จำนวนผู้เข้าชม

สุดสลด “บุญเหลือ” เสือป่าห้วยขาแข้งจาก อ.เถิน ถูกยิงบาดเจ็บสาหัสโดนกระสุนฝังทั่วร่าง เสียชีวิตลงแล้ว บรรดานักอนุรักษ์ต่างแสดงความเสียใจ ลือพบเสือที่เถินอีกตัว
สุดสลด “บุญเหลือ” เสือป่าห้วยขาแข้งจาก อ.เถิน ถูกยิงบาดเจ็บสาหัสโดนกระสุนฝังทั่วร่าง เสียชีวิตลงแล้ว บรรดานักอนุรักษ์ต่างแสดงความเสียใจ ลือพบเสือที่เถินอีกตัว
หลังจากเมื่อวันที่
9 ม.ค.60 ที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานได้ร่วมมือกันยิงยาสลบ เพื่อจับเสือโคร่งเพศผู้ขนาดใหญ่
น้ำหนักตัว 200 กิโลกรัม ลำตัวยาว 1.6
เมตร ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงเข้าอยู่ในพื้นที่ ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง
นานหลายเดือนแล้ว และพบว่าเป็นเสือที่มาจากป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี รหัส HKT178
จากนั้นได้เคลื่อนย้ายเสือไปรักษาตัวที่ศูนย์อนุรักษ์ห้วยยางปาน อ.ฮอด
จ.เชียงใหม่ ต่อมาทางทีมวิจัยเสือ Thailand
Tiger Project ได้ตั้งชื่อให้เสือเพศผู้ตัวนี้ว่า “บุญเหลือ”
ระหว่างการรักษาอยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์ห้วยยางปาน
พบว่าเสือโคร่งมีอาการหนัก เนื่องจากเริ่มมีการอักเสบของแผลที่บริเวณสะโพกด้านหลัง
และมีการเอ็กซเรย์ พบเสือตัวนี้มีกระสุนลูกซองกระจายในลำตัวหลายจุดรวม 7 เม็ด
โดยกระสุนเม็ดหนึ่งไปโดนขาหน้า แต่กระดูกไม่หัก
ทางสัตวแพทย์ได้ประเมินอาการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเสือโคร่ง
เห็นว่าควรส่งตัวเสือเข้ารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ไนท์ซาฟารี จ.เชียงใหม่ เนื่องจากมีเครื่องมือที่ครบครันกว่า แต่เสือก็ได้เสียชีวิตลงขณะทำการเคลื่อนย้ายเมื่อช่วงเย็นวันที่
17 ม.ค.ที่ผ่านมา
หลังจากทางข่าวทางกลุ่มนักอนุรักษ์
และทีมวิจัย ต่างโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียร์แสดงความเสียใจ โดย
ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้นำภาพเจ้าบุญเหลือที่ถ่ายได้ในป่าขึ้นทางเฟสบุ๊ก
และโพสต์ข้อความว่า “ดีใจไม่กี่วัน
ได้รับข่าวรู้สึกเศร้า คิดถึงครับ”
พร้อมกันนี้ได้มีคนเข้ามาแสดงความเสียใจจำนวนมาก พร้อมกับให้กำลังใจทีมวิจัย
ให้ทำหน้าที่ในการศึกษาวิถีชีวิตของเสือโคร่งต่อไป
ขณะที่
ดร.อัจฉรา ซิ้มเจริญ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสือ ได้โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว
กรณีของเสือบุญเหลือด้วยว่า ถอดบทเรียนจากจุดจบเสือโคร่งป่าเพศผู้ บุญเหลือHKT178
ขนาดพื้นที่หากินเสือโคร่งเพศเมียขึ้นกับปริมาณเหยื่อ
ส่วนเพศผู้นั้นจะใช้พื้นที่ร่วมกับตัวเมีย2-4ตัว
ขึ้นกับศักยภาพเฉพาะของเสือโคร่งผู้แต่ละตัว แต่จะไม่ยอมให้ตัวผู้อื่นหรือ แม้แต่ลูกเพศผู้ใช้พื้นที่ร่วมด้วย
นั่นเป็นสาเหตุทีทำให้ตัวผู้ต้องเดินทางไกล และมีความเสี่ยงตลอดเวลาที่หาบ้านอยู่ไม่ได้
เสือบุญเหลือเดินทางไกล ผ่านป่าอนุรักษ์หลายแห่ง
แต่ทำไมไม่สามารถยึดพื้นที่เพื่อหากินและสืบต่อพันธุ์ได้ มันจะไม่ตายเปล่าถ้าเราเรียนรู้ ว่า
สาเหตุแห่งความตายคืออะไร สิ่งหนึ่งที่บุญเหลือบอกคนไทย คือ ในป่าไทยยังมีเสือโคร่งอยู่จริงๆ
ทั้งนี้
ได้มีข่าวลือว่าพบเสือในพื้นที่ อ.เถิน อีก 1 ตัว หลังจากเมื่อวันที่ 16 ม.ค.60 ที่ผ่านมา
ได้พบซากลูกวัวคาดว่าถูกสัตว์แทะกิน บริเวณป่าช้า บ้านท่าอุดม บ้านท่ามะเกว๋น ต
แม่ปะ อ เถิน จ ลำปาง โดยมีรอยเขี้ยวของสัตว์ขนาดใหญ่กัดกิน บริเวณ คอ และขาด้านหน้า ซึ่งยังไม่ยืนยันว่าเป็นสัตว์ประเภทใด ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ ทางอุทยานแห่งชาติดอยจง
อ.สบปราบ จ.ลำปาง ได้มีการประกาศแจ้งเตือน
ให้ชาวบ้านรอบแนวเขตอุทยานฯดอยจงเฝ้าระวัง
เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากชาวบ้าน. บ้านนาไม้แดง หมู่ที่6 ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ ว่าได้พบรอยเท้าของเสือโคร่ง
และได้ยินเสียงคำรามจากป่านาเคง
ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบแต่ไม่พบร่องรอยแต่อย่างใด
ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ กล่าวในเรื่องนี้ว่า
ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าจะมีเสืออีกตัวอยู่ในพื้นที่ ต้องเช็ครายละเอียดให้ชัดเจนก่อน
เพราะปัจจุบันนี้มีข่าวลือมาตลอด
ตามประสบการณ์ของตนจะต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน สิ่งที่บอกได้ชัดเจนคือรอยเท้า
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1113 วันที่ 20 - 26 มกราคม 2560 )
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น