ลานนาโพสต์ นำเสนอข่าว “กระหื่มแห่งคำถาม
เรื่องกองทุนรอบโรงไฟฟ้า” อันมี “สารตั้งต้น” มาจากเวที ค.1 ต่อเนื่อง
2 สัปดาห์แล้ว
ถ้าไม่โยนหินลงในน้ำก็คงไม่เห็นแรงกระเพื่อมขนาดนี้ นี่อาจเป็นตะกอนที่ตกค้างอยู่ในใจใครหลายคน
โดยเฉพาะคนที่เข้าไม่ถึงกองทุน หรือเข้าถึงแต่มีสิทธิแค่มอง
เงินเดินหายไปใช้ตอบสนองความต้องการของคน บางคน บางกลุ่มเท่านั้น
ผ่านหลักกิโลเมตรยักษ์
คราวใด คงมีเรื่องให้ต้องสะกิดใจไปทุกครั้งว่า
อภิมหากิโลเมตรที่ละลายเงินกองทุนไปถึง 4 ล้าน และมีประโยชน์แค่มอง
เวลาผ่านไปผ่านมา นั่นก็เป็นเพียงตัวแทนวิธีการใช้เงินกองทุน ที่ได้มาง่ายๆ
และใช้จ่ายกันไปง่ายๆ โดยที่ชาวบ้านธรรมดาๆตาดำๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย
ร้ายกว่านั้น
เขาว่า ผู้ว่าฯลำปาง ที่มาแป๊บๆบางคน ใช้เงินขึ้นคัทเอาท์โฆษณาขนาดใหญ่ โฆษณาชวนท่องเที่ยว ลำพูนและแม่ฮ่องสอนด้วย
เรียกว่าเป็นคนใจกว้างยิ่งกว่าแม่น้ำ ที่ใช้เงินชาวบ้าน
ไปหาเสียงกับคนอีกจังหวัดหนึ่ง
ถ้าไม่ฉลาด
และคิดเอาแต่ผลประโยชน์ คงคิดไม่ได้ขนาดนี้
หันกลับมามองสื่อทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ระดับชาตินั้นแค่ประคองเอาตัวรอดก็แย่แล้ว พวกเขาพากันแข่งขันเสนอข่าวที่ตอบสนองสัญชาตญาณความอยากรู้
อยากเห็นของมนุษย์ ข่าวดารา ข่าวอาชญากรรม และข่าวคอรัปชั่นตามน้ำ
เมื่อกระแสแผ่วลง ก็ปล่อยให้ผ่านไป เช่น กรณีสินบนโรลส์-รอยซ์
หรือกรณีความไม่ชอบมาพากลหลายเรื่องของครอบครัวพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายนายกรัฐมนตรี
ออนไลน์กันทั่วหน้า
จนส่งผลกระทบต่อสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อท้องถิ่นก็ถูกกระทบไปด้วย
ต้องหาทางอยู่รอดเช่นเดียวกัน จนกระทั่งข่าวแบบต้องวางแผน ติดตาม สืบค้น
หรือการทำข่าวเชิงสืบสอบ สอบสวน เป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก
หากเสนอข่าวคอรัปชั่น
ก็วูบวาบ แค่สะใจ แล้วจบ ไม่คิดอ่านทำอะไรต่อ
คุณหมอประเวศ
วะสี ราษฏรอาวุโส ผู้ให้ความสนใจติดตามปรากฏการณ์ทางสังคม เคยบอกว่า
สื่อมวลชนยังขาดวัฒนธรรม และความสามารถในการรายงานแบบสืบสวน สอบสวน
จึงขาดพลังในการหยุดยั้งคอรัปชั่น การรายงานเพียงการสัมภาษณ์ว่าใครมีความเห็น
หรือว่าอะไรใคร ไม่มีพลังแห่งการใช้ความจริง เป็นเพียงความหวือหวา หรือ Sensational หรือความสะใจเท่านั้น ไม่มีน้ำหนักในการหยุดยั้งคอรัปชั่น
ขณะที่ประสงค์
เลิศรัตนวิสุทธิ์ เจ้าพ่อข่าวเจาะ ผู้โค่นทักษิณ ชินวัตร อธิบายบทบาทของสื่อที่ต้องตรวจสอบรัฐบาลและนักการเมืองว่า
หากพูดถึงความจำเป็นในการทำข่าวตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ
ไม่ได้มีการสอนเป็นเรื่องเป็นราว คนเป็นนักข่าว
หรือเราถูกสอนมาตั้งแต่อดีตโดยธรรมชาติ เรียกว่า Learning by Doing
เขาบอกว่า
สื่อหรือหนังสือพิมพ์ มีหน้าที่ตรวจสอบผู้มีอำนาจทางการเมือง ถือเป็นบทเรียนที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นยุคศรีบูรพา ยุคอิศรา หรือยุคนี้
ผู้ใช้อำนาจมักชอบใช้อำนาจไปในทางการบิดเบือน ละเมิดสิทธิ เสรีภาพ
และหาประโยชน์ส่วนตัว สื่อจึงต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบ
ดูละครแล้วย้อนดูตัว
สื่อลำปางก็ใช่ว่าจะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ความเละเทะ
ช่องทางที่ทำให้มีคนรุมทึ๊งเงินกองทุน ไปใช้จ่ายแบบไม่ต้องเขียม
เพราะไม่ใช่เงินตัวเอง
และบางครั้งอาจสำคัญผิดด้วยว่า ช่วยมาใช้จ่ายเงินกองทุนไฟฟ้า
เพื่อสนับสนุนกิจกรรม ซีเอสอาร์ ซึ่งไฟฟ้าคงต้องการแค่ภาพพจน์ ไม่ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง
การใช้เงินผิดวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งไม่น่าจะจริง
แต่ความจริง
ที่ยิ่งกว่าจริง ก็คือแม่เมาะ อำเภอที่รวยที่สุดในประเทศไทย แต่ความเป็นแม่เมาะ
ก็ไม่ได้สะท้อนความมั่งคั่ง ร่ำรวย ความเจริญเติบโตของเมืองเลย เงินนั้นมีอยู่
แต่มันหายไป ลานนาโพสต์คงมีคำตอบในเร็ววันว่า เงินมันหายไปอยู่ไหนกัน
ในแบบที่คนลำปางได้รู้ ได้เห็นแล้ว คงช็อคไปตามกัน
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1129 วันที่ 19 - 25 พฤษภาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น