วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ลำปางขานรับยุทธศาสตร์ชาติ หนุนชุมชนเข้มแข็ง-ยั่งยืน

จำนวนผู้เข้าชม IP Address

เมื่อประเทศไทยกำหนด ยุทธศาสตร์ชาติคือ กรอบการพัฒนาระยะยาว เพื่อให้ประเทศบรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ซึ่งกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ครอบคลุมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2579 การนำประเทศไปสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนและเป็นประเทศที่พัฒนา ด้วยการนำหลักตามปรัชญาแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักวิชาการและความเป็นสากล ศึกษาประสบการณ์ของต่างประเทศ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน :ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดไว้สามารถทบทวนและปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัยสถานการณ์ ปัจจัยและสภาวะแวดล้อมประเทศและโลก โดยให้มีการพิจารณาปรับปรุงแผนได้ในทุก 5 ปี

ในส่วนของจังหวัดลำปางเองก็ได้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามที่นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง บรรยายพิเศษเรื่อง “นโยบายและทิศทางการพัฒนาจังหวัดลำปาง” แก่สมาชิกสภาท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561  ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง วันที่ 27 มิถุนายน 2561 โดยผู้ว่าราชการฯได้เน้นย้ำถึงนโยบายสำคัญของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ชาติตามแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน เน้นย้ำให้ประเทศไทยเติบโต กระจายโอกาสและรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการปรองดองสมานฉันท์เคารพธำรงรักษาสถาบันชาติ ซึ่งแนวทางดังกล่าว ประกอบด้วย 1. คนไทยรักกัน ด้วยการสร้างความสามัคคีปรองดอง 2.คนไทยไม่ทิ้งกัน ด้วยการดูแลผู้มีรายได้น้อย  3. ชุมชนอยู่ดีมีสุข  4. วิถีไทย วิถีพอเพียง ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต  5.รู้สิทธิ  รู้หน้าที่ ของการเป็นพลเมืองดี  6. รู้กลไกการบริหารราชการ ในแต่ละระดับ   7. รู้รักประชาธิปไตย โดยใช้เฉพาะเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล  8. รู้เท่าทันเทคโนโลยี  9. บูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

จากยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว เชื่อมโยงมาถึงยุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งจังหวัดลำปางได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้ต่อเนื่องจากเดิมที่ทำไว้ ระยะ 5 ปีคือ เมืองน่าอยู่ นครแห่งความสุข ในปี 2561 จึงได้กำหนด ยุทธศาสตร์ ลำปางสร้างสรรค์ปันสุขซึ่งหมายถึงการแบ่งปันความสุขถึงคนทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ เน้นเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “Creative Economy”  การพัฒนาและท่องเที่ยวก็ต้องเชิงสร้างสรรค์ ตามแนวทาง Creative City ซึ่งลำปางได้กำหนดยุทธศาสตร์ เป็น 12 วาระ คือ 1. รักลำปาง รักษ์วิถีล้านนา 2. ลำปางคืนถิ่น พลิกแผ่นดินแม่  3. ลำปางเมืองสวย ป่างามน้ำใส  4. ลำปางเมืองศิลปะ นครหัตถศิลป์ ถิ่นอารยธรรม  5. ลำปางเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์น่าซื้อ 6. ลำปางน่าเที่ยว : ปักหมุดลำปาง เส้นทางต้องแวะ  7. เปิดลำปางศูนย์กลางขนส่ง : สร้างงาน สร้างรายได้ ขยายโอกาส  8. ลำปาง เกษตรสุขภาพ เกษตรคุณภาพ เกษตรผสมผสาน นวัตกรรมการเกษตร เกษตรทางเลือก  9. ลำปางปันสุข : เมืองอารยสถาปัตย์ สวัสดิการทั่วถึง ฐานรากเข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำแบ่งปันความสุข  10. ลำปางแข็งแรง : คนจิตอาสา ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนสุขภาวะ พัฒนาเด็กปฐมวัย ใส่ใจผู้สูงอายุ 11. ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ เมืองน่าอยู่สำหรับเด็ก เยาวชน จุดนัดพบคนรุ่นใหม่ 12. ลำปางสมานฉันท์ มั่นคง ปลอดภัย บริการฉับไว ให้ความเป็นธรรม

จะเห็นได้ว่าในปีนี้มีงบประมาณพัฒนาจังหวัดกระจายไปยังภาคเกษตรค่อนข้างมาก เนื่องจาก ลำปางมีจุดขายเรื่องสินค้าเกษตรปลอดภัยที่มีศักยภาพ แต่ยังขาดการส่งเสริมให้ไปต่ออย่างเต็มศักยภาพ  สร้างรายได้ แบบทำน้อย แต่ขายได้ราคาดี ซึ่งขณะนี้ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนา ให้ลำปางเป็นเมืองเกษตรสุขภาพ เกษตรคุณภาพ เกษตรผสมผสาน นวัตกรรมการเกษตร เกษตรทางเลือก  ซึ่งเริ่มส่งเสริมให้ปลูกพืชเกษตรทางเลือกในพื้นที่

อ.แจ้ห่ม อ.เมืองปาน และ อ.วังเหนือ ขณะเดียวกัน ก็ยกระดับการทำเกษตรปลูกพืชเมืองหนาวซึ่งเป็นเครือข่ายของโครงการหลวงที่อำเภอเมืองปาน  ส่งเสริมให้เกษตรกรที่สูง ปลูกอะโวคาโด แมคคาเดเมีย เงาะ ทุเรียน มะม่วงคุณภาพดีสำหรับตลาดส่งออก เป็นต้น และยังมีโครงการส่งเสริมเกษตรคุณภาพ สมุนไพร เพื่อการส่งออก  รวมถึงโครงการปลูกไผ่เพื่อ ลดพื้นที่พืชเชิงเดี่ยวซึ่งจังหวัดร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ร่วมกันดำเนินโครงการเป็นต้น

อย่างไรก็ตามได้ขอความร่วมมือทุกหน่วยงาน วางกรอบแนวทางการวางแผน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์จังหวัดร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงไปถึงโครงการขนาดย่อยในระดับพื้นที่ ที่ตนเองดูแลอยู่ ให้ ดำเนินงานหรือโครงการต่างๆให้สอดคล้องไปในทางเดียวกัน

เช่นเดียวกับที่ พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวไว้ในโอกาสที่ร่วมงาน ปลูกไผ่ในแปลงต้นแบบ ของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร  ในพื้นที่ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง วันที่ 20 มิ.ย.  ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนนโยบายหลายด้านให้ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับประชาชนตามแนวเขาหรือพื้นที่ห่างไกล ด้วยการส่งเสริมปลุกพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้มั่นคง ซึ่งอยู่ในระหว่างแก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 7 ได้แนะให้ปลูกไม้ที่สร้างมูลค่า และสามารถตัด และแปรรูปในพื้นที่กรรมสิทธิ์ได้ รัฐบาลยินดีอนุญาตให้อยู่ได้ โดยต้องมีการออกแบบพื้นที่ร่วมกัน แบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำกิน และพื้นที่ป่าให้ชัดเจน การปลูกไผ่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่อยู่ในแผนการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจระดับชาติ

ในส่วนของจังหวัดลำปาง ได้จัดสรรงบพัฒนาจังหวัด ให้กับสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) ให้ดำเนินโครงการขยายพื้นที่ ป่าต้นน้ำ  สนับสนุนการจัดตั้งป่าชุมชน อนุรักษ์พันธุ์ไม้และพืชมีค่าทางเศรษฐกิจ ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามศาสตร์พระราชาเพื่อทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือการทำไร่เลื่อนลอย พื้นที่รวมกว่า 400 ไร่ด้วยเช่นกัน

การวางแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ นำการพัฒนาเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวและอื่นๆ สร้างจุดแตกต่างด้วยการนำเอาจุดขาย ของแต่ละพื้นที่ ที่มีศักยภาพด้านผลิตภัณฑ์จากชุมชน โยนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้าไปสนับสนุน และพัฒนาการตลาดให้ไปสู่ระดับการขายแบบตลาดบนที่ทำน้อยแต่ผลกำไรมาก ทดแทนการทำมากแต่ได้ผลกำไรน้อย

Creative Economy จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกหน่วยงาน ยื่นมือเข้าไปสนับสนุนคนในชุมชนให้ก้าวไปสู่รูปแบบของเศรษฐกิจที่ชุมชนพึ่งตนเองได้ นำพาการพัฒนาที่ยั่งยืน


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1185 วันที่ 29 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม 2561)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์