
“ไทพวน” เป็นชื่อเรียกชาวเมืองพวนเมื่ออาศัยอยู่ในประเทศลาว
คำว่า “ไท, ไต, ไทย” หมายถึง “คน” หรือ “ชาว” คำว่า “พวน , พูน, โพน” หมายถึง
บริเวณที่สูง หรือที่ราบสูง เมื่อย้ายเข้ามาอยู่ภายในอาณาเขตประเทศไทยถูกเรียกว่า
“ลาวพวน” เพื่อบ่งบอกว่ามาจากลาว ภายหลังมีการเขียนว่า “ไทยพวน”
เพื่อแสดงถึงความเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
เมื่อปี 2527 ชมรมไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง จ.แพร่ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบค้นประวัติความเป็นมาและอนุรักษ์ความเป็นไทพวนเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อ
และหนึ่งในอัตลักษณ์ที่สำคัญคือการทอผ้า

ขณะที่กลุ่มทอผ้าไทยพวนและต้นครามหม้อห้อมธรรมชาติ
มีความสามารถและมีศักยภาพในการผลิตสินค้าหัตถกรรมผ้าย้อมครามสีธรรมชาติ
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
ความต้องการในการพัฒนาของกลุ่มทอผ้าไทยพวนนั้น
ยังต้องการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
สามารถถ่ายทอดวิธีคิดหรือแนวคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าย้อมครามสีธรรมชาติให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งต้องอาศัยความรู้ด้านการผลิคสื่อและการประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้ระบบสารสนเทศ (E-Commerce)
ในการขยายช่องทางการตลาด
และต้องการความรู้ด้านแผนการตลาดที่สามารถรองรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีคุณค่าให้ขายได้ในราคาที่สูงขึ้น
ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานวิจัย เรื่อง
“การพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ผ้าย้อมครามสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าไทยพวน
บ้านทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่” ภายใต้โครงการ Innovation Hubs เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบายประเทศไทย
4.0 กลุ่มเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนบนได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลของกลุ่มทอผ้าไทยพวนในการพัฒนาสินค้าและบริการของกลุ่ม
โดยวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายในเบื้องต้นและได้ทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์
กระบวนการขั้นตอนในการดำเนินโครงการ รายละเอียดกิจกรรม และคุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการพัฒนากลุ่ม
มีความต้องการ มีความสมัครใจ
และให้ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมจนโครงการสำเร็จเพื่อให้สินค้าหรือบริการนั้นเป็น High Value Service ได้ โดยมุ่งหวังที่จะใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น สื่อวีดิทัศน์ภาพเคลื่อนไหว
ภาพนิ่ง การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการทอผ้า เพื่อช่วยในการช่วยขยายช่องทางการประชาสัมพันธ์
ถ่ายทอดวิธีคิดหรือแนวคิดสร้างสรรค์ องค์ความรู้ การจัดจำหน่ายสินค้า
และการพัฒนาด้านแผนการตลาด รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลายหลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดการรับรู้
ทบทวน สร้างองค์ความรู้ และมีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product) หมายถึง
ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่
หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับการวิจัยในครั้งนี้เกิดจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่
(Improvements in
Revision of Existing Product) ในเรื่องลักษณะและคุณค่าของผลิตภัณฑ์
โดยนำเทคนิคการทอแบบใหม่มาใช้ ซึ่งทำให้ผ้ามีขนาดหน้ากว้างเพิ่มมากขึ้นและมีการสร้างลายให้กับผ้าย้อมครามสีธรรมชาติของกลุ่มไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
จ.แพร่ ได้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการหรือนวัตกรรมใหม่ในพื้นที่ ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างสรรค์จากคุณลักษณะทั่วไปและจุดแข็งในการเป็นผ้าธรรมชาติ
โดยใช้จุดเด่นของงานฝีมือแบบ Handcraft ที่ให้ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ที่ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะมีความคล้ายคลึงแต่ไม่เหมือนกัน สร้างคุณค่าให้แก่ผู้ที่ครอบครอง
ความแปลกใหม่จากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ภายใต้เศรษฐกิจสร้างสรรค์
(Creative Economy) สามารถถ่ายทอดวิธีคิดหรือแนวคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าย้อมครามสีธรรมชาติให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น มีการนำเทคโนโลยีด้านการผลิตสื่อและการประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้ระบบสารสนเทศ (E-Commerce) รวมทั้ง Digital Marketing
และSocial Media อื่นๆ เข้ามาสนับสนุนในงาน
เช่น Line Lazada Facebook ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสและชยายช่องทางการตลาด
ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับผู้รับการฝึกอบรมท างโครงการฯ ได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการอบรม จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรมการจัดอบรมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลักสูตรการทอผ้ากี่ 100 นิ้ว ณ โรงทอผ้ากลุ่มไทยพวน
ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 2-8 มีนาคม 2561
โดยวิทยากร ได้แก่ คุณประสิทธิ์ อ่อนคง จากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่
1
กิจกรรมการอบรมหลักการตลาดดิจิทัล
(Digital
Marketing) ณ โรงแรมแพร่นครา
อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 9–11 มีนาคม 2561
เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดในยุคดิจิทัล การเขียนแผนการตลาด
การสร้างแบรนด์และการสื่อสารแบรนด์ โดยวิทยากร ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสริมยศ
ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
3. กิจกรรมการอบรมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ด้วยระบบสารสนเทศ
(E-Commerce) ณ โรงแรมแพร่นครา อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่
11 และ 16-17 มีนาคม 2561
เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ด้วยระบบสารสนเทศ (E-Commerce)
โดยวิทยากร ได้แก่ คุณฐานุเศรษฐ โชคพิริยวัชร์ นักการตลาด และเจ้าของบริษัท NT Medscience Co., Ltd. Khonkaen, Thailand.
กิจกรรมการอบรมการทำสื่อ
(How
to) และการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ ณ โรงแรมแพร่นครา
และกลุ่มทอผ้าไทยพวนทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 18 และ 23–25 มีนาคม 2551 เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำสื่อ (How to) และการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ โดยวิทยากร ได้แก่
อาจารย์ปณต สุสุวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาบรอดแคสต์ติ้ง และวารสารศาสตร์ดิจิทัล
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และอาจารย์ยิ่งพงศ์ มั่นทรัพย์ กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญ
พันตา ครีเอชั่น และที่ปรึกษากรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น