ประธานสภาเกษตรฯ
หนุนเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะ แทนการปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง หลังทดลองในกลุ่มผู้เลี้ยงมาแล้ว 3 ปี เผยรายได้ดีปีละแสน อีกทั้งลดปัญหาหมอกควันไฟป่า
และลดปัญหารุกป่าได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่พืชไร่ใกล้ล้มละลาย คนปลูกยิ่งจน
คนค้าเมล็ดพันธุ์ยิ่งรวย
นายประพัฒน์
ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยถึงการปรับเปลี่ยนอาชีพการปลูกพืชไร่มาทำการปศุสัตว์ว่า
ใน จ.ลำปาง จะมีพื้นที่แล้งน้ำหลายแห่ง เช่น อ.แจ้ห่ม วังเหนือ แม่พริก เถิน
สบปราบ เป็นต้น
สภาพป่าดั้งเดิมจะเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หน้าแล้งไม่มีน้ำไหล ซึ่งการทำเกษตรในพืชที่ใช้น้ำเยอะ
และพืชไร่หลายตัวจึงต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนที่ดี เช่น ข้าวโพด
ถ้าฝนไม่ดีผลผลิตก็จะไม่ดี ปัจจุบันพืชไร่หลายตัวเป็นพืชอับแสง
คือพืชไม่มีอนาคตแล้ว เพราะประเทศเพื่อนบ้านปลูกมาก
ที่สำคัญคือเราสู้ต้นทุนเขาไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องค่าแรงประเทศเพื่อนบ้านค่าแรงอยู่
1 ใน 3 ของประเทศไทย
จึงชักจูงเกษตรกรพื้นที่แล้งน้ำให้คิดใหม่ โดยการทำอย่างอื่นแทนการปลูกข้าวโพด
มันสำปะหลัง และข้าว
โดยส่วนตัวเคยปลูกส้มโชกุนใน อ.แจ้ห่ม
มาก่อนก็ได้ประสบปัญหาเรื่องน้ำไม่เพียงพอ จึงค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นเกษตรผสมผสาน
มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงแกะ เลี้ยงแพะ
ซึ่งการทำปศุสัตว์ไม่ต้องใช้น้ำมาก
เพียงมีน้ำในบ่อให้สัตว์ดื่มกินก็พอ
แทนที่จะแก้ไขธรรมชาติโดยการนำน้ำเข้ามาถึงพื้นที่การเกษตร
เราสามารถแก้ไขตัวเองได้หากเข้าใจสภาพปัญหาในพื้นที่
และปรับการเกษตรให้เข้ากับปัญหา
ตนลองนำแพะแกะมาเลี้ยงฝูงหนึ่ง
ปรากฏว่าดีมาก มันกินได้ทุกอย่างต้นไม้ใบไม้ อดทน โดยเฉลี่ยออกลูกได้ปีละ 1 ตัว
ขายง่ายได้ราคาดี จึงคุยกับพรรคพวกหลายคนในการส่งเสริมเรื่องเลี้ยงแพะแกะ
ตอนนี้มีเครือข่ายภายใต้การผลักดันของเรามีไปทุกอำเภอแล้ว เพียงแต่ไม่สามารถขยายฝูงประชากรให้เพิ่มขึ้นได้
เพราะรัฐบาลยังไม่ส่งเสริมในเรื่องนี้ ยังไม่เชื่อสิ่งที่เราทำ
ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
กล่าวว่า โชคดีที่ ผู้ว่าฯลำปาง
ให้ความสนใจเรื่องปศุสัตว์มาก จึงประสานให้สภาเกษตรกรจังหวัดลำปางเป็นต้นเรื่องการผลักดันส่งเสริมเลี้ยงแพะแกะในพื้นที่แล้งน้ำ
และทำโครงการเสนอเรื่องไปยังที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนจังหวัดลำปาง
หรือ กรอ. ซึ่งได้รับความเห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว
แต่ก็ยังไม่วางใจว่าจะได้รับงบประมาณมาดำเนินการเรื่องนี้
จนกว่าจะเข้าคณะรัฐมนตรี
สภาเกษตรกรเป็นเพียงผู้เสนอแนวทางเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงานเท่านั้น เวลานี้ได้มีการเตรียมเกษตรกรที่จะขยายจำนวนมาก
หากได้เม็ดเงินลงมาก็พร้อมที่จะเพิ่มประชากรแพะแกะใน จ.ลำปางได้ฝูงใหญ่เลย
วิธีการปรับเปลี่ยน
เราเสนอแนะว่าในปีแรก อาจจะแบ่งพื้นที่มา 1-2 ไร่ มาปลูกหญ้าเนเปีย
และทำคอกสัตว์ จะปลูกข้าวโพดต่อส่วนหนึ่งก็แล้วแต่เกษตรกร ซึ่งแพะแกะกินง่าย
ต้นข้าวโพดก็กินได้หมด ทั้งต้นทั้งเปลือก
จึงต้องให้เกษตรกรที่มีความต้องการเปลี่ยน หัวใจใจสู้มาทดลองทำก่อน
ไมได้ต้องการให้เปลี่ยนหมดในครั้งเดียว แต่ต้องค่อยๆปรับไปเรื่อยๆ ต้นทุนแรกเริ่มคือต้องทำคอก
เพราะแพะอยู่กับพื้นไม่ได้ และลงทุนซื้อพ่อพันธุ์
แม่พันธุ์ ตัวละ 4,000 บาท เลี้ยง 1 ปี
ออกลูก 1 ตัวก็ขายได้แล้ว ไม่นานก็ได้คืนทุน
จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นกำไร
จากที่กลุ่มทำกันคือการหาเงินมาซื้อพ่อแม่พันธุ์
ให้เกษตรกรจ่ายครึ่งหนึ่ง โดยไม่ให้รับพันธุ์ไปฟรี ให้เกษตรกรร่วมลงทุนด้วย
เพื่อต้องการให้เกษตรการมุมานะให้เกิดความสำเร็จ และพื้นที่ ที่ทำแล้วเห็นได้ชัดคือ
เครือข่ายของคุณบรรยืน สภาเกษตร ต.ร่องเคาะ ได้ปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงแพะ
ปัจจุบันขยายได้มีประมาณ 100 กว่าตัวแล้ว
และให้เกษตรกรอื่นเข้าไปเรียนรู้ได้
นายประพัฒน์
กล่าวต่อไปว่า เรื่องควันไฟป่าที่ได้รับผลกระทบมาหลายปี
เชื่อว่าถ้าเกษตรกรหันมาทำปศุสัตว์ก็จะไม่เกิดปัญหานี้ เพราะใบไม้นำมาทำเป็นอาหารสัตว์ได้หมด
ทำให้ไม่มีเชื้อไฟ นอกจากทำให้เกษตรกรมีฐานะที่ดีขึ้นแล้ว
ยังลดปัญหาเรื่องหมอกควันด้วย และยังเป็นกิจกรรมที่ใช้พื้นที่น้อยมาก
ทำให้ลดปัญหาการรุกป่าได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ตลาดการค้าก็มีความมั่นคง
ไม่มีผลเรื่องราคา ชาวมุสลิมใช้แพะแกะในพิธีกรรมตามศาสนาต่างๆ ซึ่งลำปางยังไม่เพียงพอ
ถือว่าเลี้ยงน้อยมาก ในเขตประเทศอาเซียน ลาว เวียดนาม ก็ยังสามารถส่งออกขายได้
แต่ยังไม่มียุทธศาสตร์ในการส่งเสริมเรื่องนี้ เกษตรกรต่างคนต่างทำมาโดยตลอด ถ้าผู้ว่าฯลำปางเอาจริง
ก็จะสามารถประกาศให้ลำปางเป็นเขตปศุสัตว์ในพื้นที่แล้งน้ำได้ สร้างรายได้ให้เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ
ทำให้สิ่งแวดล้อมลำปางดีขึ้นด้วย
แต่การที่เกษตรกรจะปรับเปลี่ยนหรือไม่
คงไปบังคับอะไรไม่ได้อยู่แล้ว
เกษตรกรต้องคิดเป็น การซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมากิโลกรัมละ 180
บาท แต่ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 5 บาท ปลูกไปแล้วได้อะไร คนที่รวยไม่ใช่เกษตรกร
แต่เป็นคนค้าเมล็ดพันธุ์ ถ้าคนปลูกพืชไร่ไม่ปรับเปลี่ยนเตรียมตัวล้มละลายได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น