วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

พลังแสงอาทิตย์ สูบน้ำสู้ภัยแล้ว พลิกฟื้นเกษตร 500 ไร่

จำนวนผู้เข้าชม Must See Places In Paris

พลังงานจังหวัดลำปาง ชูโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง  ยันได้ประโยชน์ 500 ไร่  และไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ดึง อปท.และเกษตรกร ร่วมทำบันทึกข้อตกลงรับมอบโครงการ

เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 60 ที่ห้องประชุมโรงแรมรีเจนท์ลอด์จ  จ.ลำปาง นายสุรพล บุรินทรพันธ์ ปลัดจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดงาน การประชุมชี้แจงรายระเอียดใน โครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง โดยมีนางสายธาร ประสงค์ความดี พลังงานจังหวัดลำปางเป็นผู้กล่าวรายงาน

โดยที่ผ่านมา การผลิตและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคครัวเรือนเพื่ออุปโภคและทำการเกษตร ในแต่ละจังหวัดของประเทศไทยมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับศักยภาพที่มีอยู่ เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุนได้ ดังนั้นการเพิ่มการผลิตและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคครัวเรือนจะสามารถช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายและลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก ที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของผลกระทบภาวะโลกร้อนซึ่งมาจากการใช้พลังงานที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และทุกวันนี้ทั่วทั้งประเทศก็กำลังประสบกับปัญหาด้านภัยแล้งอยู่แล้ว จึงไม่สามารถที่จะหาน้ำมาใช้ในการอุปโภคและบริโภคได้ ทำให้ส่งผลให้ประชาชนส่วนมากละทิ้งถิ่นฐานไปหางานทำในช่วงหน้าแล้งของทุกปี จึงเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ แต่การจัดหาน้ำแหล่งน้ำจากนอกพื้นที่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการใช้แหล่งน้ำใต้ดินจึงโดยระบบสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงมีความจำเป็น เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหมือนกับการใช้เชื้อเพลิงหรือกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก หากหันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มาเป็นตัวหลักในการสูบน้ำแล้วชาวบ้านหรือเกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆอีก เนื่องจากลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 10-15 ปี  
         
ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้ให้การสนับสนุนจัดหางบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้กับจังหวัดลำปางมาแล้วจำนวน 6,100,000 บาท เพื่อทำการปรับเปลี่ยนจากการใช้ระบบไฟฟ้า มาเป็นการใช้แผงโซร่าเซลล์แทน ตามทฤษฎีการตลาดในเรื่องของต้นทุนต่ำและความสะดวก ซึ่งก็ได้ประสานกับงานกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ขอข้อมูลเข้าไปทำการสำรวจในพื้นที่แห้งแล้งทั้ง 13 อำเภอแล้วพบว่ามีบ่อที่สามารถเก็บกักน้ำอยู่แล้วจำนวน 12 แห่ง เป็นบ่อสำหรับใช้อุปโภคบริโภคจำนวน 2 แห่งและเป็นบ่อที่ใช้ในการทำการเกษตร 10 แห่ง โดยแต่ละบ่อเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มกันได้ไม่เกิน 7 ราย และมีพื้นที่ใช้น้ำได้ประมาณ 15-20 ไร่ ทั้ง 12 บ่อนี้ ถือว่าเป็นต้นแบบที่จะสามารทำการขยายไปในเฟส 2 ได้หากมีการสำรวจพบว่ามีพื้นที่แห้งแล้งเพิ่มเติม เมื่อทำการสำรวจแล้วว่ามีน้ำใต้ดินเกินกว่า 10 คิวขึ้นไป ทางกระทรวงพลังงานก็พร้อมที่จะขยายโครงการเพิ่มเติมขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเดินงานและทำความเข้าใจกับภาคเกษตรและจะแล้วเสร็จทั้งได้ในเดือนกรกฎาคมนี้

จึงเป็นการเชิญเกษตรกร ผู้บริหาร อปท.ทั้ง 12 แห่ง มาเพื่อชี้แจงรายระเอียดพร้อมกับร่วมลงนามความร่วมมือ เพื่อรับมอบโครงการสูบน้ำด้วยพลังแสงอาทิตย์กลับไปบริหารจัดการและจัดสันการใช้น้ำหลังทุกอย่างแล้วเสร็จ โดยที่เกษตรกรเองจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และจะมีน้ำใช้ไปตลอดทั้งปี

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1119 วันที่ 3 - 9 มีนาคม 2560 )
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์