มาวันนี้ มีบางคนพูดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นราชาแห่งราชันย์ คือเป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่เหมือนพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลก ด้วยพระราชปณิธาน ที่เคยปรากฏแก่ปวงอาณาประชาราษฎร์ว่า
“ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้
คือการที่ได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง”
แต่หากย้อนความทรงจำไปเมื่อครั้งที่ยังเด็กเมื่อราว 30 ปีก่อน
ภาพเหล่านี้ไม่เคยปรากฏขึ้นในใจเลย
สมัยที่ยังเป็นเด็กตัวเล็กๆเล่นขายของ
เล่นตี่จับ ตาม สมัยนั้นความเป็นอยู่ของคนไทยในต่างจังหวัดดีขึ้น ความเป็นอยู่ของคนไทยชนเผ่าต่างๆก็มีโครงการในพระราชดำรัสของ
ในหลวง รัชกาลที่9
มากมายที่ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวเขาดีขึ้นโดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องปลูกดอกป๊อบปี้ต้นกำเนิดฝิ่น ทำไร่เลื่อนลอยซึ่งเป็นการตัดไม้ทำลายป่า
จำได้ว่าเมื่อครั้งที่ยังเด็กไม่รู้ประสาอะไรนั้น
ความสนุกที่เด็กสนใจคงไม่พ้นเรื่องการ์ตูนซึ่งสมัยก่อนการ์ตูนจะออกอากาศช่วงหลังข่าวภาคค่ำ
ดังนั้นหลังจากทานข้าวเย็นกับที่บ้านเสร็จก็เป็นเวลาหน้าจอ (สมัยก่อนนั้นไม่มีรายการทีวีมากช่องเท่าทุกวันนี้)
รอดูการ์ตูนก่อนไปนอน ซึ่งในตอนนั้นเวลาสองทุ่มจะมีข่าวในพระราชสำนัก ซึ่งเด็กอย่างเรารู้สึกอยากให้ข่าวจบเร็วๆ
อีกทั้งเวลามีถ่ายสดรายการงานพระราชพิธีที่เปิดช่องไหนก็จะเหมือนกันไปหมด
ทำให้เด็กก็เบื่อก็เซ็ง ในขณะที่ผู้ใหญ่รอบๆตัวล้วนแต่นั่งหน้าจอดูพระราชพิธี หรือไม่ก็เปิดทีวีฟังเมื่อเวลาในหลวงทรงมีพระราชดำรัส
ซึ่งทุกๆวันที่ 4
ธันวาคม ของทุกปี
ท่านจะทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ที่จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าและจะมีการถ่ายทอดสดให้คนไทยทั้งประเทศได้รับฟัง
ซึ่งผู้ใหญ่ที่จะรอฟังว่าปีนี้ท่านจะรับสั่งเรื่องอะไร และในแต่ละปีในหลวงท่านจะทรงประดิษฐ์
ส.ค.ส. พระราชทานให้พี่น้องชาวไทยมาตั้งแต่ปี 2530 และนี่คือสิ่งที่คนไทยเห็นมาโดยตลอด
และหลายคนอาจเสียใจที่ตอนที่ท่านยังอยู่ทำไมเราถึงไม่ตั้งใจฟังในสิ่งที่ท่านตรัสปกกหก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีทันสมัย
ข้อมูลข่าวสาร คลิปบันทึกภาพ เหตุการณ์การถูกอัพโหลดเข้าสู่คลังข้อมูลบนโลกอินเทอร์เนต
ยิ่งทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลว่าตลอดเวลา 70 ปี ที่ทรงครองราชย์ ได้มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เพื่อคนไทยมากมายจริงๆ
ไม่ว่าจะเป็น
มูลนิธิชัยพัฒนา ก่อตั้งเมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้
มูลนิธิโครงการหลวง
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา
เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2504 มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน เพื่อศึกษา ทดลองและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่าง
ๆ เช่น การปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิล และอื่น ๆ อีกมากมาย
โครงการแก้มลิง ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย หลังประเทศไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี
2538 โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆในกรุงเทพมหานคร
เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป
โครงการฝนหลวง
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อแก้ปัญหาเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร
โครงการแกล้งดิน
เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด
จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
กังหันชัยพัฒนา
สร้างต้นแบบได้ครั้งแรกในปีพ.ศ.2532 เป็นกังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมออกซิเจนเข้าไปในน้ำ
พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน
เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระองค์เอง
พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการและพลเรือน ในช่วงระหว่าง
พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงทำเพื่อคนไทยทั้งประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดี รู้จักความพอเพียง จนมาวันนี้
วันที่คนไทยทั้งประเทศต่างหลั่งน้ำตาให้กับการสูญเสียครั้งใหญ่หลวง โดยที่คนไทยมากมาย
แม้แต่เด็กรุ่นใหม่ที่อาจไม่ได้เห็นภาพสมัยที่ท่านเสด็จพระราชดำเนินไปตามที่ทุรกันดารต่างๆทั่วประเทศไทย
แต่ภาพความทรงจำผ่านสื่อทุกช่องทาง เราจะเห็นภาพที่พระราชาเดินเข้าหาประชาชน ในพระหัตถ์จะทรงถือแผ่นที่ขนาดใหญ่ด้วยพระองค์เอง
ทรงงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุดแม้ในวันที่ทรงประชวร ทำให้คนไทยรู้สึกโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์ที่เป็นห่วงทุกข์สุขของประชาชนขนาดนี้
ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่
2 ฉบับที่ผ่านมาของลานนาโพสต์ ได้จัดทำปกพิเศษ
โดยรวบรวมเรื่องราวและภาพที่ในหลวง รัชกาลที่9 ได้เสด็จมาจังหวัดลำปาง เพราะที่แม้ในบางพื้นที่คนลำปางยังไม่เคยได้ไป
แต่ในหลวงท่านทรงเสด็จไป ลานนาโพสต์ได้ตีพิมพ์ภาพในหลวงเมื่อครั้งเสด็จมาประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆที่ลำปาง
21 ครั้ง เพื่อให้คนลำปางได้มีภาพพระองค์บนผืนดินลำปาง
และนี่เป็นส่วนหนึ่งที่หนังสือพิมพ์บ้านนอกฉบับเล็กๆฉบับนิ้
จะเป็นตัวแทนของคนลำปาง ในการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณโดยเฉพาะกับคนลำปาง
อย่างหาที่สุดประมาณมิได้
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1103 วันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น