คสช. ใช้มาตรา 44
ออกคำสั่งเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย และความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน
ผมสรุปสาระสำคัญของมาตรการดังกล่าวมาให้เข้าใจกันง่ายๆ ดังต่อไปนี้ครับ
* ให้ตำรวจมีอำนาจในการเคลื่อนย้ายรถ
การจอดรถในพื้นที่ห้ามจอด
นอกจากฝ่าฝืนกฎหมายจราจรแล้ว
ยังสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน เป็นเหตุให้รถติด
เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ซึ่งข้อกฎหมายใหม่นี้มีความเข้มงวดและจริงจังมากขึ้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้เครื่องมือไม่ให้รถคันดังกล่าวไม่ให้รถเคลื่อนย้ายได้
อาจใช้วิธีการล็อคล้อ หรือวิธีการอื่นที่ผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
รวมถึงมีอำนาจเคลื่อนย้ายรถไปยังพื้นที่ที่ควบคุมดูแลใกล้เคียง เช่น
สถานีตำรวจ
มาตรการดังกล่าว
นับเป็นข้อดีที่ช่วยให้การจราจรมีระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น สามารถเคลื่อนย้ายรถที่อาจขัดขวางการเดินรถทำให้การจราจรติดขัดได้อย่างรวดเร็ว
แต่ในส่วนเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่หากกระทำผิดต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่าย
ที่รถถูกเคลื่อนย้าย หรือใช้เครื่องมือไม่ให้รถเคลื่อนที่ (ล็อคล้อ)
ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน
อีกทั้งเจ้าพนักงานจราจร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
ยกเว้นความเสียหายที่เกิดจากความจงใจ หรือประมาท
สรุป
ถ้าเราจอดรถขวางการจราจร ในที่ห้ามจอด เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเคลื่อนย้ายรถ
หรือล็อคไม่ให้รถเคลื่อนที่ได้ทุกเมื่อ และเจ้าของรถต้องไปเสียค่าปรับ ค่ายกรถ
รวมถึงค่าดูแลรักษาด้วย
โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่รับความผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
เว้นแต่จงใจหรือประมาท
* คนขับและผู้โดยสารทุกตำแหน่ง
ต้องรัดเข็มขัด
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากเป็นอันดับ
2 ของโลก (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2557) จึงจำเป็นต้องมีมาตรการให้มีความปลอดภัย
ลดการสูญเสียได้มากที่สุด
โดยมาตรการใหม่นี้ได้ระบุไว้ว่า
สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง (ตามตำแหน่งเข็มขัดนิรภัยที่ติดตั้งในรถคันดังกล่าว)
ไม่ว่าจะเป็นคนขับ หรือผู้โดยสาร
หากเป็นรถโดยสารสารธารณะ รถตู้ รถแท็กซี หรือรถทัวร์
ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยด้วยเช่นกัน
โดยคนขับต้องแจ้งให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดนิรภัยก่อนออกรถ หรือจะต้องติดป้ายแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดนิรภัยตลอดการเดินทาง หากคนขับรถได้แจ้งไปแล้ว
แต่ผู้โดยสารไม่ปฏิบัติตาม หรือปลดออกระหว่างทาง ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบ
ต้องถูกปรับทั้งคนขับและผู้โดยสาร
ยกเว้นคนขับได้ยืนยันว่าบอกให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยไปแล้ว แต่ผู้โดยสารไม่ยอมคาด
ทางคนขับจะไม่ถูกปรับ และปรับเฉพาะผู้โดยสาร
โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดูที่เจตนาเป็นหลัก
ส่วนรถกระบะที่ติดตั้งหลังคาด้านหลังเพิ่มเติม
ให้ดูว่ามีการจดทะเบียนไว้แบบใด มีกี่ที่นั่ง ก็ให้คาดเข็มขัดตามจำนวนที่นั่งที่ระบุไว้
ส่วนรถสองแถว ตามโครงสร้างรถไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้
แต่จะใช้มาตรการอื่นควบคุมดูแลกันต่อไป
สำหรับค่าปรับ หากเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกตรวจพบ
ผู้ประกอบการถูกปรับ 50,000 บาท คนขับและผู้โดยสารปรับ 5,000 บาท
แต่หากเป็นกฎหมายตาม พรบ. จราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นคนจับกุม
รถโดยสารสาธารณะจะถูกปรับ 1,000 บาท ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลปรับ
500 บาท
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น