จำนวนผู้เข้าชม
สมเด็จพระเทพฯ
เสด็จทรงปล่อยช้างคืนสู่ป่า ดอยผาเมือง อ.ห้างฉัตร จำนวน 8
เชือก
พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าโครงการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มโรงเรียนพระปริยธรรม ชาวลำปางปลาบปลื้มร่วมรับเสด็จ
เมื่อวันที่
26 ม.ค.60 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดลำปาง ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง
อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เพื่อทรงปล่อยช้างโครงการคืนช้างสู่ป่า เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
7 รอบ 12 ส.ค. 59
เวลาประมาณ
13.40 น. เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งถึงสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราวสถาบันคชบาลแห่งชาติ
ในพระอุปถัมภ์ฯ อ.ห้างฉัตร โดยมี ดร.สุเมธ
ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ นายสุวัฒน์ พรหมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
นำคณะข้าราชการ และประชาชน เฝ้ารับเสด็จ
จากนั้นทรงทำพิธีปล่อยช้างสู่ธรรมชาติ จำนวน 8 เชือก ทรงพระสุหร่ายและพระราชทานอาหารช้างทั้ง 8
เชือกก่อนทรงปล่อยคืนสู่ป่าธรรมชาติ ทรงกดปุ่มปล่อยสัตว์ป่า
เป็นสัตว์ปีก จำนวน 62 ตัว
จากนั้น
เวลา 15.00 น. ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จไปยังวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
ทอดพระเนตรรายงานผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริฯ ของกลุ่มโรงเรียนพระปริยธรรม
แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำปาง จำนวน 8 โรงเรียน ทอดพระเนตรกิจกรรมการใช้ห้องสมุด
การจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ทอดพระเนตรสาธิตสื่อการสอนภาษาบาลีสามเณรโรงเรียนต้นแบบ
และทอดพระเนตรกิจกรรมของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำปาง และทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรที่มารับเสด็จฯ
สำหรับ
โครงการ “คืนช้างสู่ธรรมชาติ” ได้จัดทำขึ้น
เพื่อสนองพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ที่ทรงมีความห่วงใยต่อช้าง
และทรงมีพระราชประสงค์ในการที่จะอนุรักษ์ช้างซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์
โดยทางมูลนิธิฯ ได้เริ่มดำเนินงานโครงการฯดังกล่าว มาตั้งแต่ปี 2540
ภายใต้แนวความคิด “ช้างเลี้ยงก็คือช้างป่า” โดยได้มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน มูลนิธิฯ
ได้มีการปล่อยช้างกลับคืนสู่ป่าไปแล้วรวมมากกว่า 100 เชือก
ซึ่งช้างที่นำมาปล่อยนั้น ทางมูลนิธิฯ ได้จัดหาช้างเลี้ยงที่มีอายุไม่มาก
มีสุขภาพดี มาทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนนำกลับไปปล่อยคืนสู่ป่าธรรมชาติ
ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าว ถือเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ช้างเลี้ยง
ช่วยลดจำนวนช้างเร่ร่อน และช่วยฟื้นฟูประชากรช้างไทยให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1114 วันที่ 27 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2560 )
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น