะหาได้ครับ
เพราะความร้อนจะทำให้ประจุของแบทเตอรีลดลงอย่างเร็ว แม้จะไม่ได้ใช้งาน
ถ้าอยากรู้ว่าหลังจาก 15 วัน
จะเหลือความจุกี่เปอร์เซนต์ของวันนี้ ก็เอา 0.99 คูณกัน 15
ครั้ง หรือยกกำลัง 16 แล้วคูณด้วย 100 ก็จะได้ราวๆ 0.85 จากนั้นคูณด้วย 100 ก็จะได้ 85% ถ้าเก็บในที่ร้อน และชื้นกว่า
ก็จะเหลือน้อยกว่านี้ครับ
ฉะนั้น
ที่ซึ่งเหมาะสำหรับเก็บแบทเตอรีที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน คือ ที่เย็น แห้ง และสะอาด
คือ ไม่มีฝุ่นครับ ที่สำคัญห้ามปล่อยแบตเตอรีไว้ในสภาพที่ไม่มีประจุไฟฟ้า
หรือมีน้อยมาก เพราะจะเกิดซัลเฟทจับแน่นที่แผ่นตะกั่ว
แบตเตอรีที่ถูกใช้จนหมดเกลี้ยง หรือเกือบหมด เช่น ลืมปิดไฟส่องสว่าง หรือวิทยุ
หรือเครื่องยนต์มีปัญหา สตาร์ทจนประจุเกือบหมด ถ้าไม่มีเครื่องอัดไฟเอง
ก็ต้องรีบถอดส่งร้านแบตเตอรี เพื่ออัดไฟโดยเร็วที่สุดครับ
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1090 วันที่ 5 - 11 สิงหาคม 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น