องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
(อ.ส.ค.) ขอใช้พื้นที่กรมพัฒนาที่ดินตั้งโรงนมที่ลำปาง รองรับกำลังผลิตน้ำนมดิบภาคเหนือ
ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้กล่าวถึงโครงการตั้งโรงแปรรูปนม
โดย องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ที่จังหวัดลำปาง ในที่ประชุมส่วนราชการจังหวัดลำปางหลายเวที
ได้รับความสนใจจากผู้เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก ทั้งนี้ผู้ว่าฯระบุว่าลำปางเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในด้านภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างในกลางภาคเหนือ
เหมาะแต่การขนส่ง และ มีศักยภาพด้านการผลิตนมจากโคนม ในรูปของกลุถ่มสหกรณ์โคนม นครลำปางที่อำเภอห้างฉัตรจังหวัดลำปาง
ซึ่งทางรัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เห็นชอบให้สร้างที่จังหวัดลำปาง
นายสัตวแพทย์ศร
ธีปฏิมากร รักษาราชการแทนปศุสัตว์จังหวัดลำปาง เผยว่า
โครงการดังกล่าวมีที่มาจากที่เกษตรกรจังหวัดลำปางได้ร้องขอไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้มีโรงงานแปรรูปนมขึ้นที่ลำปาง
ซึ่งรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรรับผิดชอบเรื่องนี้
และดำเนินการเรื่อยมา โดยจะขอใช้พื้นที่ของกรมพัฒนาที่ดิน อำเภอห้างฉัตร ประมาณ 65 ไร่
เพื่อก่อตั้งโรงงานแปรรูปนมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
เพื่อรองรับการผลิตน้ำนมของเกษตรกรโคนมในลำปางและในภาคเหนือ
รองรับกำลังผลิตน้ำนมดิบประมาณ วันละ 300-400 ตัน
มีโรงรีดนมที่รองรับได้ครั้งละ 50-70 ตัว มีโรงเก็บอาหารสัตว์ที่ได้มาตรฐาน
ซึ่งเดิมมีโรงแปรรูปนมอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย
แต่แหล่งผลิตน้ำนมดิบอยู่ที่ลำพูน เชียงใหม่ และลำปาง ค่อนข้างมาก
โดยเฉพาพลำปางเป็นจุดที่เอื้อต่อการขนส่งได้สะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอใช้พื้นที่ตามระเบียบกฎหมาย ทั้งนี้จะมีการสร้างศูนย์เรียนรู้เกษตรโคนม
ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้และปฏิบัติการด้านการเลี้ยงโคนม การแปรรูป ครบวงจร
สร้างโอกาสและรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้น
“ผมเพิ่งย้ายมาปฏิบัติราชการ
แต่จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรโคนมพบว่า ที่ผ่านมาในส่วนของจังหวัดลำปางถือว่ามีการเกาะกลุ่มรวมตัวกันเป็นสหกรณ์โคนมที่เข้มแข็งที่
ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม การผลิตน้ำนมดิบส่งขาย ไปจนถึงการแปรรูปเป็นสินค้าชุมชนบางส่วน
ในลำปางมีเกษตรกรเลี้ยงโคนมประมาณ 39 ราย มีโคนม ประมาณ 2,000 ตัว กำลังผลิตน้ำนมดิบประมาณวันละ
8 ตัน และทราบว่ากำลังมีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมเพิ่มอีก
ประมาณ 100 ตัว
จะมีผลให้กำลังการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกรมีมากขึ้น”
อย่างไรก็ตามกล่าวว่า
ส่วนรายโครงการก่อสร้างโรงแปรรูปนมโดย อ.ส.ค. ดังกล่าว ต้องรอให้ทาง อ.ส.ค.มีข้อสรุปและประกาศเผยแพร่
ซึ่งทางปศุสัตว์จังหวัดเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ในภาคของเกษตรกรและการประสานในส่วนที่อยู่ในกรอบหน้าที่
และผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้ให้ความสำคัญ ดูแลโครงการนี้อย่างดี
หากมีส่วนใดที่ชาวลำปาง
และเกษตรกรได้รับประโยชน์ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะบูรณาการให้เกิดความร่วมมือที่ส่งเสริมกันโดยเฉพาะศูนย์เรียนรู้ฯ
ที่กำลังจะเกิดขึ้นเชื่อว่าจะมีความร่วมมือในทิศทางที่ส่งเสริมพัฒนาด้านเกษตรโคนมที่เป็นประโยชน์
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1164 วันที่ 26 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น