วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

เดินหน้าระยะที่ 2 "ศูนย์กลางโลจิสติกส์"เกาะคา

จำนวนผู้เข้าชม Hit Web Stats

วันที่ 24 ม.ค.2560 จังหวัดลำปาง ร่วมกับ ที่ว่าการอำเภอเกาะคา และบริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด เปิดพื้นที่จัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทำการเก็บข้อมูลรวบรวมรายละเอียดข้อเสนอแนะประเด็นปัญหาด้านต่างๆ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาออกแบบพัฒนาพื้นที่ชุมชนอำเภอเกาะคา ตามโครงการ "ศึกษาและออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค รองรับการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางถนนของภาคเหนือตอนบน" ครั้งที่ 1  ณ ห้องประชุมศาลาประชาคม ที่ว่าการอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีนายวุฒิชัย เสาวโกมุท รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็น และผู้แทนของหน่วยงานองค์กรทุก และประชาชนในเขตพื้นที่ กว่า100 คน เข้าร่วมประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมระดมความคิดเห็นของหน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดลำปางที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาพื้นที่ชุมชนอำเภอเกาะคาให้เป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์แสดงความเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับการการออกแบบจัดทำระบบโครงสร้างพื้นฐาน เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดวางผังเมืองพื้นที่ และเป็นข้อมูลให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนที่จะมาลงทุนสร้างศูนย์กลางกระจายสินค้าในพื้นที่ดังกล่าว

โดยบริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด ในฐานะที่ปรึกษาออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง ได้นำเสนอรายละเอียดในภาพรวม ซึ่งมีแนวทางจะดำเนินการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคตามโครงการฯ ดังกล่าว บนพื้นที่ราชพัสดุ บริเวณด้านหลังศูนย์แสดงอละจำหน่ายสินค้าหัตถอุตสาหกรรม เซรามิค ปั้มน้ำมันปตท. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ยาวต่อเนื่องถึงบริเวณพื้นที่ด้านหลังติดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง รวมเป็นบริเวณเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 1,126 ไร่ และจะเริ่มทำในพื้นที่แรกประมาณ 500 ไร่ ซึ่งเป็นเขตท้องที่ตำบลเกาะคา และตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

โดยที่ผ่านมามีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยทีมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เป็นโครงการศึกษาระยะที่ 2 คือ การศึกษาพื้นที่เบื้องต้น เพื่อออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน  ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน 7 อย่าง ประกอบด้วย การก่อสร้างระบบถนนภายนอกโดยรอบโครงการเพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์, การก่อสร้างระบบไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ, การก่อสร้างปรับปรุงพื้นที่ภายในที่ราชพัสดุให้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์, การก่อสร้างระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม, การก่อสร้างระบบประปา, ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบรวบรวมคัดแยกและกำจัดขยะมูลฝอย

การประชุมครั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ความกังวลใจเรื่องความปลอดภัยในการจราจร และปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม ที่จะเกิดขึ้นตามมาจากรถบรรทุกสินค้า ที่จะมีการวิ่งเข้า-ออกจำนวนมากการจัดการขยะ เนื่องจากที่ผ่านมา เกาะคามีปัญหาเรื่องแหล่งกำจัดขยะไม่เพียงพออยู่แล้ว อยากให้มีการออกแบบพื้นที่สีเขียง คูน้ำ ศูนย์กำจัดขยะภายในโครงการ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ เตรียมการแก้ปัญหา ที่ดินทำกินของชาวนาที่เช่าที่ราชพัสดุบริเวณดังกล่าว จะย้ายออกจากพื้นที่อย่างไรไม่ให้เดือดร้อน ในขณะเดียวกัน ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชน เกี่ยวกับโครงการศึกษาในชุดแรก มีการเปิดเผยข้อสรุปรายงานโครงการต่อสาธารณะหรือยัง และมีการเปิดรับรับฟังความคิดเห็นในเชิงประชาพิจารณ์กับประชาชนในพื้นที่หรือไม่ เนื่องจาก การสอบถามความเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นระยะที่ 2 ของโครงการชาวบ้านอาจมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการออกความเห็น ทั้งนี้ มีนักวิชาการที่ร่วมสัมมนารายหนึ่งระบุว่าได้ทำไปแล้วผู้สื่อข่าวต้องไปดูเอกสารซึ่งมีการแต่ บริษัทที่ปรึกษาทางบริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด ระบุว่า ยังไม่มีการทำประชาพิจารณ์ เนื่องจากเป็นโครงการที่อยู่ในขึ้นศึกษาและไม่เป็นโครงการที่ได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ต้องทำประชาพิจารณ์ อย่างไรก็ตามทางบริษัทที่ปรึกษาฯจะนำข้อมูลในการศึกษาชุดแรกมานำเสนอในการขอความคิดเห็นครั้งต่อไป

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1114 วันที่  27 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2560 )
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์