นายก อบต.บ้านดง จี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวนอีก 160 ไร่ เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ รองรับหมู่บ้านอพยพ ส่วนพื้นที่เดิมที่อนุมัติแล้ว 1,387 ไร่ ซึ่งกฟผ.ขอใช้ 30 ปี ขอเพิกถอนให้เป็นป่าเสื่อมโทรม เพื่อออกเอกสารสิทธิ์ทำกินให้ชาวบ้าน
หลังจากเมื่อวันที่
15 มิ.ย.59 นายสมชัย มาเสถียร
รองอธิบดีกรมป่าไม้
ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ มีหนังสือแจ้งมายังผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
เรื่องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขออนุญาตเข้าทำประโยชน์
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่เมาะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดสรรอพยพราษฎร หมู่ที่ 1 ,2,7 และ 8 ต.บ้านดง ตามมติ ครม.
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2556 เนื้อที่ 1,387 ไร่ ท้องที่ ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมได้โปรดพิจารณาอนุมัติ
เมื่อวันที่ 30 พ.ค.59
ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่เมาะ ดังกล่าว
มีกำหนดระยะเวลา 30 ปี
นายศุกร์
ไทยธนสุกานต์ นายก อบต.บ้านดง กล่าวถึงความคืบหน้าว่า พื้นที่รองรับการอพยพของ ต.บ้านดง
ได้รับการอนุมัติแล้ว 1,387 ไร่ ขณะนี้ อ.อ.ป. ได้เข้าดำเนินการตัดต้นไม้ออก วันละประมาณ 300 ต้น ซึ่งไม้ทั้งหมดน่าจะมีประมาณ
1 หมื่นต้น
ใช้เวลาดำเนินการ 5 เดือน จึงจะมาจัดสรรแนวเขต
ซึ่งได้มีการกำหนดพื้นที่แนวเขตไว้ทั้งหมด
รวมทั้งแผนผังระบบสาธารณูปโภคก็จัดทำไว้เรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้ยังมีพื้นที่ป่าสงวน
ที่กันไว้สำหรับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่เฟือง จำนวน 160
ไร่ ที่จะสร้างขึ้นเพื่อรองรับราษฎรที่จะอพยพเข้ามาในพื้นที่
ยังไม่ได้รับการอนุมัติ
เรื่องอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาก็คือการที่ต้องรอ โดยพื้นที่อนุมัติไม่พร้อมกัน
ซึ่งตามหลักแล้วอ่างเก็บน้ำควรจะได้รับอนุมัติและมีการก่อสร้างก่อน เพราะถ้าอ่างเก็บน้ำสร้างไม่เสร็จ ระบบชลประทาน
ระบบประปาในหมู่บ้าน ก็ไม่สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น
อบต.บ้านดง
จึงได้กำหนดจัดการประชุมชี้แจงความคืบหน้าเรื่องพื้นที่การอพยพให้ชาวบ้านในรับทราบในวันที่
18 ม.ค.60 นี้
โดยได้มีการแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมให้ข้อมูลที่ชัดเจน
เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีใครแจ้งเรื่องให้ชาวบ้านได้ ที่ผ่านมาเรื่องการอพยพมีการประชุมมาโดยตลอด
แต่พอนำเรื่องมาแจ้งชาวบ้าน เหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปตลอด การดำเนินการต่างๆไม่เป็นไปตามที่ประชุม
ทำให้ชาวบ้านมองว่า นายก อบต.เป็นคนโกหก หลอกลวง
จึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ชลประทาน โยธาฯ สปก. ปฏิรูปที่ดิน
ป่าไม้
และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เข้ามาชี้แจงเองในวันดังกล่าว
นายศุกร์ กล่าวต่อไปว่า อีกเรื่องที่ชาวบ้านเป็นกังวล
เนื่องจากพื้นที่ 1,367 ไร่ ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว เป็นพื้นที่
กฟผ.ขอใช้พื้นที่ป่ารองรับการอพยพ เป็นเวลา 30 ปี
ไม่ได้มีการเพิกถอนป่าสงวนให้เป็นป่าเสื่อมโทรมแต่อย่างใด
เพราะฉะนั้นชาวบ้านก็จะไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์ มีสิทธิในที่ดินทำกินนั้นได้ นอกจากนั้นยังมีเรื่องครัวเรือนขยาย เช่น
ครอบครัวใหญ่ที่ลูกหลานแต่งงานออกไปมีครอบครัว มติ
ครม.ตามกฎหมายระบุว่าผู้ที่มีทะเบียนบ้านเป็นครอบครัวขยาย
ต้องมีสิทธิได้รับพื้นที่จัดสรรรายละ 3 งาน แต่เมื่อสำรวจจริงผู้ที่ขยายครอบครัวออกไป
อาจจะไม่ได้รับที่ดิน หรือลดลงเหลือ 1 งาน รวมทั้งการประเมินราคาบ้านและที่ดิน
ซึ่งใช้เกณฑ์การประเมินของกรมชลประทาน ชาวบ้านไม่ยอมรับ
เพราะเห็นว่าน่าจะได้ราคาดีกว่านี้
ซึ่งตามจริงน่าจะกำหนดอัตราก้าวหน้า แต่นำราคาประเมินของปี 58 มาใช้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้
ตนเองร่วมกันตัวแทนชาวบ้านจะได้ยื่นหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ทราบและดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1112 วันที่ 13 - 19 มกราคม 2560 )
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น