ในขณะที่ข้อถกเถียงเรื่องจริยธรรมสื่อของสังคมไทย แปลกแยกแตกต่างกันไปตามทัศนคติ ความเข้าใจ อารมณ์ความรู้สึกของแต่ละคน ด้านหนึ่งก็มีความพยายามที่จะปฏิรูปสื่ออย่างเป็นทางการของ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) อันเป็นภารกิจต่อเนื่องมาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
น่าสนใจว่า
ความหวังที่จะมีการปฏิรูปสื่อภายใต้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน
จะเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด
เพราะกรรมาธิการเกือบทั้งหมดที่ล้วนงอกรากออกมาจากระบบอุปถัมภ์
มีความเข้าใจเรื่องสื่อน้อยจนถึงน้อยที่สุด
แม้จะมีกรรมาธิการจำนวนหนึ่งที่เปิดกว้างสำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างก็ตาม
เรื่องการปฏิรูปสื่อภายใต้บรรยากาศที่สังคมเรียกหา
“ความรับผิดชอบ” สวนทางกับการกระทำผิดซ้ำๆของสื่อ โดยไม่มีคำตอบชัดเจนว่า
จะดูแลจัดการกันอย่างไร เป็นที่มาของแนวคิดในการจัดตั้ง “สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ”
เพื่อให้มีสภาพบังคับ และจัดการใช้กฎเหล็กกับสื่อที่ละเมิด กรณีที่องค์กรวิชาชีพได้สอบสวน
วินิจฉัยความผิดจนครบกระบวนความแล้ว ยังไม่เกิดผลใดๆ
มองในเชิงอำนาจ
การจัดการให้มี “สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ” ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จ
และเสียงเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูปสื่อและจรรยาบรรณของสื่อ
แต่ที่ยากกว่านั้นก็คือ
การยอมรับบทบาทของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ที่กลายเป็นองค์กรตามกฎหมาย
และบทบาทของสภาวิชาชีพที่มีอยู่ที่คล้ายกับจะอยู่ภายใต้การกำกับของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติอีกชั้นหนึ่ง
แม้ในการออกแบบกฎหมายจะ “ตัดตอน” สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติออกไปโดยสิ้นเชิง
หากการสอบสวน วินิจฉัยของสภาวิชาชีพปัจจุบันสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นผล
ภายใต้ข้อบังคับจริยธรรมที่มีอยู่
เนื่องเพราะความเป็นประเทศประชาธิปไตย
สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน
ที่ถือว่ากระทำแทนประชาชนเป็นเรื่องใหญ่
แต่ก็เป็นเรื่องที่สังคมโต้แย้งตลอดเวลาว่า สื่อมวลชนได้ใช้เสรีภาพอย่างเหมาะสม
และคำนึงถึงความรับผิดชอบอย่างเพียงพอหรือไม่
ยืนกรานว่า
หลักการตรวจสอบลงโทษของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เราเชื่อในเรื่องมาตรการ Social Sanction ซึ่งหากทำจริงจังโดยไม่เกรงใจมันก็ได้ผล แต่ที่มันไม่เกิดเพราะเรามัวแต่เกรงใจกัน
พอมันเกิดความรู้สึกแบบนี้มันก็เลยไม่มี output ออกไป
คนที่อยู่ข้างนอกก็อาจเห็นว่ามันเงียบสนิท
แล้วพอเกิดบางกรณีเช่นสื่อบางแห่ง Facebook Live สดคนปีนเสาไฟฟ้าแล้วฆ่าตัวตาย
หรือทีวีถ่ายทอดสด อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยิงตัวตาย
ย้อนถามกลับมาว่าทุกครั้งเวลามีเหตุการณ์แบบนี้
องค์กรวิชาชีพสื่อสามารถสร้างความมั่นใจให้สังคม
ให้ประชาชนที่ถูกละเมิดได้มากน้อยแค่ไหน
ดีที่สุดก็คือออกแถลงการณ์ตักเตือนผู้ประกอบวิชาชีพว่าต้องระมัดระวัง
เพราะไปกระทบสิทธิมนุษยชน หรือไปลดทอนศักดิ์ศรี ทำได้เต็มที่แค่นั้น
แต่ถามว่าเขาเชื่อไหม บางครั้งแถลงการณ์เขาไม่อ่านด้วยซ้ำไป
และหากเป็นการใช้เสรีภาพโดยปราศจากความรับผิดชอบ
คำถามก็จะวนกลับมาที่เก่าว่า แล้วจะดำเนินการอย่างไร สภาวิชาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันมีศักยภาพเพียงพอหรือไม่
ในบริบทของสังคมที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าองค์กรสื่อคิดถึงธุรกิจและความอยู่รอดมากกว่าความสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน
ในฐานะกลุ่มคนที่ทำอาชีพอยู่บนพื้นที่สาธารณะ
ความเชื่อว่าสักวันหนึ่ง
สังคมจะ “ตื่นรู้” และปฏิเสธสื่อที่ขาดความรับผิดชอบ
อันเป็นที่สุดของมาตรการการกำกับ ดูแลกันเอง ห่างไกลออกไปทุกที แม้จะมีองค์กรสื่อที่ยังยึดมั่นในแนวทาง
และกล้าพอที่จะปฏิเสธการเสนอข่าวและภาพข่าวที่อาจเพิ่มเรทติ้ง
แต่ลดความเชื่อถือและความรับผิดชอบ แต่ก็น้อยอย่างยิ่ง
ภายใต้สำนักงานบริหารวิทยุ
ภาพยนตร์ และโทรทัศน์แห่งชาติจีน สมาคมนักข่าวแห่งประเทศจีน
การเสนอภาพศพเป็นเรื่องต้องห้าม การละเมิดหลักจริยธรรม ที่มีการกำกับ
ควบคุมชนิดเข้มข้น โดยคณะกรรมการจริยธรรมกลาง
และกรรมการจริยธรรมของสมาคมนักข่าวในแต่ละมณฑล จะนำไปสู่การลงโทษที่เด็ดขาด ชัดเจน
ตั้งแต่การตักเตือน ไปจนถึงการเพิกถอนความเป็นสื่อมวลชน
สื่อในสังคมเสรีประชาธิปไตยแบบไทยๆ
คงไม่ปรารถนาให้มีองค์กรใดมากำกับ ควบคุมเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเช่นนี้
โดยเฉพาะหากเป็นการกำกับ โดยองค์กรที่เหนือกว่า ดังนั้น การเซ็นเซอร์ตัวเอง
ความรับผิดชอบในเบื้องต้นจึงเป็นเกราะป้องกันการแทรกแซง
และการใช้อำนาจภายนอกอย่างดีที่สุด
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1129 วันที่ 19 - 25 พฤษภาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น